Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

ประเทศไทย 4.0 กับอนาคตหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ประเทศไทย 4.0 กับอนาคตหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในปัจจุบันนั้น ‘หุ่นยนต์’ ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดโดยคาดว่าอีก 2-3 ปีข้างหน้า ความต้องการใช้หุ่นยนต์ทั่วโลก มีโอกาสจะเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ประกอบกับภาวะการขาดแคลนแรงงานของภาคอุตสาหกรรมยังคงเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ขณะเดียวกันภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ต้องพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันผ่านการเพิ่มผลิตภาพอย่างต่อเนื่อง ยิ่งตอกย้ำให้การใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มการเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต

IFR คาดการใช้งานหุ่นยนต์ของโลกในปี 2018 มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 2 เท่า

ปัจจุบันการใช้งานหุ่นยนต์ในภาคอุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นงานที่ไม่ซับซ้อนมากนัก ใช้ระบบอัตโนมัติ (Automation) ควบคุมให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้เองผ่านการเขียนโปรแกรมโดยหากเป็นงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้นจะใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) เข้าช่วยควบคุมเพื่อให้หุ่นยนต์มีความสามารถสูงขึ้นหรือฉลาดขึ้นนั่นเอง

ตลอดช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา หุ่นยนต์บริการ (Service Robots) มียอดขายเฉลี่ยต่อปีประมาณ 5 ล้านตัว ส่วนหุ่นยนต์อุตสาหกรรม (Industrial Robot) มียอดขายเฉลี่ยเพียง 200,000 ตัวเท่านั้น โดย International Federation of Robotics (IFR) คาดว่าการใช้งานหุ่นยนต์ของโลกในปี 2018 มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอีกเกือบ 2 เท่า เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มหันมาสนใจ และใช้งานหุ่นยนต์บริการแทนการทำงานบางอย่าง เพื่อความสะดวกสบายที่เพิ่มขึ้น ไม่ต้องทำงานที่เปลืองแรง หรืองานที่มีความเสี่ยงมากเกินไป เช่น การใช้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นแทนการทำความสะอาดบ้าน การใช้หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ หรือการใช้หุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น

ทั้งนี้ ความต้องการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมส่วนใหญ่มาจาก 5 อุตสาหกรรมหลัก ซึ่งมีสัดส่วนการใช้งานรวมกันกว่า 85% ของการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลก เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เหล็ก ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก และการแปรรูปอาหาร โดยขณะนี้ประเทศจีนถือเป็นผู้เล่นอันดับ 1 ที่มีความต้องการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมากที่สุดในโลก ครองสัดส่วนของยอดขายในตลาดโลกไปแล้วกว่า 30% และยังมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอีกในอนาคตกลายเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมรายใหญ่ของโลกในอนาคต

สัดส่วนการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกจำแนกตามอุตสาหกรรมสำคัญของปี 2015
สัดส่วนการใช้งานหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลกจำแนกตามอุตสาหกรรมสำคัญของปี 2015

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาถึงอัตราส่วนการทดแทนแรงงานของหุ่นยนต์ต่อจำนวนแรงงาน (Robot Density) ในประเทศจีน จะพบว่ายังมีอัตราส่วนที่ค่อนข้างน้อย ประมาณ 36 ตัวต่อแรงงาน 10,000 คน ซึ่งล่าสุดรัฐบาลจีนไดประกาศเป้าหมายการเพิ่ม Robot Density ในปี 2020 ให้สูงขึ้นอีก 300% หรือเท่ากับ 150 ตัวต่อ 10,000 คน พร้อมทั้งเตรียมแผนการดำเนินงานเพื่อผลักดันให้ผู้ผลิตหุ่นยนต์ท้องถิ่นมียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นอีกกว่า 5 เท่า ภายใต้นโยบาย China Manufacturing 2025 ที่จะสร้างอุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมให้เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายของจีน เช่นเดียวกับประเทศไทยในปัจจุบันที่กำลังจะพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ขึ้นเป็นอุตสาหกรรมใหม่ เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยในยุค ‘ประเทศไทย 4.0

ไทยมีความพร้อม ต่อยอดพัฒนาหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ได้

สำหรับโอกาสและความท้าทายของการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ในประเทศไทยนั้น ศูนย์วิจัยธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งได้ศึกษาและวิเคราะห์ในประเด็นดังกล่าว ได้ระบุว่า ประเทศไทยมีโอกาสและศักยภาพในการเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ภาคบริการแม้ว่ายอดขายหุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมไทยทุกวันนี้จะมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า เมื่อเทียบกับยอดขายในปีที่ผ่านมา ซึ่งมียอดขายประมาณ 4,000 ตัว ทว่าในภูมิภาคเอเชียนั้น ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่ค่อนข้างเล็ก ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการที่จะพลิกบทบาทจากผู้ใช้ไปเป็นผู้ผลิตนั้นยังไม่สูงนัก เมื่อเทียบกับโอกาสในการก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์บริการซึ่งมีความเป็นไปได้มากกว่า จากแนวโน้มการเข้าสู่ยุคสังคมผู้สูงอายุ อีกทั้ง ภาคอุตสาหกรรมไทยก็เริ่มมีการขยายตัวไปสู่ภาคบริการมากขึ้น

ลำดับของประเทศที่มีอัตราส่วนการแทนที่ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่อแรงงาน 10,000 คน (Robot Density) สูงกว่าค่าเฉลี่ย
ลำดับของประเทศที่มีอัตราส่วนการแทนที่ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมต่อแรงงาน 10,000 คน (Robot Density) สูงกว่าค่าเฉลี่ย

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังมีความพร้อมด้านทักษะเชิงเทคนิคของบุคลากรในประเทศที่จะสามารถต่อยอดและพัฒนาหุ่นยนต์บริการในระดับโลกได้ ประกอบกับไทยมีความพร้อมด้านทักษะเชิงเทคนิคของบุคลากรในประเทศ หากยังต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาต่อยอดการพัฒนาหุ่นยนต์ให้ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์ซึ่งจะเป็นปัจจัยที่ช่วยสร้างโอกาสให้กับวงการอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทยในระยะต่อไป

กำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด สร้างเครือข่ายพันธมิตร
รองรับการเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์ในอนาคต

ยอดขายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลก จำแนกตามตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชียของปี 2015
ยอดขายหุ่นยนต์อุตสาหกรรมทั่วโลก จำแนกตามตลาดสำคัญในภูมิภาคเอเชียของปี 2015

สิ่งที่ผู้ผลิตหุ่นยนต์บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงก็คือ การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด ซึ่งผู้ผลิตหุ่นยนต์บริการควรทำการตลาดแบบ Niche Market และมุ่งเน้นส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ ดังเช่นกรณีของหุ่นยนต์ดินสอที่ประสบความสำเร็จ พัฒนาหุ่นยนต์เพื่อใช้ในภาคบริการและสามารถเข้าถึงตลาดผู้สูงอายุ ทั้งยังวางเป้าหมายในการเจาะตลาดต่างประเทศอย่าง ประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศสวีเดนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในตัวผลิตภัณฑ์ พร้อมกับสร้างความเชื่อใจให้ผู้บริโภคด้วย

เช่นเดียวกัน หุ่นยนต์อุตสาหกรรมก็ต้องกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างแม่นยำ เร่งสร้างเครือข่ายในเชิงพันธมิตร ผู้ผลิตหุ่นยนต์รายใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ให้ครอบคลุมทั้งภูมิภาคเอเชีย เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งหากพิจารณาด้านความพร้อมของตลาดที่มีแนวโน้มการเติบโตมากขึ้น ประกอบกับศักยภาพที่มากในการก้าวสู่การเป็นผู้ผลิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรมในอนาคต

EXECUTIVE SUMMARY

International Federation of Robotics (IFR) estimated that global robotic usage in 2018 has tendency to raise by 2 times. The major demanding of industrial robotic came from 5 major industries which have proportion about 85% of global industrial robotic usage.

For Thailand, Economic Intelligence Center, Siam Commercial Bank mentioned that Thailand has a chance and potential to become a manufacturer for robotic in service sector. Thailand has readiness its population’s technician skill but still need the support from government and related sector.


Source:

  • https://goo.gl/CmnHbL
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924