Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

ไทยติดหนึ่งใน 10 ประเทศปัญหาสภาพแวดล้อมและมลพิษยอดแย่

ถ้าใครที่ตามข่าวอยู่เสมอ ๆ จะพบว่าโลกเราทุกวันนี้เกิดปัญหาจากสภาพแวดล้อมแปรปรวนมากมาย เช่น จีนน้ำท่วมใหญ่ ลูกเห็บตกในที่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่แยกออกจากกัน อุณหภูมิโลกสูงขึ้น หรือแม้กระทั่งการเกิดขึ้นของโรคใหม่ ๆ ก็ตาม สิ่งเหล่านี้เป็นผลาจากการกระทำของมนุษย์และผลลัพธ์ก็ย้อนมาทำลายมนุษย์เองด้วยเช่นกัน โดยล่าสุดงานวิจัยจาก University of Notre Dame ยืนยันปัญหาสุขภาพมนุษย์นั้นเกี่ยวพันกับปัญหามลพิษในอากาษและสภาพแวดล้อมแปรปรวน ซึ่งประเทศไทยติดกลุ่มแนวหน้าของประเทศที่มีปัญหาด้วยเช่นกัน

เป็นเวลากว่า 30 ที่ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสหประชาชาติให้ความสนใจผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวนต่อมนุษย์ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้นำไปสู่ ‘ความตกลงปารีส (Paris Agreement)’ ภายหลังีรายงานว่าอุณหภูมิโลกสูงขึ้นกว่า 1.5 องศาเซลเซียสหลังยุคอุตสาหกรรม แน่นอนว่า 1.5 องศาเป็นตัวเลขที่น้อยและใครหลายคนอาจไม่คิดอะไร แต่ลองคิดถึงวันที่อุณหภูมิในร่างกายคุณสูงขึ้น 1 องศาสิ นัน่อาจหมายถึงการเจ็บป่วยและการมาถึงของโรคร้ายอะไรได้หลายอย่างเช่นกัน

ในงานวิจัยล่าสุดที่ได้ผสานรวมการประเมินความเสี่ยงของการปลดปล่อยสารพิษ เช่น อนุภาคขนาดเล็ก การปลดปล่อยสารที่ไม่เป็นพิษ เช่น ก๊าซเรือนกระจก และความอ่อนแอของมนุษย์เมื่อเผชิญสิ่งเหล่านี้ พบว่ามีความเกี่ยวข้องกันอย่างเหนียวแน่น โดยสถิติเผยให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายเชิงพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญของปัญหาด้านสภาพแวดล้อมและมลพิษ ถ้าอธิบายง่าย ๆ คือ ประเทศที่มีปัญหาความเสี่ยด้านภูมิอากาศแปรปรวนสูงจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหามลพิษในระดับสูงด้วยเช่นกัน

ทีมวิจัยได้ตรวจสอบตัวแปรที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์การกรัจายเชิงพื้นที่ของสิ่งแวดล้มที่เป็นพิษ อัตราการเสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งเกี่ยวข้องกับมลภาวะและความเสี่ยของภูมิอากาศแปรปรวนซึ่งปัจจัยเหล่านี้เกี่ยวพันกันอย่างแน่นแฟ้น

จากเอกสารรายงาน ‘Global distribution and coincidence of pollution, climate impacts, and health risk in the Anthropocene’ เผยให้เห็นความเกี่ยวกพันดังกล่าวผ่านข้อมูลและบทวิเคราะห์เพื่อสนับสนุนให้เกิดนโยบายที่ยังขาดแคลน โดยข้อมูลดดัชนีที่ใช้นั้นมาจาก 3 กลุ่ม ได้แก่ ND-GAIN, EPI และ GAHP

เพื่อให้ผลลัพธ์นั้นก้าวนำสิ่งที่เกิดขึ้นและเอื้อต่อการกำหนดนโยบาย ผู้เขียนกำหนดสิ่งที่เรียกว่า ‘เป้าหมาย’ เพื่อใช้วัดความเสี่ยงผลกระทบด้านสภาพแวดล้อม มลภาวะ และความพร้อมในการรับมือของแต่ละประเทศ โดย 10 ประเทศที่ถูกจัดลำดับว่าต้องให้ความสำคัญในประเด็นเหล่านี้อย่างเร่งด่วน ได้แก่ สิงคโปร์, รวันดา, จีน, อินเดีย, หมู่เกาะโซโลมอน, ภูฏาน, บอตสวานา, จอร์เจีย, เกาหลีใต้และไทย ในขณะที่ประเทศที่ถูกจัดอันดับไว้ท้ายตาราง ได้แก่ อิเควทอเรียลกินี, อิรัก, จอร์แดน, สาธารณรัฐแอฟริกากลางและเวเนซุเอลา รายงานนี้ทำให้เห็นข้อบกพร่องขอนโยบายและธรรมาภิบาลของแต่ละประเทศที่เกดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมได้อย่างชัดเจน

รายงานยังชี้ให้เห็นว่า 1 ใน 3 สามของประเทศที่มีความเสี่ยงด้านมลภาวะและปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนนั้นมีสัดส่วนประชากรมากกว่า 2 ใน 3 ของโลก ทำให้ดึงดูดปัญหาและเกิดการแพร่กระจายของความเสี่ยงด้านสภาพแวดล้อมอย่างไม่เท่าเทียม เมื่อประเทศส่วนใหญ่มีมลภาวะในระดับสูงและอยู่ใต้ความเสี่ยงผลกระทบจากสภาพแวดล้อมแปรปรวน การทำความเข้าใจว่าปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นจากไหนและจะต้องแก้ไขอย่างไรเป็นสิ่งสำคัญในการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ได้อย่างเต็มศักยภาพมากขึ้น

ผู้เขียนยังแนะนำว่านโยบายที่ดีหากเกิดขึ้นในประเทศใหญ่อย่างจีนและอินเดียแล้วประเทศเพื่อนบ้านก็จะได้รับผลกระทบที่ดีด้วยเช่นกัน โดยนโยบายด้านมลภาวะในอากาศ การป้องกันและแผนการควบคุมที่คลอดออกมาในปี 2013 นั้นสร้างความแตกต่างได้อย่างน่าประทับใจ โดยทีมวิจัยพบว่าการปลดปล่อยสารพิษนั้นลดลง 40% ตั้งแต่นโยบายเริ่มบังคับใช้เป็นต้นมา

การตั้งเป้าหมายของทีมวิจัยนั้นเป็นการเน้นว่ากิจกรรมใดที่ดำเนินการแล้วสามารถลดความเสีย่งต่อสุขภาพของมนุษย์ได้ รวมถึงจะพิชิตเป้าหมายนั้นได้อย่างไร อาทิ การให้ผลตอบแทนและการลงโทษเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต้องสะท้อนให้เห็นถึงคุณธรรมจรรยาเพื่อให้รู้ว่าสิ่งใดควรทำและใครควรดำเนินการเรื่องดังกล่าว

ที่มา:
News.nd.eu

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
ไทยเร่งเดินหน้าส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาฝุ่นพิษ สร้างคุณภาพอากาศที่สะอาดกว่าเดิม
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924