Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

The White Paper: ป้องกันก๊าซและไฟในกระบวนการบำบัดน้ำเสีย

การป้องกันอุบัติเหตุในกระบวนการบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารพิษและโอกาสในการเกิดเพลิงไหม้ มาตรการป้องกันจำเป็นต้องได้มาตรฐานที่มีการรองรับ เช่น NFPA 820 (2016) ซึ่งเป็นมาตรฐานการป้องกันเพลิงไหม้สำหรับพื้นที่บำบัดของเสีย

กระบวนการสำหรับการบำบัดน้ำเสียในโรงงานนั้นเกี่ยวข้องกับสารเคมีหลากหลายชนิด อาทิ คลอรีน แอมโมเนีย ไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้สามารถส่งผลเสียต่อแรงงานและทรัพย์สินได้ โดยมาตรฐานที่แนะนำให้รู้จัก คือ NFPA 820 (2016) ซึ่งส่วนสำคัญอยู่ที่ระบบตรวจจับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

ที่มาภาพ: DET-TRONICS

การตรวจจับที่สำคัญสำหรับการระบายน้ำเสีย

การตรวจจับควัน ตามมาตรฐาน NFPA 80 อุปกรณ์ตรวจจับควันต้องมีการตอบสนองต่อควันสูง โดยระบบที่มีการใช้งานอากาศมากกว่า 56.6 ตร.ม./นาที ต้องมีอุปกรณ์ตรวจจับ ควรติดตั้งเครื่องตรวจจับตามท่อระบายอากาศหรือระบบปรับอากาศ (HVAC) รวมถึงพื้นที่เสี่ยงอื่น ๆ โดยมาตรฐานการตรวจจับของอุปกรณ์ต้องเหมาะสมกับการใช้งานในพื้นที่ระดับ Class I Division 1 หรือ 2 ซึ่งเป็นพื้นที่ที่สัมผัสต่อเชื้อเพลิงหรือก๊าซ ตำแหน่งที่ติดตั้งในพื้นที่ควรเป็นตำแหน่งที่มีการไหลเวียนของอากาศจากแหล่งวัตถุดิบไปยังพื้นที่เสี่ยงต่อเพลิงไหม้

การตรวจจับความร้อน การตรวจจับความร้อนนั้นทำได้ยิ่งเร็วเท่าไหร่ยิ่งเป็นผลดี การตอบสนองที่ล่าช้านำไปสู่ความเสียหายที่ขยายวงกว้างอย่างรวดเร็ว การใช้อุปกรณ์ตรวจจับภาพความร้อนหรือเพลิงไหม้สามารถตอบสนองได้รวดเร็วกว่าการตรวจจับแหล่งควันด้วยความเร็วระดับแสง สามารถใช้หลากหลายเทคโนโลยีประยุกต์ร่วมกันได้ เช่น Ultraviolet(UV), Infared(IR), Ultraviolet/Infared(UV/IR) และ Multi-Spectrum Infared (MSIR) แม้ว่ามาตรฐาน NFPA 80 ไม่ได้ระบุถึงการใช้การตรวจจับความร้อนด้วยภาพ แต่มีคำแนะนำสำหรับระบบการควบคุมเพลิงในบางพื้นที่ที่ต้องการความรวดเร็วเป็นพิเศษ

การตรวจจับก๊าซ การตรวจจับก๊าซนั้นมีทางเลือกการใช้งานหลากหลายโดยให้ความสำคัญกับความเข้มข้นของก๊าซในอากาศ เช่น การตรวจดูความเข้มข้นของออกซิเจนในอากาศเพื่อความปลอดภัยของแรงงงานในพื้นที่จำกัด หรือตรวจสอบสารพิษที่ปรากฏในพื้นที่นั้น ๆ โดยมาตรฐานของอุปกรณ์ตรวจจับสำหรับส่วนของการบำบัดน้ำเสียรูปแบบแรกต้องยู่ในระยะสายตาและสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ตรวจวัด 2 จุดที่อยู่ห่างกันประมาณการที่ 120 เมตรต่อจุด  รูปแบบที่สองระบุจะตายตัว ใชสำหรับตรวจวัดสารพิษหรือสารเคมีที่สามารถจุดระเบิดได้ โดยใช้เทคโนโลยีด้วยไฟฟ้าเคมี ตัวเร่งปฏิกริยา หรือเทคโนโลยี Infared

การควบคุมความปลอดภัยของระบบก๊าซและเพลิง

ไม่ว่าจะมีเครื่องมือตรวจจับที่ดีแค่ไหนก็ตามแต่ การทำงานของเครื่องมือเหล่านั้นต้องการระบบที่มีประสิทธิภาพเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที สำหรับระบบในปัจจุบันนั้นมีการใช้งาน PLC เพื่อมอนิเตอร์ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานร่วมกับโมดูล I/O หน้าจอ สวิตซ์ และอุปกรณ์ระบุสถานภาพที่สามารถทำงานร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมได้ ทำให้การทำงานเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การควบคุมก๊าซและเพลิงนั้นเป็นการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ตรวจจับหลายร้อยตัวร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมเพลิงรวมถึงอุปกรณ์แจ้งเตือนฉุกเฉิน อุปกรณ์ควบุมจำเป็นต้องออกคำสั่งและจัดการระบบไดด้ครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการส่งสัญญาณเตือนภัย การทำงานของปั๊มน้ำ การเปิดวาล์ว หรือการปิดแดมเปอร์ในระบบ HVAC


ที่มา:

  • Fire and Gas Protection in Wastewater Applications: How to Meet the Latest Safety Standard (DET-TRONICS, White Paper)

 

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924