Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

ทำไมต้องใจร้ายกันด้วย? วิจัยเผยวัฎจักรอันเลวร้ายไร้มารยาทในที่ทำงาน

Portland State University นั้นได้ศึกษาพฤติกรรมในที่ทำงานและพบว่าลูกจ้างที่เคยเจอประสบการณ์หรือเป็นพยานให้กับ ‘ความไร้มารยาท’ (Incivility) มีแนวโน้มที่จะเป็นเช่นเดียวกันกับคนอื่น ๆ ซึ่งสิ่งนี้มีแนวโน้มที่จะเข้มข้นยิ่งขึ้น

พฤติกรรมที่ไร้มารยาทหรือไร้อารยธรรมในที่ทำงานนั้นเป็นไปได้ตั้งแต่การวิจารณ์บางคนในที่สาธารณะ การทำตัวน่ารังเกียจ การปกปิดข้อมูลสำคัญ หรือการอย่างหักหาญน้ำใจ ไปปจนถึงการกระทำเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น การมาประชุมสาย การตรวจอีเมล์หรือส่งข้อความระหว่างประชุม หรือแม้กระทั่งการเมินเฉยหรือก่อกวนเพื่อนร่วมงาน

เพราะพฤติกรรมที่ไร้มารยาทเหล่านี้อาจสื่อความได้หลากหลายสำหรับผู้คนที่แตกต่างกัน ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องง่ายที่จะถูกมองข้ามหรือหลงลืมไป แน่นอนว่าบางเรื่องอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่หรือมีความซีเรียสที่ชัดเจน แต่ผลลัพธ์ร้าย ๆ ที่เกิดขึ้นนั้นมันไม่แตกต่างกัน

ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเหล่านี้โดยได้ให้ความสำคัญกับมุมมองของคนที่มีพฤติกรรมังกล่าวเพื่อเข้าใจความไร้อารยธรรมเหล่านี้และหาวิธีที่จะหยุดตั้งแต่จุดเริ่มต้น

ในการศึกษาพบว่า ลูกจ้างที่สามารถควบคุมงานของตัวเองได้มีประสิทธิภาพมากกว่ามีแนวโน้มในการสร้างความไร้อารยธรรมที่น้อยลง นักวิจัยเสนอแนะว่าลูกจ้างที่ควบคุมงานของตัวเองได้ดีกว่านั้นมีอิสระในการเลือกว่างานของตัวเองจะเสร็จเมื่อไหร่และอย่างไร ทำให้พวกเขามีเวลาและพลังงานในการหาการสนับสนุนจากสังคมหรือองค์กรไม่ว่าจะเป็นทางใจหรือทางกายภาพเพื่อที่จะแยกออกจากงาน เพื่อที่จะสะท้อนสถานการณ์ หรือเพื่อที่จะท้าทายเพื่อนร่วมงานที่ไร้อารยธรรมเหล่านั้นเอง

นอกจากนี้ลูกจ้างที่ทำงานร่วมกับทีมหรือกลุ่มในวิธีที่มีอารยธรรมมากกว่านั้นก็มีแนวโน้มที่จะไม่สร้างพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมซ้ำ และลูกจ้างที่มีอายุมากกว่าก็มีแนวโน้มน้อยกว่าเช่นกัน

ในโลกของการทำงานจากนอกสถานที่แบบยุคปัจจุบันที่เป็นสำนักงานเสมือนหรือพูดคุยกันผ่านออนไลน์ ความไร้อารยธรรมเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นและถูกมองข้ามได้ง่ายยิ่งกว่าเดิมไม่ว่าจะเป็นการคุยใน Zoom หรือข้อความที่พูดคุยกัน สิ่งเหล่านี้บางทีก็เป็นสิ่งที่ทำความเข้าใจได้ยากจากข้อความที่ปราศจากบริบทของภาษากายหรือน้ำเสียงที่สามารถบ่งบอกความนัยใน

การกระทบกระทั่งเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นได้เสมอระหว่างผู้ร่วมงานไม่ว่าจะเป็นการเจอกันครั้งแรก การกลับาทำงานร่วมกันภายใต้พื้นที่กายภาพเดิม ๆ ซึ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ผู้วิจัยชี้ว่าการสนับสนุนขององค์กรจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขประสบการณ์ไร้อารยธรรมเหล่านี้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุนด้านนโยบายหรือการฝึกฝนในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจังเพื่อตอบสนองต่อปัญหาและจัดการมันในทงาที่จะไม่ทำให้เกิดขึ้นอีกต่อไป

ที่มา:
Pdx.edu

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
รู้จักโมเดล Lighthouse ความสำเร็จของการผลิตที่ก้าวข้าม Productivity มุ่งหน้าสู่ผลกระทบที่เกิดขึ้นจริง!
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924