Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

การเข้ารหัสด้วย Tag of Everything สามารถป้องกัน Supply Chain ได้

ชิประบุตัวตน (ID Chip) ขนาดเล็กรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่สามารถใช้งานได้เกือบทุกผลิตภัณฑ์สามารถต่อสู้กับการปลอมแปลงสินค้าได้

ที่มาภาพ: ลิขสิทธิ์ของทีมวิจัยถูกตกแต่งโดย MIT News
ที่มาภาพ: ลิขสิทธิ์ของทีมวิจัยถูกตกแต่งโดย MIT News

ปัจจุบันสินค้าเถื่อนหรือสินค้าที่ถูกปลอมแปลงสร้างปัญหาให้กับธุรกิจได้มากกว่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นักวิจัยจาก MIT จึงได้พัฒนา Cryptographic ID Tag ที่มีขนาดเล็กพอที่จะใส่ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อยืนยันความถูกต้องของสินค้าแท้

ในปี 2018 รายงานจาก The Organization for Economic Co-operation and Development ประเมิณมูลค่าจากสินค้าปลอมแปลงว่ามีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เกิดขึ้นทั่วโลกในปี 2020 ซึ่งเป็นข่าวร้ายสำหรับผู้บริโภคและบริษัทผู้ประกอบการซึ่งสั่งซื้อชิ้นส่วนจากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลกเพื่อทำการผลิต

สินค้าปลอมแปลงมีเส้นทางและเงื่อนไขที่ซับซ้อนทำให้เป็นเรื่องยากที่จะสามารถพิสูจน์ถึงที่มาและความถูกต้อง ในท้ายที่สุดบริษัทอาจได้ชิ้นส่วนลอกเลียนแบบมาแทน ID Tag แบบไร้สายนั้นได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่องสำหรับการพิสูจน์คุณสมบัติชิ้นส่วนในขณะที่มีการส่งต่อชิ้นส่วนในแต่ละขั้นตอนแต่ด้วย Tag เดิมนั้นมีเงื่อนไขการใช้ที่หลากหลาย ไม่ว่าขนาด พลังงาน ต้นทุน ทำให้คุณสมบัติเหล่านี้มีข้อจำกัด

การใช้งาน RFID ส่วนมากจะมีขนาดที่ใหญ่เกินกว่าชิ้นส่วนขนาดเล็ก เช่น อุปกรณ์การแพทย์หรือชิ้นส่วนในงานอุตสาหกรรม หรือชิปซิลิคอน นอกจากนี้ RFID มีระบบป้องกันความปลอดภัยที่ไม่แข็งแรงนัก Tag บางรุ่นอาจถูกสร้างขึ้นมาด้วยการเข้ารหัสเพื่อป้องกันการถูกทำซ้ำแต่อุปกรณ์เหล่านี้นั้นมักจะมีขนาดใหญ่และใช้พลังงานเยอะ

เอกสารจาก IEEE Internation Solid-State Circuits Congerence (ISSCC) เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ID Chip ที่สามารถบรรจุข้อมูลได้หลากหลาย มีขนาดอยู่ในระดับมิลลิเมตร ใช้พลังงานที่มาจาก Photoviltaic Diodes ซึ่งเป็นพลังงานจำนวนน้อยนิด ทั้งยังสามารถส่งข้อมูลได้ในระยะไกลใช้เทคนิคที่ไม่ต้องการพลังงานอย่าง Backscatter ซึ่งทำงานที่คลื่นความถี่ที่สูงกว่า RFID มี Algorithm ทำให้สามารถใช้งานรูปแบบการเข้ารหัสที่รับประกันความปลอดภัยในการสื่อสารได้เป็นอย่างดีแม้ใช้พลังงานต่ำ

นักวิจัยยังคงพัฒนาและตั้งเป้าผลักดันให้การส่งสัญญาณทำได้ไกลยิ่งขึ้นและมีสัญญาณในระดับ Terahertz เพื่อทำให้ไมาต้องใช้ Photodiode และด้วยการที่ชิปมีต้นทุนที่ต่ำ ผลิตง่าย และมีขนาดเล็กมันจึงสามารถฝังตัวลงในซิลิคอนคอมพิวเตอร์ชิปที่มีขนาดใหญ่กว่าได้ ซึ่งใช้ได้ดีในการตรวจสอบสินค้าปลอมแปลง

ที่มา:
News.mit.edu

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924