Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

10 บริษัทฯ ขานรับ IRA ลงทุนการผลิตในสหรัฐอเมริกา

Inflation Reduction Act (IRA) หรือกฎหมายลดเงินเฟ้อโดย Joe Biden ประธานาธิบดบีแห่งสหรัฐอเมริกานั้นสร้างแรงจูงใจในการดึงดูดผู้ผลิตกลับประเทศ ซึ่งนโยบายสีเขียวที่อยู่ภายในกฎหมายดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการลงทุนขึ้นสำหรับภาคอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่ให้ความสำคัญกับพลังงานและคาร์บอน

การผลิตนอกชายฝั่งนั้นเกิดขึ้นเป็นปกติสำหรับประเทศที่มีต้นทุนด้านแรงงานสูง หากมองย้อนกลับไปในช่วงปี 2000 ค่าจ้างการประกอบในสหรัฐอาจมีมูลค่าสูงถึง 90 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ประเทศจีนนั้นอาจมีมูลค่าการประกอบอยู่ที่ 2.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น ช่องว่างมหาศาลนี้ทำให้เกิดการโยกย้ายการผลิตไปยังพื้นที่นอกชายฝั่งที่มีต้นทุนการผลิตถูกกว่า ซึ่งแม้จะรวมต้นทุนด้านโลจิสติกส์ต่าง ๆ เข้าไปแล้วความต่างที่เกิดขึ้นอาจมีต้นทุนเพิ่มขึ้นมาเพียง 1-2 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น และถึงแม้ว่าการย้ายโรงงานฐานการผลิตใหม่จะต้องลงทุนด้านการฝึกแรงงาน อาคาร และเทคโนโลยีต่าง ๆ แต่การประหยัดค่าการผลิตต่อชิ้นต่อหน่วยได้มหาศาลนั้นก็สามารถคืนทุนได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน

การย้ายฐานการผลิตกลับสหรัฐอเมริกาประเทศที่มีต้นทุนสูงรอบด้านจึงดูเป็นเรื่องที่ไม่ฉลาดนัก การย้ายกลับมานั้นมีความคาดหวังต่อผิตภาพแรงงานที่สูงขึ้นในกรณีที่คุณยอมรับต้นทุนแรงงานได้ หรืออาจจะต้องหันมาผลิตสิ่งที่ต้นทุนแรงงานนั้นไม่เป็นปัจจัยสำคัญในตัวแปรอีกต่อไป การแก้ปัญหาเบื้องต้นที่ผู้ผลิตเริ่มดำเนินการกันแล้วนั่นคือการย้ายฐานการผลิตมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ดูสมเหตุสมผลกว่าในการขนย้ายและต้นทุนต่าง ๆ การเดินทางมาผลิตยังประเทศอเมริกายังคงดูเป็นห่างไกลจนกระทั่งการมาถึงของ IRA และ CHIPS and Science Act ที่ทำให้ผู้ประกอบการทั้งในประเทศเองและผู้ประกอบการจากประเทศโลกที่ 1 อย่างสหภาพยุโรปยังให้ความสนสนใจ

Inflation Reduction Act + Chips and Science Act แม่เหล็กตัวจี๊ดสำหรับการผลิตในสหรัฐฯ

นโยบายเพื่อฟื้นฟูศักยภาพในการผลิตของสหรัฐฯ ล่าสุดนั้นถูกผลักดันออกมาภายใต้แม่เหล็กดึงดูดการลงทุนที่สำคัญ 2 ตัว ได้แก่

Inflation Reduction Act – กฎหมายที่เร่งการลงทุนสำหรับการผลิตภายในประเทศ สนับสนุนให้เกิดซัพพลายที่สำคัญในประเทศหรือพันธมิตรในรูปแบบการค้าเสรี ตลอดจน Jump-start R&D และเทคโนโลยีอันล้ำสมัยในเชิงพาณิชย์ เช่น การดักจับคาร์บอน และการจัดเก็บไฮโดรเจนสะอาด รวมถึงการลดต้นทุนค่ายาต่าง ๆ ที่ทำให้การรักษาในปัจจุบันเป็นไปได้ยากลำบากอีกด้วย

และ

Chips and Science Act – กฎหมายที่ถูกร่างขึ้นมาเพื่อดึงดูดการลงทุนและสร้างการเติบโตของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ในสหรัฐอเมริกา โดยอนุมัติงบประมาณประมาณราว 200,000 ล้านดอลลาร์ มีระยะเวลา 5 ปี แบ่งเป็น 54,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับอุตสาหกรรมผลิตชิปและการทำวิจัย และ 170,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสนับสนุนการวิจัยวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และอวกาศ

กรอบกฎหมาย Chips and Science Act นั้นมีความชัดเจนว่าสหรัฐฯ ตั้งเป้าที่จะกลับมาเพิ่มส่วนแบ่งหรืออยากจะเป็นผู้ผลิตชิปรายสำคัญของโลก ไม่ว่าจะเป็นการลดการผูกขาดในภูมิภาคเอเชียเองหรือจะเป็นในเรื่องความมั่นคงของชาติด้วยเช่นกัน ซึ่งทำเนียบขาวคาดการณ์ว่ากฎหมายนี้จะลดต้นทุน สร้างงาน สร้างความมั่นคงของซัพพลายเชน และทิ้งท้ายไว้ว่เป็นการโต้ตอบกลับจีนอีกด้วย

ในทางกลับกัน IRA กลับเป็นกฎหมายที่ค่อนข้างกว้างและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก โดยแบ่งงบประมาณออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ พลังงาน 250,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, 47,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, สิ่งแวดล้อม 46,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, การขนส่งและยานยนต์ไฟฟ้า 23,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ, 20,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และน้ำ 4,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

สิทธิพิเศษด้านภาษีจาก IRA นั้นจะส่งผลโดยตรงกับค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน แบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการดูแลรักษาสุขภาพโดยเฉพาะเรื่องต้นทุนราคายาที่ใช้ในการรักษา คาดว่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นได้ถึง 237,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

10 บริษัทยักษ์ใหญ่จากสหรัฐฯ และยุโรปขานรับนโยบาย IRA

จากนโยบายสนับสนุนที่เกิดขึ้นจะช่วยลดต้นทุนสำหรับภาคการผลิตได้ไม่น้อย และประเด็นที่สำคัญที่สุด คือ การกระจายความเสี่ยงและการผูกขาด ซึ่งเป็นบทเรียนสำคัญที่ทั่วโลกได้เรียนรู้หลังการระบาดใหญ่ระลอกแรกที่เกิดขึ้นในประเทศจีน โดยบริษัทที่มีแนวโน้มตอบสนองต่อการสนับสนุนผ่านกฎหมาย IRA นี้ ได้แก่

Audi – โดย VW ซึ่งเป็นเจ้าของ Audi อาจสร้างโรงงานในสหรัฐฯ แยกออกมาหรืออยู่ภายใต้ VW เองเพื่อใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนของ IRA

Drax – ผู้ผลิตพลังงานวางแผนที่จะลงทุนด้วยมูลค่ากว่า 30 ล้านปอนด์สเตอร์ลิงในสหรัฐฯ เพื่อให้ประโยชน์จาก IRA ในการโปรโมทเรื่องการลงทุนในธุรกิจคาร์บอนต่ำ

Tesla – แม้ว่าจะมีการประกอบแบตเตอรี่ในเยอรมนีแล้วแต่จะให้ความสำคัญกับการผลิตเซลล์ในสหรัฐฯ ในภายการสนับสนุนบางส่วนจาก IRA

Northvolt AB – ผู้ผลิตแบตเตอรี่จากสวีเดนนั้นได้แสดงความต้องการในการขยายการผลิตสู่สหรัฐฯ อเมริกามากกว่ายุโรป และการตั้งโรงงานนั้นอาจมีมูลค่ากว่า 800 ล้านยูโรสำหรับแบตเตอรี่ EV ในสหรัฐฯ

Holcim AG – ผู้ผลิตซีเมนต์รายใหญ่ที่สุดในโลกคาดการณ์ว่า IRA จะสร้างแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ให้กับธุรกิจของตัวเองในอเมริกาเหนือ และเกิดการตกลงที่จะเข้าซื้อผู้ผลิตระบบหลังคาสัญชาติสหรัฐฯ Duro-Last ด้วยมูลค่ากว่า 1,290 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

Linde – ผู้ผลิตก๊าซรายใหญ่คาดการว่ามูลค่าการลงทุนรวมในสหรัฐอเมริกาจะมีมูลค่าเกิน 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในอีกทศวรรษต่อจากนี้

Mercedez-Benz Group – ผู้ผลิตยานยนต์หรูตั้งเป้าลงทุนหลายพันล้านยูโรเพื่อสร้างที่ชาร์จพลังงานเร็วกว่า 10,000 ตำแหน่งชาร์จ เริ่มต้นในอเมริกาเหนือในปี 2023 โดยในสหรัฐฯ และ แคนาดาตั้งเป้า 2,500 ตำแหน่งชาร์จใน 400 สถานที่

Volkswagen – ผู้บริหารได้กล่าวถึงโรงงานในสหรัฐที่ Chattanooga, Tennessee นั้นตั้งเป้าผลิต EV 90,000 คันในปี 2023 เพิ่มเติม ID4 ซึ่งเป็นรุ่นใหม่ในปีนี้ที่จะได้รับประโยชน์จาก IRA ถึง 7,500 ดอลลาร์สหรัฐฯ

ENEL – CEO ของ ENEL ได้แสดงความเห็นว่า IRA นั้นสนับสนุนการผลิตพลังงานในท้องถิ่นมากกว่านโยบายจากสหภาพยุโรปเสียอีก

BMW – ผู้ผลิตยานยนต์รายใหญ่วางแผนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเต็มระบบ 6 รุ่นในโรงงานที่ South Carolina ภายในปี 2030

แม้ว่า IRA และ Chips and Science Act นั้นจะมีเป้าหมายเพื่อกระจายความเสี่ยง ลดการผูกขาด ตลอดจนลดทอนความสามารถในการแข่งขันของจีนก็ตาม แต่ในอีกทางหนึ่งทั้งสองกฎหมายมีความน่าสนใจและสร้างแรงดึงดูดในการลงทุนไม่น้อย เนื่องจากสหรัฐอเมริกานั้นเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ ทั้งยังเป็นศูนย์รวมของบริษัทเทคโนโลยีอีกมากมายการที่แหล่งผลิตกับบริษัทแม่หรือหน่วยวิจัยจะสร้างความสามารถในการแข่งขันได้ไม่น้อยโดยเฉพาะในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วตลอดจนอธิปไตยในการควบคุมสิทธิ์หรือข้อมูลต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวดึงดูดความน่าสนใจในการผลิตภายใต้พื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาเดียวกัน เพราะนอกจากกำลังการบริโภคในพื้นที่ซึ่งมีอยู่น้อยแล้ว นโยบายและแนวคิดด้านความยั่งยืนต่าง ๆ ยังไม่แข็งแรงและยังไม่ถูกให้ค่าเทียบเท่ากับประเทศโลกที่หนึ่งอย่างสหรัฐฯ หรือกลุ่มสหภาพยุโรป สวนทางกับนโยบายด้านความยั่งยืนที่นานาประเทศให้ความร่วมมือกันในปัจจุบัน

อ้างอิง:
Reuters
Forbes
McKinsey
Whitehouse
Moneybuffalo
Thestandard

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924