Sunday, January 19Modern Manufacturing
×

ผลวิจัยชี้ ‘การบริหารเวลา’ ได้ผลแน่แต่อาจไม่ใช่อย่างที่คิด

การใช้วิธีบริหารจัดการเวลาต่าง ๆ ที่เป็นที่นิยมกันในปัจจุบันนั้นแท้จริงแล้วอาจไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพมากสักเท่าไหร่ แต่กลับเป็นการเพิ่มความพึงพอใจให้กับตัวเองเสียมากกว่าผลลัพธ์ด้านประสิทธิภาพ

หลายคนอาจเคยเปิด Google แล้วค้นหาคำว่า ‘การบริหารจัดการเวลา’ หรือ ‘Time Management’ กันมาบ้างแล้วใช่หรือไม่ครับ? และผลลัพธ์ที่แสดงขึ้นมานั้นเต็มไปด้วยหนังสือ คำแนะนำ เทคนิค บทเรียน แม้กระทั่งสิ่งที่ต้องทำหรือการห้ามทำอะไรบางอย่าง ประเด็นของการบริหารจัดการเวลาจึงกลายเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และแน่นอนว่ามันนำมาซึ่งคำถามสำคัญที่ว่า ‘แล้วไอ้การบริหารจัดการเวลานั้นมันได้ผลจริง ๆ เหรอ?’

นักวิจัยจาก John Molson School of Business มหาวิทยาลัย Concordia ได้นำคำถามนี้เดินทางไปสู่การค้นหาคำตอบว่า การบริหารจัดการเวลาที่นิยกันนั้นส่งผลอย่างไรต่อผู้เชี่ยวชาญหรือความสำเร็จที่เกิดขึ้น รูปแบบการทบทวนวรรณกรรมที่ใช้นั้นเป็นรูปแบบการวิเคราะห์ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกสำหรับการบริหารจัดการเวลา การศึกษาลงไปในข้อมูลของชุดการเรียนรู้กว่า 158 ชุดตลอด 4 ทศวรรษใน 6 ทวีป และมีผู้ร่วมตอบแบบสอบถามกว่า 53,000 คน และคำตอบที่ได้ คือ ‘ใช่’ การบริหารจัดการเวลาใช้ได้ผลจริง แต่อาจจะไม่ได้ผลอย่างที่เข้าใจกันไว้

เชื่อหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ว ‘ชีวิตที่สมดุล คือ ชีวิตที่มีความพึงพอใจ’ ทีมวิจัยได้พบว่าการบริหารเวลานั้นให้ผลลัพธ์ปานกลางในด้านของประสิทธิภาพการทำงาน และยังพบว่าความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเวลาและประสิทธิภาพในการทำงานนั้นเพิ่มขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปในแต่ละปีอย่างมีนัยสำคัญ

นอกจากนี้ทีมวิจัยยังสังเกตว่าชุดทักษะการบริหารจัดการเวลานั้นยิ่งกลายเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ สำหรับแรงงานด้านระบบอัตโนมัติที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่องเช่นกัน หากมองในปัจจุบันจะพบว่าผู้คนหาวิธีการบริหารจัดการโครงสร้างของเวลาและใช้เวลาในการจัดการกับโครงสร้างนั้นด้วยตัวเอง และหากพวกเขาทำมันได้ดีก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าพวกเขาจะทำงานได้ดีขึ้น แต่ในทางกลับกันหากไม่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ออกมาดีเท่าไหร่ ประสิทธิภาพในการทำงานอาจจะเลวร้ายกว่าสิ่งที่ทำได้เมื่อ 30 ปีที่แล้วเสียอีกหากพวกเขาถูกจัดบริหารจัดการเวลาให้

ในทางวิชาการนั้นการบริหารจัดการเวลาสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับความสำเร็จที่จะเกิดขึ้น แต่ไม่ได้รับประกันสำหรับผลงานเนื่องจากผลการทดสอบหรือสิ่งอื่นใดนั้นล้วนขึ้นกับปัจจัยอื่น ๆ อีกมากมายที่การบริหารจัดการไม่อาจควบคุมได้

หากมองในประเด็นของความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการเวลาและภาพรวมความเป็นอยู่ที่ดีหรือจะเรียกว่าความพึงพอใจ นักวิจัยพบว่าทั้งสองประเด็นนี้มีความสัมพันธ์กันอย่างแข็งแรง เนื่องจากการบริหารจัดการเวลานั้นทำให้ผู้คนรู้สึกดีกับชีวิตตัวเอง ด้วยการช่วยการจัดตารางชีวิตในแต่ละวันที่อยู่บนพื้นฐานของคุณค่าและความเชื่อของแต่ละคน ทำให้สามารถสัมผัสกับการถูกเติมเต็มใยความสำเร็จของตัวเองได้ ในทางกลับกันก็มีความสัมพันธ์ด้านลบอย่างเข้มแข็งระหว่างพื้นฐานและความทุกข์ด้วย

ท้ายที่สุดแล้วเมื่อพิจารณาจากข้อมูลที่ปรากฎขึ้นไม่ว่า ลักษณะนิสัย อายุ เพศ การศึกษา และสถานัสังคม พวกเขาพบว่าความสัมพันธ์ที่คาดหวังจากการบริหารจัดการเวลานั้นกลับมีน้อยกว่าที่คิด และยังพบว่าผู้หญิงสามารถบริหารจัดการเวลาได้ดีกว่าผู้ชายเล็กน้อย

โดยสิงที่ผู้พันธ์กับการบริหารจัดการเวลาอย่างเข้มแข็ง คือ ความพิถีพิถัน (Conscientiousness) คุณสมบัตินี้บ่งบอกถึงความใส่ใจในรายละเอียด แรงปราถนาที่มีการการจัดระบบระเบียบให้สามารถเชื่อมั่นและเป็นระบบได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีลักษณะของความเชื่ออำนาจควบคุมภายในตัวเอง (Internal Locus of Control) สูง หมายความว่ากลุ่มคนที่รู้สึกว่าพวกเขาสามารถที่จะเปลี่ยนหรือสร้างผลกระทบต่อชีวิตของตัวเองจะประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการเวลามากกว่าคนที่เป็นเชื่อในอำนาจควบคุมตัวเองจากภายนอก (External Locus of Control)

เมื่อเกิดการระบาดของ COVID-19 ขึ้นหนึ่งในปัญหาที่พบ คือ การพยายามเปรียบเทียบการแบ่งเวลาการบริหารเวลากับคนที่ประสบความสำเร็จมากกว่า สิ่งนี้อาจนำไปสู่ Time Management Shaming หรือทำให้อับอายจากการเปรียบเทียบการบริหารจัดการเวลา คุณอาจเห็นสังคมออนไลน์โพสท์กันว่า “เจอ COVID-19 เข้าไปแต่ยังได้โอกาสเรียนภาษาใหม่ๆ” หรือ “โห วันนี้ตื่นตี 5 แต่ทำงานแป๊ปเดียวได้เยอะกว่าทั้งวันอีก” สิ่งเหล่านี้นักวิจัยมองว่าทำให้คนอื่นรู้สึกแย่กับตัวเองและสร้างมาตรฐานซึ่งไม่เป็นจริงขึ้นมาซึ่งมันมีทั้งสิ่งที่เราทำได้และเราทำไม่ได้ในเวลาของเราเอง

งานวิจัย Does time management work? A meta-analysis

ที่มา:
Concordia.ca

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924