Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

การแพทย์ต่างประเทศพัฒนาการตรวจวัดชีพจรด้วยหุ่นยนต์

วิกฤติ COVID-19 ที่ระบาดกันอยู่ในปัจจุบันนั้นถือเป็นความเสี่ยงที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ให้การรักษาเช่นกัน นักวิจัยจาก MIT จึงได้จับมือกับ Boston Dynamics และโรงพยาบาล Brigham and Woman พัฒนาหุ่นยนต์ที่ช่วยตรวจวัดชีพจรเพื่อลดความเสี่ยงให้กับบุคลากรทางการแพทย์

หุ่นยนต์วัดชีพจร

หุ่นยนต์ที่ใช้ คือ Spot หุ่นยนต์ 4 ขาจาก Boston Dynamics ที่สามารถควบคุมด้วยอุปกรณ์มือถือ ทำให้สามารถถือแท็บเบล็ตเพื่อทำการซักประวัติคนไข้โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเดียวกัน

ด้วยการติดตั้งกล้องบน Spot นักวิจัยแสดงให้เห็นว่าหุ่นยนต์กับกล้องสามารถตรวจวัดอุณหภูมิที่ผิวหนังได้ รวมถึงอัตราการหายใจ การเต้นของหัวใจ และความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดสำหรับผู้เข้ารับการรักษาที่มีสุขภาพแข็งแรงด้วยระยะห่าง 2 เมตร โดยมีการวางแผนเพื่อจะใช้งานกับผู้ป่วย COVID-19 ในอนาคต

การตรวจวัดนี้เป็นการใช้ประโยชน์จาก Machine Vision ในการตรวจจับค่าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของผู้เข้ารับการรักษา โดยใช้งานกล้องอินฟาเรดและกล้อง Monochrome 3 ตัวที่มีการกรองช่วงคลื่นแสงที่แตกต่างกัน

กล้องอินฟาเรดเมื่อใช้กับ Algorithm ที่ออกแบบมาเฉพาะทำให้สามารถตรวจวัดอุณหภูมิที่ผิวหนังและอัตราการหายใจได้ สำหรัยบการตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายกล้องจะทำการตรวจวัดอุณหภูมิของผิวหน้งบนใบหน้าและจะปรับเทียบให้ตรงกับอุณภูมิของร่างกายอีกทีหนึ่ง โดย Algorithm นี้ยังสามารถตรวจวัดอุณหภูมิของสภาพแวดล้อมและระยะห่างระหว่างกล้องและผู้เข้ารับการรักษาได้ ทำให้การตรวจวัดสามารถทำได้ที่ระยะห่างที่หลากหลายภายใต้ภูมิอากาศที่แตกต่างกันออกไปแต่ยังสามารถตรวจวัดได้อย่างแม่นยำ

การตรวจวัดด้วยกล้องอินฟาเรดนั้นสามารถใช้คำนวณอัตราการหายใจของผู้เข้ารับการรักษาได้อีกด้วย เมื่อผู้เข้ารับการรักษาทำการหายใจเข้าและออก เมื่อมีการใส่หน้ากากกล้องจะตรวจจับอุณหภูมิที่เปลี่ยนไปของหน้ากาก การจับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นเองทำให้นักวิจัยสามารถคำนวณความถี่การหายใจได้

สำหรับกล้อง Monochrome แต่ละตัวนั้นสามารถตรวจจับคลื่นของแสงได้ระหว่าง 670, 810 และ 880 นาโนเมตร ซึ่งความยาวคลื่นเหล่านี้ทำให้นักวิจัยสามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของแสงสีเพียงน้อยนิดที่เกิดขึ้นเมื่อฮีโมโกลบินในเลือดเกิดพันธะกับออกซิเจนและไหลผ่านหลอดเลือด Algorithm จะทำการคำนวณทั้งอัตราการหายใจและความเข้มข้นของออกซิเจน

ที่มา:
News.mit.edu

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924