Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

จะดีกว่าไหมถ้าใช้ EV 15 ปี ประหยัดค่าเชื้อเพลิง 4 แสนบาท?

ในภาคการผลิตนั้นยานยนต์ไฟฟ้าเรียกได้ว่ามีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ น้อยกว่าเครื่องยนต์สันดาปภายในอย่างมาก เน้นไปที่คุณภาพของเทคโนโลยีในแต่ละส่วนมากกว่า และสำหรับภาคประชาชนหรือผู้ใช้งานเราอาจจะรู้กันคร่าว ๆ ว่าค่าใช้จ่ายด้านการดูแลรักษาถูกกว่า โดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงานที่ลดลงไปอย่างมากแต่ตัวเลขที่จับต้องได้นั้นเป็นเท่าไหร่กัน?

ยานยนต์ไฟฟ้า ประหยัดพลังงาน

ผลการประเมินจากการค้นคว้าวิจัยของหน่วยงานด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา, National Renewable Energy Laboratory (NREL) และ Idaho National Laboratory (INL) พบว่าผู้ใช้ยานยนต์สามารถประหยัดเงินได้มากกว่า 14,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเป็นเงินไทยกว่า 464,000 บาท สำหรับค่าเชื้อเพลิงตลอดระยะเวลา 15 ปีหากเปลี่ยนมาใช้ยานยนต์ไฟฟ้าแทนการใช้ยานยนต์แบบเชื้อเพลิง

การศึกษาที่ผ่านมักให้ความสำคัญกับคุณค่าหลัก คือ ต้นทุนด้านพลังงานในการชาร์จ EV แต่ด้วยข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้น การประเมินต้นทุนในการชาร์จพลังงานของ EV ต้องตัดสินใจเกี่ยวกับช่วงเวลา สถานที่ รวมไปถึงวิธีชาร์จ ซึ่งเกี่ยวข้องกับภาษีด้านพลังงานในแต่ละพื้นที่ไปจนถึงอุปกรณ์ที่ใช้ในการชาร์จและการติดตั้ง เมื่อมีข้อมูลเหล่านี้แล้วจึงสามารถเปรียบเทียบข้อมูลกับการใช้งานพลังงานเชื้อเพลิงได้ตลอดอายุการใช้งาน

การหาราคาจัดจำหน่ายนั้นอาจเป็นเรื่องง่าย แต่การหาข้อมูลสำหรับต้นทุนด้านพลังงานที่เกี่ยวข้องกันนั้นเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะความผันผวนที่เปลี่ยนไปในแต่ละพื้นที่และตัวเลือกในการชาร์จ โดยนักวิจัยได้พัฒนาแนวคิดพื้นฐานจากการใช้ยานยนต์ในปัจจุบันและพฤติกรรมการชาร์จที่ประมาณการจากต้นทุนเฉลี่ยในการชาร์จ (Levelized Cost of Charging หรือ LCOC) สำหรับ EV

จากข้อมูลเฉลี่ยของสหรัฐอเมริกาพบว่าทุนในการชาร์จ EV มีตั้งแต่ 8 เซนต์ ต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (kWh) ไปจนถึง 27 เซนต์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 15 เซนต์ ซึ่งหมายความว่าตลอดอายุการใช้งานจะมีต้นทุนด้านพลังงานเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3,000 – 10,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 96,000 – 336,000 บาท ในค่าความแปรผันนี้หากมองตามต้นทุนในแต่ละมลรัฐจะพบว่าสามารถประหยัดได้ถึง 14,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 464,000 บาท (สำหรับ Washington) นักวิจัยได้ทดสอบจากยานยนต์ใน Class และขนาดเดียวกัน รวมถึงจำนวนไมล์ที่ใช้ด้วย

นอกจากในนี้การคำนวณผู้วิจัยยังคำนึงถึงธรรมชาติแวดล้อมของพื้นที่ชาร์จอีกด้วย สำหรับการชาร์จแบบทั่วไป (ช้า) ผู้ใช้สามารถใช้อุปกรณ์​ทั่วไปที่บ้านได้โดยไม่ต้องการอุปกรณ์พิเศษ หากต้องการอัพเกรดเพื่อใช้อุปกรณ์ชาร์จกำลังสูงสำหรับที่พักอาศัยจะมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 1,800 ดอลลาร์สหรัฐฯ รวมค่าติดตั้ง การชาร์จพลังงานที่บ้านสามารถดำเนินการข้ามคืนได้และยังถือเป็นจุดแข็งเนื่องจากเป็นช่วงที่ค้าไฟฟ้ามีราคาต่ำอีกด้วย

ต้นทุนเฉลี่ยสำหรับชาร์จอยู่ที่ 15 เซนต์ ต่อ kWh นั้นอนุมานว่ามีการชาร์จ 81% ที่บ้าน 14% เกิดขึ้นที่ทำงานหรือสถานที่สาธารณะ และ 5% เกิดจากการใช้งาน DC Fast Charger (DCFC)

แต่ค่า LCOC จะเปลี่ยนไปเมื่อการชาร์จกับสถานี DCFC จะมีต้นทุนอยู่ที่ 18 เซนต์ต่อ kWh ในขณะที่ราคาลดเหลือ 11 เซนต์ต่อ kWh สำหรับผู้ใช้ที่ชาร์จ EV ที่บ้านเท่านั้น และจะลดลงเหลือแค่ 8 เซนต์เมื่อไม่ได้ทำการชาร์จในช่วงพีค

ที่มา:
Nrel.gov/news/press/2020/research-determines-financial-benefit-from-driving-electric-vehicles.html

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924