นักวิจัยจาก MIT ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่สามารถแสดงผลภาพความละเอียดสูงได้ในรูปแบบ Real-time ด้วยขนาดที่เล็ก มีราคาถูก และมีความทนทานในระดับสูงกว่าอุปกรณ์ประเภทเดียวกันอีกด้วย
นักวิจัยได้สร้างเครื่องมือที่ทำให้สามารถควบคุมทิศทางและความเข้มลำแสงได้ด้วยกระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งลำแสงพลังงาน Terehertz Electronagnetic ที่ถูกควบคุมนัน้จะมีความแม่นยำอย่างมาก เปิดประตูสู่การใช้งานอุปกรณ์สร้างภาพความละเอียดสูงในรูปแบบ Real-time ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าระบบเรดาห์และทนทานกว่าระบบออปติคัลอื่น ๆ
คลื่น Terahertz นั้นเป็น Electromagnetic Spectrum ที่อยู่ระหว่างไมโครเวฟและแสงอินฟาเรด ซึ่งอาจเรียกว่าไม่ใช่อิเล็กทรอนิกส์แบบคลาสสิก หรืออุปกรณ์ออปติคัลที่สามารถจัดการพลังงานได้ แต่คลื่นวิทยุความถี่สูงนี้มีคุณสมบัติเฉพาะตัวหลากหลายประการ เช่น สามารถทะลุผ่านของแข็งบางชนิดได้ด้วยคุณสมบัติของรังสีเอ็กซ์ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อสารได้ในความเร็วที่สูงกว่า หรือแม้กระทั่งระบบภาพที่สามารถมองเห็นได้ผ่านสภาพแวดล้อมที่มีหมอกหรือฝุ่น
ส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์นี้ คือ Reflectarray ซึ่งเป็นเสารับสัญญาณ ทำหน้าที่เหมือนกระจกที่ควบคุมได้เพื่อกำหนดทิศทางการสะท้อนที่จะเกิดขึ้น ซึ่ง Reflectarray จะประกอบไปด้วยเสาสัญญาณกว่าหมื่นชิ้นทำหน้าที่สะท้อนพลังงานโดยไม่มีชิ้นส่วนใดที่ขยับเลย ทั้งหมดนี้สร้างขึ้นมาจากชิปเซมิคอนดักเตอร์และนวัตกรรมการผลิตที่เป็นเทคนิคเฉพาะ
นักวิจัยได้แสดงตัวอย่างภาพ 3 มิติของสถานที่ขึ้นมาโดยถูกสร้างขึ้นมาคล้ายกับเทคโนโลยี LiDAR แต่ด้วย Reflectarray ที่ใช้คลื่น Terahertz แทนแสง ทำให้สามารถใช้งานได้เป็นอย่างดีในขณะฝนตก หมอกลงหรือหิมะตก
ที่มา:
News.mit.edu
เนื้อหาที่น่าสนใจ:
TSMC ปรับราคาเวเฟอร์สำหรับผลิตชิปขึ้นอีก 20%