ไม่ว่าจะที่ไหนและเมื่อไหร่เครื่องยนต์ดีเซลดูเหมือนจะเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ซึ่งในกรณีของการขนส่งทางเรือนั้นใช้เครื่องยนต์ดีเซล์ขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในสัดส่วนที่ไม่น้อยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ Logistics เฟื่องฟูเช่นนี้
การปลดปล่อยมลพิษจากการขนส่งสินค้าทางเรือทั่วโลกนั้นคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 3% ของผลกระทบจากการปลดปล่อยสารเรือนกระจกของมนุษย์ และอาจเพิ่มขึ้นเป็น 50% ในปี 2050 การหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพิจารณาจะช่วยลดปัญหาด้านสภาพแวดล้อมที่กำลังเกิดขึ้นได้
การขนส่งทางเรือนั้นปลดปล่อยมลภาวะหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะฝุ่นผง อนุภาคไนโตรเจนและซัลเฟอร์ออกไซด์ ซึ่งส่วนประกอบเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพระดับโลกเนื่องจากเป็นการลดคุณภาพของอากาศที่หายใจเข้าไป ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือการเสียชีวิตก่อนวัยที่เพิ่มขึ้น
มลภาวะในการขนส่งทางเรือนั้นเกิดขึ้นจากเครื่องยนต์หนักที่ใช้น้ำมันดีเซลในการเผาไหม้ซึ่งถูกปลดปล่อยในอากาศบริเวณชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะ PM2.5 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบหายใจโดยตรง มีผลการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ระบุว่า PM2.5 จากการขนส่งทางเรือนั้นก่อให้เกิดโรคเลือดและทางเดินหายใจรวมถึงะเร็งปอดที่มีคนเสียชีวิตแล้วกว่า 60,000 คนต่อปี การกำหนดนโยบายสากลสำหรับซัลเฟอร์ที่อยู่ในเชื้อเพลิงไว้ให้ไม่เกิน 0.5% จะลดความเข้มข้นของ PM2.5 ได้และส่งผลให้ลดการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรได้ถึง 34%
ที่มา:
News.mit.edu
เนื้อหาที่น่าสนใจ:
ไทยติดหนึ่งใน 10 ประเทศปัญหาสภาพแวดล้อมและมลพิษยอดแย่