Friday, November 22Modern Manufacturing
×

‘Thailand 4.0’ กับความหวังปั้นคลัสเตอร์หุ่นยนต์ไทย ….ฝันเฟื่องหรือเรื่องจริง

เมื่อก้าวสู่โมเดล ‘Thailand 4.0’ สิ่งที่รัฐบาลต้องการผลักดันในอุตสาหกรรม New S – Curve ก็คือ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ โดยเชื่อมั่นว่าการพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์จะช่วยพัฒนาเศรษฐกิจของไทยให้พ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลางขั้นต่ำ มาสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้ขั้นสูง ซึ่งการผลักดันคลัสเตอร์หุ่นยนต์ถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายเร่งด่วนที่ภาครัฐกeลังให้ความสำคัญอย่างมากในขณะนี้

‘Thailand 4.0’ กับความหวังปั้นคลัสเตอร์หุ่นยนต์ไทย ….ฝันเฟื่องหรือเรื่องจริง

ภาพรวมอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทย ยุค ‘THAILAND 4.0’

ทันทีที่ภาครัฐประกาศให้ประเทศไทยมุ่งสู่ Thailand 4.0 ปฏิเสธไม่ได้ว่าการหันมาใช้เทคโนโลยีออโตเมชันเป็นสิ่งสำคัญอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ 85% ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ไทยต่างให้ความสำคัญและต้องการนำเทคโนโลยีออโตเมชันมาใช้ในอุตสาหกรรม เพราะเห็นว่าเทคโนโลยีนี้จะช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมของตนเองให้ตอบรับกับโมเดล Thailand 4.0 และทำให้อุตสาหกรรมของตนเกิดการพัฒนาถึงขีดสุด

ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) และคณะอนุกรรมการเร่งรัดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษคลัสเตอร์หุ่นยนต์ ได้บรรยายพิเศษในงานสัมมนา ASSEMBLY & AUTOMATION 2016 ว่า

“หากมองประเทศเพื่อนบ้านของไทยแล้วจะเห็นว่าหลายๆ ประเทศ อาทิ มาเลเซีย จีน เวียดนาม ต่างกำหนดแนวนโยบายหลัก โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งอนาคต ดังนั้น คำถามที่ว่าการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์มีประโยชน์อย่างไร จึงเป็นคำถามที่ค่อนข้างล้าสมัยเมื่อเทียบกับคำถามที่ว่า จะทำอย่างไรให้อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทยเกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นคำถามสำคัญที่ภาครัฐและภาคเอกชนจะต้องเร่งหาคำตอบเพื่อทำให้โมเดล Thailand 4.0 ไม่เป็นเพียงความฝันอีกต่อไป”

นำเข้าเป็นหลัก ผลิตเป็นรองภาพสะท้อนความจริงของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทย

แม้จะมีความพยายามผลักดันให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ภายในประเทศ แต่ตามสภาพความเป็นจริงแล้วกลับพบว่า ผู้ประกอบการยังคงเลือกที่จะนำเข้าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเสียเป็นส่วนใหญ่

เมื่อพิจารณาจากอุตสาหกรรมใหญ่ในประเทศที่มีความต้องการใช้หุ่นยนต์ เช่น บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ วงเงินลงทุน 20,000 ล้านบาท เอสซีจี ประมาณ 5,000 – 6,000 ล้าน บาท ปตท. 2,000 ล้านบาท แต่ละอุตสาหกรรมมีวงเงินลงทุนมหาศาล หากประเทศไทยไม่สร้างคลัสเตอร์หุ่นยนต์ บริษัทที่กล่าวมาข้างต้นก็จำเป็นต้องนำเข้าหุ่นยนต์จากต่างประเทศมาใช้ในการดำเนินงาน

เพื่อให้นโยบายและความมุ่งหวังเกี่ยวกับ Thailand 4.0 เกิดขึ้นจริง ภาครัฐจึงต้องผลักดันให้เกิดคลัสเตอร์หุ่นยนต์ เพื่อตอบสนองความต้องการที่มีอยู่ โดยการสนับสนุนด้านเงินทุนในรูปแบบกองทุน การร่วมทุน และสิทธิประโยชน์ทางภาษี อาทิ การหักค่าใช้จ่าย หักค่าเสื่อม เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้ผู้ผลิตที่เป็นบริษัทคนไทย ซึ่งถือเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดการซื้อชิ้นส่วนหุ่นยนต์ที่ผลิตภายในประเทศ และไม่ทำให้เงินจำนวนมหาศาลตกไปอยู่ในมือผู้ผลิตต่างประเทศในที่สุด

การทำาให้เกิดคลัสเตอร์หุ่นยนต์ในประเทศ ซึ่งคนไทยมีศักยภาพในการผลิตหุ่นยนต์ไม่แพ้ประเทศอื่นหลายๆ บริษัทสามารถออกแบบและผลิตชิ้นส่วนหุ่นยนต์ เช่น แขนกล สายพานต่างๆ ได้

ดังนั้น แทนที่ผู้ประกอบการจะนำาเข้าหุ่นยนต์ทั้งหมด ก็อาจเปลี่ยนเป็นนำเข้าบางส่วนแล้วนำมาประกอบกับชิ้นส่วนในประเทศ ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมและพัฒนาคลัสเตอร์หุ่นยนต์เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยได้วิธีหนึ่ง

‘PULL MODEL’ กลยุทธ์สำคัญในการพัฒนา

หากพูดถึงคลัสเตอร์หุ่นยนต์ ที่ปรึกษาต่างประเทศมักกำหนดกลยุทธ์การดำเนินงานหลากหลายขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการเริ่มต้นทำ Research & Development (R&D), Engine Prototype และ Building Prototype ซึ่งความจริงแล้วนักลงทุนไทยยังไม่มีศักยภาพสูงถึงเพียงนั้น

เหตุนี้เองวิธีที่จะทำให้คลัสเตอร์หุ่นยนต์เกิดขึ้นจริง จึงต้องนำความต้องการหรือดีมานด์เป็นตัวตั้ง (Pull Model) จากการคาดการณ์การลงทุนของบริษัทใหญ่ๆ ทั้ง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เอสซีจี หรือ ปตท. ชี้ให้เห็นถึงดีมานด์หรือความเหตุนี้เองวิธีที่จะทำให้คลัสเตอร์หุ่นยนต์เกิดขึ้นจริง จึงต้องนำความต้องการหรือดีมานด์เป็นตัวตั้ง (Pull Model) จากการคาดการณ์การลงทุนของบริษัทใหญ่ๆ ทั้ง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ เอสซีจี หรือ ปตท. ชี้ให้เห็นถึงดีมานด์หรือความ

การพัฒนาหุ่นยนต์ในประเทศไทยให้ประสบความสำาเร็จในเชิงพาณิชย์และเกิดคลัสเตอร์หุ่นยนต์ได้จริง สามารถทำาได้โดยใช้วิธีการแบบ Pull Model คือ ดูดีมานด์หรือความต้องการของอุตสาหกรรมเป็นหลัก ว่ามีความต้องการอย่างไร จากนั้นจึงพัฒนาอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ขึ้นมา เพื่อรองรับความต้องการนั้นๆ ซึ่งวิธีคิดนี้จะต่างจากงานวิจัยทั่วไป ที่มักจะเริ่มการสร้างต้นแบบขึ้นมาก่อนที่เรียกว่า Push Model ที่อาจยังไม่เหมาะกับสภาวการณ์ของนักลงทุนในประเทศไทยนัก

อุปสรรคของอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ วิธีจัดการปัญหา

สำหรับอุปสรรคสำคัญในการผลักดันคลัสเตอร์หุ่นยนต์นั้น โดยหลักแล้วจะเป็นเรื่องของปัจจัยทางการเงินของนักลงทุนที่แม้จะมีการคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใดๆ ออกมา แต่ผู้ประกอบการรายใหม่ก็ไม่สามารถลงทุนในอุตสาหกรรมได้ เนื่องจากไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดีนักจากสถาบันทางการเงินต่างๆ ดังนั้น ภาครัฐ สถาบันการเงินในประเทศควรมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการด้านการลงทุน เพื่อเอื้อให้อุตสาหกรรมการผลิตหุ่นยนต์ในประเทศไทยมีโอกาสเติบโตเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ ภายใต้แนวคิด อุตสาหกรรม ‘New S – Curve’

นอกจากนี้ ควรกำหนดมาตรการดึงดูดนักลงทุน สำหรับบริษัทออกแบบระบบหุ่นยนต์ หรือ System Integrators โดยยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี ลดหย่อน 50% ซึ่งคาดว่ามาตรการข้างต้นนี้จะเป็นแรงเสริมในการกระตุ้นนักลงทุนให้สามารถพัฒนานวัตกรรม คิดค้นไอเดียใหม่ๆ เพื่อเติบโตเป็นคลัสเตอร์หุ่นยนต์ที่มีคุณภาพและตอบสนองต่อภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศได้อย่างเต็มศักยภาพ

มาตรการสนับสนุนการลงทุน อุตสาหกรรมผลิตหุ่นยนต์ในประเทศไทย

  • จัดตั้งกองทุน Fund of Fund เพื่อลงทุนในธุรกิจร่วมลงทุน (Venture Capital) ในลักษณะจัดตั้งกองทุนร่วมลงทุน (Matching Fund)
  • มาตรการทางการเงิน โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ
  • มาตรการทางภาษี ปรับโครงสร้างอากรขาเข้าชิ้นส่วน / อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ยกเว้นอากรขาเข้ามาทำ R&D / ทดสอบ และหักค่าใช้จ่าย 2 เท่า สำหรับการอบรมบุคลากร

นวัตกรรมภูมิปัญญำไทย ขับเคลื่อนคลัสเตอร์หุ่นยนต์ไทยให้รุ่งเรือง

ทั้งนี้ แก่นหลักของโมเดล Thailand 4.0 คือ การนำความหลากหลายเชิงชีวภาพ และความหลากหลายเชิงวัฒนธรรมมาทำให้เกิดความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน

กลุ่มเครื่องมืออุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม หรือ Smart Devices, Robotics & Mechatronics ก็เป็น 1 ใน 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ต้องนำความหลากหลายเชิงชีวภาพและวัฒนธรรมมาเติมเต็มด้วยวิทยาการ ความคิดสร้างสรรค์ รวมไปถึงนวัตกรรมล้ำสมัย ประเทศไทยจัดเป็นประเทศที่มีความหลากหลาย ทั้งด้านชีวภาพและวัฒนธรรมสูงมาก ดังนั้น สิ่งที่ต้องทำต่อไปในอนาคตเมื่อคลัสเตอร์หุ่นยนต์เกิดขึ้นจริงในประเทศไทยแล้ว คือ การผลิตหุ่นยนต์ที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และภูมิปัญญาไทยมาแปลงเป็นนวัตกรรมที่ไม่เหมือนหุ่นยนต์ในประเทศใดๆ เช่น การผลิตหุ่นยนต์นวดแผนโบราณ การทำโรโบติกส์ เมดิคัล เป็นต้น

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ว่าดีมานด์ในภาคอุตสาหกรรมไทยนั้นมีอยู่ในระดับสูง การเติมเต็มโอกาสให้นักลงทุนไทยทั้งด้านการสนับสนุนทางการเงิน การสร้างแรงจูงใจทางด้านภาษี ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยสร้างโอกาสให้คลัสเตอร์หุ่นยนต์เกิดขึ้นจริง หากทำได้ตามมาตรการดังกล่าว โมเดล Thailand 4.0 จะต้องไปสู่เป้าหมาย ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยมีความมั่นคงมั่งคั่ง และยั่งยืน ดังที่ภาครัฐต้องการให้เกิดได้อย่างแน่นอน

EXECUTIVE SUMMARY

To step into the ‘Thailand 4.0’ model which Thai government want to drive New S – Curve industrial which is robotic industrial age. They believe that robotic industrial will raise Thailand’s economy and change the status of the country from middle income country into high income country instead. By supporting in benefit via fund, joint venture and privilege in tax, for example, tax expense and breakage expense to make the demand of Thai’s manufacturing company in the market. These supporting will encourage the robotic part trading for domestic and keep the massive profit from the foreign manufacturing at last.

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924