Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

‘คลังสินค้ากึ่งอัตโนมัติ’ คำตอบสำหรับความท้าทายและการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วในธุรกิจโลจิสติกส์ยุค COVID-19

คลังสินค้าในปัจจุบันต้องรองรับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ปริมาณงานเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลจากผลกระทบของ COVID-19 เทคโนโลยีอัตโนมัติจึงเป็นส่วนสำคัญที่เข้ามาสนับสนุนการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคลังสินค้ากึ่งอัตโนมัติที่นำเอาจุดเด่นของเทคโนโลยีมาผสมผสานรวมกับความยืดหยุ่นในการทำงานของแรงงาน

ในช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของธุรกิจโลจิสติกส์และคลังสินค้านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ของ COVID-19 ทำให้ธุรกิจ E-Commerce ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ผู้ผลิตหลายรายมีการส่งสินค้าโดยตรงจากคลังสินค้าโดยไม่ผ่านคนกลาง และธุรกิจบริการขนส่งสินค้าได้กลายเป็นตลาดที่เติบโตไวที่สุดในช่วงเวลาเหล่านี้

แม้ว่าการเติบโตของคลังสินค้าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและมีความต้องการสูง แต่ด้วยข้อจำกัดที่สำคัญ 3 ประการ ได้แก่ พื้นที่, เงินลงทุน และเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด ‘การจำกัดคนในพื้นที่’ เพื่อป้องกันการระบาดของ COVID-19 เทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเดินทางต่อไปของธุรกิจด้านอุตสาหกรรมและคลังสินค้าในปัจจุบัน

คลังสินค้ากึ่งอัตโนมัติ เพิ่มความปลอดภัยและยกระดับ Productivity

 เมื่อหยิบยกเรื่องของระบบอัตโนมัติขึ้นมา หลายคนอาจจะนึกถึงโรงงานไร้มนุษย์ หรือโรงงานที่เป็นระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบที่ล้ำสมัย สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้เมื่อมีเงื่อนไขและเงินทุนที่ลงตัวกับความต้องการ ในทางปฏิบัติแล้วเมื่อพิจารณาปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ สำหรับส่วนของคลังสินค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง SMEs ในประเทศไทย การก้าวไปสู่ระบบอัตโนมัติเต็มรูปแบบอาจจะเป็นสิ่งที่สร้างภาระให้กับธุรกิจได้มากกว่า ทั้งในเรื่องสภาพคล่องทางการเงินจากการลงทุนและดูแลรักษา การฝึกอบรมทักษะที่เหมาะสม ไปจนถึงความคุ้มค่าเมื่อเทียบกับปริมาณงานที่เกิดขึ้น ทางเลือกที่น่าสนใจกว่า คือ คลังสินค้ากึ่งอัตโนมัติ (Semi-automated Warehouse)

คลังสินค้ากึ่งอัตโนมัตินั้นเรียกได้ว่าเป็นการสนับสนุนการทำงานเดิมที่มีแรงงานเป็นส่วนประกอบให้เกิดประสิทธิภาพที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ขึ้นมา ด้วยการลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากแรงงาน (Human Error) ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลในการบริหารจัดการที่ทำงานรวมกับเซนเซอร์ต่าง ๆ ในการติดตามข้อมูล ตำแหน่งสินค้า เพื่อให้สายพานอัตโนมัติหรือระบบ Racking อัจฉริยะหรือหุ่นยนต์ สามารถดำเนินการกับสินค้าได้อย่างเหมาะสม ในขณะที่แรงงานสามารถเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเหล่านั้นได้ อาทิ การควบคุมเครื่องจักรอย่างรถ Forklift การจัดวางพาเลท ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าความต้องการหรือเงื่อนไขของคลังสินค้านั้น ๆ เป็นอย่างไร โดยจุดเด่นในการใช้งานคลังสินค้ากึ่งอัตโนมัติสามารถระบุได้เบื้องต้น 5 ประเด็น ดังนี้

1. ลดต้นทุนในการบริหารจัดการ – คลังสินค้ากึ่งอัตโนมัติทำให้สามารถควบคุมต้นทุนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยระบบดิจิทัลที่สร้างความโปร่งใสให้กับการบริหารจัดการ และยังสามารถลดต้นทุนสำหรับการจ้างแรงงานลงได้อีกด้วย

2. เพิ่ม Productivity – เมื่อระบบโปร่งใส การวางแผนการทำงานและการประเมินต่าง ๆ จึงสามารถทำได้ดียิ่งขึ้น ปัญหาที่มีจึงสามารถถูกตรวจจับและแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่แรงงานก็สามารถทำงานได้ดียิ่งขึ้นเนื่องจากระบบลดภาระต่าง ๆ ที่ไม่เหมาะสมกับมนุษย์ลง

3. สร้างความคุ้มค่าของการใช้งานพื้นที่ – คลังสินค้ากึ่งอัตโนมัตินั้นสามารถเปลี่ยนพื้นที่เดิมให้กลายเป็นพื้นที่จัดเก็บสินค้าที่มีความหนาแน่นสูงได้ เช่น การใช้งาน Racking สำหรับจัดเก็บสินค้าอัตโนมัติ ทำให้จัดเก็บสินค้าได้มากขึ้น

4. ยกระดับความปลอดภัยในการทำงาน – ระบบอัตโนมัตินั้นสามารถเข้ามาทำงานในส่วนที่เป็นกิจกรรมที่ต้องทำซ้ำไปซ้ำมาหรือภาระงานที่เป็นอันตรายต่อสวัสดิภาพของมนุษย์ ไม่ว่ายกของหนัก การตรวจสอบพื้นที่ด้วยระบบกล้อง ไปจนถึงการแจ้งเตือนล่วงหน้าต่าง ๆ 

5. รองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ – ระบบอัตโนมัตินั้นสามารถตั้งค่าและปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานได้อย่างง่ายดายหากเทียบกับมนุษย์ เมื่อธุรกิจเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะขยายตัว หรือการทำ Optimization ของคลังสินค้าก็สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วทันต่อความต้องการ

คุณสมบัติเหล่านี้ของคลังสินค้ากึ่งอัตโนมัตินั้นเป็นการนำเอาจุดเด่นด้านความแม่นยำ รวดเร็วและโปร่งใสของเทคโนโลยีมาใช้กับความยืดหยุ่นและประสบการณ์ของแรงงาน ทำให้แรงงานนั้นสามารถมีสมาธิจดจ่ออยู่กับภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้ดียิ่งขึ้น ในขณะที่งานอันเป็นความเสี่ยงต่าง ๆ ก็ถูกย้ายมาเป็นหน้าที่ของเทคโนโลยีแทน

แต่การออกแบบคลังสินค้ากึ่งอัตโนมัตินั้นต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่าย ตั้งแต่ Layout หรือ Racking System ไปจนถึงโฟลว์ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับรูปแบบของสินค้านั้นจำเป็นต้องมองให้ขาดในเงื่อนไขที่มีเพื่อทำให้เกิด Lead Time ที่เหมาะสม รวมถึงยังต้องสามารถจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นได้อีกด้วย ซึ่ง LPI Rack Range ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าที่มีความพร้อมภายใต้เงื่อนไขเหล่านี้อย่างครบถ้วน 

LPI Rack Range พร้อมสนับสนุนทุกความต้องการของคลังสินค้าด้วยประสบการณ์มากกว่า 50 ปี

LPI Rack Range ถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านคลังสินค้าที่มีความครบเครื่องมากที่สุดรายหนึ่งของประเทศไทย ด้วยประสบการณ์มากกว่า 50 ปี ทั้งยังมีโรงงานเป็นของตัวเอง ทำให้การออกแบบและการผลิตอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่าง ๆ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังมีความยืดหยุ่นสูงในการตอบสนองต่อความต้องการและเงื่อนไขที่เกิดขึ้น

ด้วยทีมงานตัวจริงในแวดวงของคลังสินค้า LPI Rack Range ได้รับความไว้วางใจเป็นอย่างดีจากลูกค้าจำนวนมากตั้งแต่การออกแบบคลังสินค้า โซลูชันด้าน Racking ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบแมนนวลหรือระบบ Racking อัตโนมัติ ไปจนถึงการวางระบบโครงสร้างของคลังสินค้าอัตโนมัติเต็มรูปแบบก็เกิดขึ้นได้อย่างเหมาะสม 

ซึ่งการออกแบบคลังสินค้าระบบอัตโนมัติจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในรูปแบบของคลังสินค้าดั้งเดิมเป็นพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความเข้าใจว่าการเติมระบบอัตโนมัติเข้าไปนั้นจะยกระดับสิ่งใดในการทำงานและจะเป็นการลดทอนอะไรที่เคยมีมาก่อนได้บ้าง โดยผลงานที่ผ่านมาของ LPI Rack Range เองก็เป็นตัวพิสูจน์ความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการวัดผลกันที่ Lead Time จะพบว่ามีประสิทธิภาพในระดับสูงอยู่เสมอ

สำหรับผู้ที่สนใจอัปเกรดคลังสินค้าเดิมให้เป็นระบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ ต้องการสร้างคลังสินค้าใหม่ หรือสนใจใช้งาน Racking System คุณภาพสูง LPI Rack Range พร้อมให้บริการตั้งแต่การปรึกษา ออกแบบ ผลิต รวมถึงการสร้างโซลูชันด้านคลังสินค้าที่เหมาะสมกับความต้องการ โดยสามารถติดต่อได้ผ่านช่องทาง ดังนี้

ช่องทางติดต่อสอบถาม:

LPI Rack Range 

เบอร์โทรศัพท์: 02-003-1899 (Office), 081-840-2769 (คุณพีระพงษ์)
E-mail: [email protected]
Website: www.lpi.co.th/
Line OA: @lpigroup
Social Channel: https://www.facebook.com/lpigroupth

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924