Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

การจัดการซัพพลายเชนเพื่อเพิ่มผลิตภาพในโรงงานอุตสาหกรรม

โลจิสติกส์เป็นระบบเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการซัพพลายเชน ที่วางแผนปฏิบัติและควบคุมการไหลและการจัดเก็บของสินค้าและบริการอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลจากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดบรรลุถึงความต้องการของลูกค้าจึงมีแนวพิจารณามากกว่าการขนส่งยังเป็นเรื่องของการเคลื่อนย้ายหรือการไหลของวัตถุดิบ ข้อมูลตั้งแต่เป็นวัตถุดิบจนเป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยมีการประสานแต่ละขั้นตอนการดำเนินงานและมีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับซัพพลายเชนระบบองค์ความรู้ด้านการพัฒนาองค์กรสมัยใหม่ จึงต้องปรับตัวและหันมายังทฤษฎีการบริหารแนวใหม่ ที่ยึดการบริหารแบบแนวร่วม ก่อให้เกิดความคิดที่เรียกว่า การจัดการซัพพลายเชน Supply Chain Management (SCM) และการสร้างประสานสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งเน้นความสัมพันธ์กับลูกค้าหรือที่เรียกว่า CRM – Customer Relation Management โดยการพยายามปรับตัวพัฒนาระบบและรูปแบบในการดำเนินงานและการดำเนินธุรกิจเพื่อให้สามารถแข่งขันกับภาคธุรกิจที่สำคัญได้ในระดับโลก

การจัดการซัพพลายเชนเพื่อเพิ่มผลิตภาพ

ระบบที่ดีจึงต้องเปลี่ยนจุดสนใจใหม่ เดิมใช้ทฤษฎีว่าด้วยตนเองและให้ความสำคัญกับตัวเอง เช่น ตัวเลข งบดุล กำไรขาดทุน แต่ในปัจจุบันต้องสนใจเรื่อง สายใย Chain และให้ความสำคัญกับเวลามากกว่าตัวเลข โดยเน้นให้การดำเนินการร่วมกันที่มีประสิทธิภาพเชิงเวลา

ในห่วงโซ่อุปทานนั้น ข้อมูลต่างๆ จะมีการแชร์หรือแจ้งและแบ่งสรรให้ทุกแผนก/ทุกหน่วยงานในระบบรับทราบและใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น ในการประกอบรถยนต์หนึ่งคัน แผนกจัดซื้อ จะซื้อวัตถุดิบ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์ น้ำมันเครื่อง แบตเตอรี่ ยางรถยนต์ ฯลฯ อุปกรณ์ดังกล่าวจะเก็บไว้ในคลังสินค้า เพื่อรอฝ่ายการผลิตรถยนต์นำไปผลิตรถยนต์ตามที่ต้องการ และถ้าองค์กรนี้มีระบบการจัดการซัพพลายเชนที่ดี แผนกต่างๆ มีการแชร์หรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันจะทำให้การสั่งซื้อวัตถุดิบเป็นไปด้วยความถูกต้องและเป็นระบบ

การจัดการซัพพลายเชนเพื่อเพิ่มผลิตภาพ

การจัดการห่วงโซ่อุปทาน หรือ การจัดการซัพพลายเชน เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจะต้องให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งในการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ปัจจุบัน การจัดการห่วงโซ่อุปทานเป็นการจัดลำดับของกระบวนการทั้งหมดที่มีต่อการสร้างความพอใจให้กับลูกค้า โดยเริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการจัดซื้อ (Procurement) การผลิต (Manufacturing) การจัดเก็บ (Storage) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) การจัดจำหน่าย (Distribution) และการขนส่ง (Transportation) ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้จะจัดระบบให้ประสานกันอย่างคล่องตัว

ในการทำงานของกระบวนการ SCM ทั้งหมด ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำเป็นต้องเข้าใจหลักการพื้นฐานสำคัญที่อยู่เบื้องหลังแนวคิดเรื่อง SCM เสียก่อน ผู้บริหารธุรกิจจำเป็นต้องจัดเตรียมกระบวนทัศน์เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ทันต่อเหตุการณ์และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นและทั้งหมดนี้จะสะท้อนภาพออกมาในแง่ของกระบวนการ SCM ที่ก่อประโยชน์ได้ผลที่สุด

การจัดการซัพพลายเชนเพื่อเพิ่มผลิตภาพ

จัดการซัพพลายเชนเพื่อเพิ่มผลิตภาพโรงงานอุตสาหกรม อย่างไร

1. เกิดการบูรณาการข้อมูลในองค์กร คือ การจัดการซัพพลายเชนจะเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลการทำงานระหว่างกัน โดยการนำข้อมูลที่ไหลผ่านระบบซัพพลายเชนมาเปิดเผย แลกเปลี่ยนให้รับรู้ภายในกลุ่มคนที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลการขาย ข้อมูลการผลิต ข้อมูลสินค้าคงคลังการตลาด และการขนส่งสินค้า

ข้อมูลรายละเอียด
การขาย–  โครงสร้างทีมงานขายประกอบด้วยผู้จัดการฝ่ายขายดูแลการขายดูแลลูกค้า ออกงานแสดงสินค้ากำหนดราคาขาย เงื่อนไขการขายต่างๆ ตัดสินใจในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับการตลาด
–  เจ้าหน้าที่การตลาด ติดต่อประสานงานระหว่างลูกค้า และ โรงงานดูแลออเดอร์ให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ให้ไว้กับลูกค้า
–  สัดส่วนยอดขาย
–  ช่องทางการจัดจำหน่าย
–  การส่งเสริมการตลาด
–  ส่วนผสมทางการตลาด4P’s
–  ตลาดเป้าหมาย (Target Market)
การผลิต–  รูปแบบกระบวนการผลิต
–  ระบบการผลิต
–  เทคโนโลยีการผลิต
–  นโยบาย และ เป้าหมายดำเนินงานผลิต
–  กำลังการผลิต
–  ประสิทธิภาพการผลิต
สินค้าคงคลัง–  วัตถุดิบในสต๊อก
–  การวางแผนการจัดเตรียมวัตถุดิบยัง
–  ควบคุมสต็อก
การขนส่งสินค้า–  ระบบการส่งมอบสินค้า
–  LEAD TIME

จากข้อมูลดังกล่าว เมื่อนำข้อมูลการขาย ข้อมูลการผลิต ข้อมูลสินค้าคงคลังการตลาด และการขนส่งสินค้าให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องในแต่ละข้อมูลก็จะทำให้การดำเนินการในแต่ละด้านเกิดความคล่องตัว สามารถลื่นไหลไปตามระบบ SCM เกิดการเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานเพิ่มผลิตภาพขององค์กรได้

2. สร้างความร่วมมือกัน การจัดการซัพพลายเชน ครอบคลุมความร่วมมือของคนในองค์กรและนอกองค์กรเพื่อที่จะมอบหมายงานให้กับผู้ที่ทำหน้าที่ได้ดีที่สุดภายในกระบวนการ เช่น

  • ผู้ผลิตร่วมมือกับผู้จัดจำหน่ายของบริษัท ในการวางแผนการผลิตในอนาคต
  • กิจการร้านค้าปลีกก็อาจจะให้ซัพพลายเออร์ได้เข้ามาบริหารสินค้าคงคลัง (Vendor Managed Inventory – VMI) หรือเติมเต็มสินค้าอย่างต่อเนื่อง (Continuous Replenishment Program – CRP)

จะเห็นได้ว่าความร่วมมือลักษณะนี้ เป็นการปฏิวัติแนวคิดจากเดิมที่ต่างคนต่างใช้ทรัพยากรของตัวเอง แต่แนวคิดใหม่นี้จะนำทรัพยากรต่างๆ มาใช้ประโยชน์ร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน และเพิ่มผลิตภาพขององค์กรได้

3. เกิดการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร การจัดการซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพ ไม่เพียงแต่เน้นการเชื่อมโยงข้อมูลภายในองค์กร แต่ต้องสามารถเชื่อมโยงการทำงานระหว่างกันภายนอกองค์กร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีระบบที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่ถูกต้อง ครบถ้วน และรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้กระบวนการ SCM สมบูรณ์ขึ้น

การจัดการซัพพลายเชนเพื่อเพิ่มผลิตภาพ

ปัจจุบันการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร การจัดการซัพพลายเชนจะมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ เช่น EDI (Electronic Data Interchange) และการติดต่อสื่อสารผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต คือ ตัวอย่างหนึ่งของทางด่วนสารสนเทศที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันและได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปถึงศักยภาพในการเติบโตเป็นชุมชนขนาดใหญ่ ซึ่งการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์นับล้านระบบและมีผู้ใช้หลายสิบล้านคน เทียบประชากรอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้ กับประชากรของประเทศไทยทั้งประเทศ และที่สำคัญก็คือรายได้เฉลี่ยของประชากรอินเทอร์เน็ตจะสูงกว่ารายได้เฉลี่ยของประชากรประเทศใดๆ ในโลกอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายของเครือข่าย (Network of Network) ซึ่งสื่อสารกันได้โดยใช้โปรโตคอลแบบทีซีพี/ไอพี (TCP/IP) ทำให้คอมพิวเตอร์ต่างชนิดกันเมื่อนำมาใช้ในเครือข่ายแล้วสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI)

ระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) เป็นระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลเอกสารทางธุรกิจ ระหว่างคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าฝ่ายหนึ่งกับคอมพิวเตอร์ของผู้ค้าอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น จากผู้ค้าปลีกไปยังผู้เสนอขายสินค้าหรือจากผู้เสนอขายสินค้าไปยังผู้ค้าปลีกในรูปแบบที่กำหนดเป็นมาตรฐานสากล เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่าย มีความสอดคล้องกัน เอกสารทางธุรกิจ เช่น ใบสั่งซื้อ ใบกำกับสินค้า ใบส่งของ ฯลฯ ทุกธุรกิจที่มีการใช้เอกสารจำนวนมากและเป็นประจำโดยมีขั้นตอนซ้ำๆ แต่ต้องการความถูกต้องรวดเร็วและแม่นยำของข้อมูล เช่นธุรกิจค้าส่งและค้าปลีก ที่ต้องมีการสั่งซื้อสินค้าเป็นประจำ ธุรกิจขนส่งซึ่งต้องใช้ข้อมูลประกอบในการจัดการ ขนส่งสินค้า ธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตสินค้าที่ต้องสั่งซื้อวัตถุดิบและธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เป็นต้น

ข้อดีของระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI)

  1. ช่วยลดข้อผิดพลาดของข้อมูล ปกติแล้วการป้อนข้อมูลเข้าระบบ มักจะมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่เมื่อนำระบบ EDI มาใช้สามารถทำให้ลดข้อผิดพลาดลงได้
  2. ช่วยลดงบประมาณ ในเรื่องของเอกสารและค่าจัดส่ง เช่น ค่าแสตมป์ ค่าพัสดุไปรษณีย์ และพนักงาน รวมถึงค่าจัดส่งที่ส่งผิด และการปฏิบัติงานที่ซ้ำซ้อนขององค์กร เนื่องจากได้รับข้อมูลที่ผิดพลาด ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับองค์กร ถ้านำระบบ EDI มาใช้จะช่วยลดความผิดพลาดและทำให้ลดต้นทุนในส่วนของความผิดพลาดนั้นลดลง
  3. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เนื่องจากบริษัทสามารถจัดการกับเอกสารธุรกิจได้ถูกต้องในเวลาอันรวดเร็วก็ทำให้องค์กรสามารถลดต้นทุนที่เกิดจากความผิดพลาด หรือต้นทุนที่เกิดจากสินค้าคงคลัง และเกิดความได้เปรียบจากการดำเนินงานที่รวดเร็วเพราะทำให้องค์กรจะไม่ต้องพบกับปัญหาในเรื่องสินค้าขาดสต็อกในร้านค้าปลีก
  4. ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน ด้วยการผสมผสานกันระหว่างข้อดีของการช่วยลดงบประมาณ และลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่ดีที่มีอยู่ชนิดเดียวในเวลานี้ มีความเป็นไปได้ที่องค์กรระหว่างประเทศจะเน้นการนำเอาระบบ EDI มาใช้ในการติดต่อระหว่างบริษัทในเครือสมาชิก ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทซึ่งเป็นผู้แข่งขันสามารถที่จะมีกระบวนการเทคโนโลยีที่สอดรับกับผลิตภัณฑ์ และนอกจากนั้น ยังเป็นการเสนอการบริการที่ดีให้กับลูกค้าด้วย
  5. เพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า ซึ่งเมื่อเกิดความผิดพลาดทั้ง 2 ฝ่าย มักจะโต้เถียงกันว่าใครเป็นฝ่ายผิด
    และทำให้เกิดความสูญเสียทั้ง 2 ฝ่าย

วอล์มาร์ทกับการจัดการซัพพลายเชน 

Wal-Mart ถือเป็นตัวอย่างในเรื่องการประสบความสำเร็จในการลดต้นทุนสินค้าที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้มาซึ่งการบรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัท คือ ‘Always Low Prices’ Wal-Mart ทำทุกวิถีทางเพื่อลดต้นทุนที่เกินความจำเป็น มีการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศค่อนข้างสูง ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในทุกกระบวนการขององค์กร เพื่อประหยัดเวลา แรงงาน และการใช้ รัพยากรให้มากที่สุด อันจะทำให้สามารถลดต้นทุนสินค้าตลอดจนราคาสินค้าลงได้ จึงทำให้ Wal-Mart เป็นผู้นำด้านราคาในธุรกิจ Retailing Store ได้

การจัดหาสินค้าเพื่อจำหน่าย Wal-Mart ใช้ระบบ VMI (Vendor-Managed Inventory) คือ Wal-Mart ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ตัดสินใจในการจัดหาสินค้าอีกต่อไป แต่เป็นหน้าที่ของ Supplier หรือผู้ผลิตสินค้าให้กับ Wal-Mart ต้องตัดสินใจว่า เมื่อใดจึงควรจะจัดส่งสินค้าที่ศูนย์กระจายสินค้า ปริมาณเท่าไร และส่งสินค้าอะไรบ้าง ซึ่งระบบ Retail Link จะเชื่อมข้อมูลยอดขายและสินค้าคงคลังไปยังคู่ค้าทั้งหมดของ Wal-Mart เพื่อให้คู่ค้าสามารถดูข้อมูลสินค้าของตนเองได้ จะได้วางแผนการผลิตให้เหมาะสม ทันเวลา และตรงความต้องการของลูกค้าและบริษัท

การจัดส่งสินค้า Wal-Mart มีศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่ กระจายอยู่ตามจุดต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้การขนส่งสินค้าสะดวกขึ้น โดย Supplier หรือผู้ผลิตจะทำการขนส่งสินค้ามาที่ศูนย์กระจายสินค้าที่ใกล้ที่สุด ซึ่งการขนส่งใน 1 เที่ยวนั้น จะมีสินค้าทั้งหมดที่ต้องส่งไปยังสาขาต่างๆ จากนั้นทางศูนย์ฯ จะทำการแยกสินค้าที่รับมาเพื่อจัดส่งต่อไป

การเชื่อมโยงระบบ ทั้งในส่วนที่ติดต่อภายใน และที่ต้องติดต่อกับ Supplier หรือผู้ผลิตนั้น Wal-Mart ใช้การติดต่อผ่านระบบดาวเทียมส่วนตัว เพื่อลดเวลาในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายการสื่อสาร

นโยบายการจัดหาสินค้าเข้ามาจำหน่าย จะเน้นการลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เพื่อหาสินค้าเข้าร้านไม่มีค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงรับรองผู้ผลิต และ Supplier การตกลงซื้อขายกับผู้ผลิตที่ต้นทาง

นอกจากนี้ ยังมีการนำระบบควบคุมสินค้าคงคลังผ่านทางเทคโนโลยีดาวเทียม ชื่อว่า ‘ระบบ VSAT’ (Very Small Aperture Terminal)


EXECUTIVE SUMMARY

Supply Chain Management (SCM) is a tool that industrial entrepreneurs should pay serious attention. Earlier, most entrepreneurs would use self-principle and pay attention by their own such as number, balance sheet and profit & loss, but now they need to pay attention to Chain and Time rather than the number by emphasizing on time efficiency based collaboration.

Supply Chain is management and networking system among suppliers, manufacturers and distributors in order to deliver products or services to customers by linking all data, material, product & service, capital fund as well as delivery systems up together in order to enhance delivery efficiency and deliver product on time and demand. Thus, SCM is considered as efficiency development tool to increase productivity to organization.

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924