Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

เวฟ บีซีจี MOU กรมการข้าวให้ความรู้ทำนาแบบเปียกสลับแห้ง หวังเพิ่มขีดแข่งขันเกษตรกรไทยบนเวทีโลก

เวฟ บีซีจี เอ็มโอยู กรมการข้าว ร่วมมือพัฒนาองค์ความรู้และผลิตบุคลากรด้านพัฒนาพันธุ์ข้าว และกรรมวิธีการทำนาแบบเปียกสลับแห้ง หวังช่วยเพิ่มคุณภาพผลผลิตข้าว และพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรไทย รวมทั้งเพิ่มขีดแข่งขันบนเวทีโลก เสริมศักยภาพการส่งออก และช่วยให้ประเทศไทยบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

นายเจมส์ แอนดริว มอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เวฟ บีซีจี จำกัด (Wave BCG) และ นายชิษณุชา บุดดาบุญ รองอธิบดีกรมการข้าว ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2567 เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และผลิตบุคลากรด้านการพัฒนาพันธุ์ข้าว กรรมวิธีการเพาะปลูก เพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น

บันทึกข้อตกลงดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรผ่านการให้ความรู้ในการทำนาแบบเปียกสลับแห้งให้แก่เกษตรกรไทย ซึ่งวิธีการนี้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกแบบดั้งเดิมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลผลิตข้าว เนื่องจากวิธีการปลูกข้าวเปียกสลับแห้งทำให้ข้าวดูดซับสารอาหารภายในดินได้ดียิ่งขึ้น และจากการปล่อยให้นาข้าวแห้งจะช่วยลดจำนวนศัตรูพืช จึงส่งผลกับผลผลิตโดยตรง

นอกจากนี้แล้วยังเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันบนเวทีโลกจากการที่เป็นข้าวคาร์บอนต่ำซึ่งจะสามารถขายได้ในราคาที่สูงขึ้น โดยทั้ง 2 ฝ่าย จะร่วมมือกันในการสนับสนุนให้แก่เกษตรกรไทยให้เข้าใจและนำวิธีการปลูกข้าวแบบเปียกสลับแห้งนี้ไปปรับใช้ เพื่อช่วยประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายด้านการปล่อญก๊าซเรือนกระจก เพิ่มศักยภาพในการส่งออกข้าว และพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย

ความร่วมมือนี้ยังพิจารณาแนวทางการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และแบ่งปันองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของทั้งสองฝ่ายหรือดำเนินการความร่วมมืออื่นๆ ตามที่ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกัน

“นายเจมส์กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมที่มีพื้นที่ปลูกข้าวมากกว่า 56 ล้านไร่และมีข้าวเป็นสินค้าเกษตรที่มีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับที่ 2 ของประเทศไทย ทั้งยังมีมูลค่าการส่งออกเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากอินเดียและเวียดนาม ซึ่งด้วยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศจะส่งผลให้ประเทศไทยประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ และทำให้พื้นที่นอกเขตชลประทานไม่สามรถทำกิจกรรมทางการเกษตรได้ เมื่อพื้นที่ทำเกษตรกรรมหายไป นั่นหมายความว่าปริมาณข้าวที่ถูกใช้เพื่อบริโภคและส่งออก และข้าวยังเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอื่นๆด้วย เช่น อาหารแปรรูป อาหารสัตว์ อุตสาหกรรมแป้ง เป็นต้น ด้วยสถานการณ์ข้างต้นที่กล่าวมาทำให้บริษัทเวฟ บีซีจี จำกัด ตระหนักว่าการส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าวจากวิธีการปกติเป็น การปลูกแบบเปียกสลับแห้ง เพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และยังต้องการความร่วมมือทั้งจากภาครัฐและเอกชนเพื่อให้การดำเนินกิจกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้บริษัทเวฟ บีซีจี เป็นบริษัท climate ครบวงจร ตั้งแต่การให้คำปรึกษาเพื่อช่วยให้องค์กรวางแผนในการลดการปล่อยก๊าซเรื่อนกระจก ผู้พัฒนาโครงการเพื่อได้มาซึ่ง Carbon Credit ผู้จัดหา Carbon Credit ให้บริษัททั้งในไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังลงทุนในนวัตกรรมด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Tech

ส่วนทางด้านกรมการข้าว เป็นหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจ ในการส่งเสริมและสนับสนุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และคุณภาพผลผลิตข้าวพัฒนาศักยภาพชาวนา และองค์กรชาวนาให้เข้มแข็ง พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการผลิตข้าว และเครื่องจักรกลการเกษตร ส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าข้าว ผลผลิตภัณฑ์แปรรูป และผลพลอยได้จากข้าววิจัยและพัฒนารูปแบบบูรณาการด้านการผลิต การแปรรูป และบรรจุภัณฑ์ข้าว

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924