“You can’t look at the problem and say, ‘I want them to do more, better, faster miracles – and not invest in research, not invest in development, and have those miracles delivered to me free.’ It’s unrealistic.” – Dean Kamen นวัตกรผู้คิดค้น Segway และผู้ก่อตั้งองค์กรระดับนานาชาติซึ่งจัดการแข่งขันด้านหุ่นยนต์ FIRST
จากความต้องการที่จะผลิตสินค้าให้มีคุณภาพที่มากขึ้น รวมถึงเอกลักษณ์ที่น่าจับตามอง สร้างจุดขายและจุดยืนที่สำคัญโดดเด่นในตลาดหรือเรียกอีกอย่างกว่าการสร้าง ‘นวัตกรรม’ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นเองหรือมิได้ถูกหยิบยื่นมาให้กันโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ดังนั้นหากต้องการนวัตกรรมจำเป็นจะต้องสรรค์สร้างและพัฒนาขึ้นมา
ผลประโยชน์จากการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรม
- เพิ่มประสิทธิภาพในการแข่งขันในตลาด
- ความได้เปรียบทางด้านภาษี
- ยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น
- โปรโมทพันธกิจบริษัท
นอกเหนือจากความสามารถในการขายและสร้างจุดยืนแล้ว นวัตกรรมนั้นตอบโจทย์ในเรื่องใดได้บ้าง? งานวิจัยและพัฒนา หรือนวัตกรรมนั้นส่งผลต่อ GDP ของประเทศ ซึ่งประเทศที่มีนวัตกรรมสูงนั้นจะส่งผลให้ประเทศเกิดการเจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี เช่น ดัชนีข้อมูลจาก Bloomberg ซึ่งวัดผลจากมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นจากการใช้งานวิจัยและพัฒนาสำหรับอุตสาหกรรม โดยกว่า 68% ของโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา (ปี 2011) มีการทำงานด้าน R&D ทำให้ติด Top 5 ซึ่งในปีเดียวกันนั้นเองประเทศจีนรั้งอันดับที่ 41 เนื่องจากมีงานวิจัยและพัฒนาน้อยแม้ว่าจะมีปริมาณกิจกรรมทางด้านอุตสาหกรรมมากมายก็ตาม
Research and Development หรือการวิจัยและพัฒนานั้นมีกลักษณะที่เป็นการค้นคว้าหาข้อมูล และทดลองซ้ำภายใต้บริบทและเงื่อนไขที่กำหนดเพื่อให้แน่ใจได้ว่าการวิจัยนี้สามารถใช้ได้จริง มีความปลอดภัย ซึ่งในกระบวนการทดสอบและหาคำตอบนั้นบ่อยครั้งที่เกิดความผิดพลาดหรือความล้มเหลวเกิดขึ้น จำเป็นต้องทำความเข้าใจและเรียนรู้จากปรากฏการณ์เหล่านั้นเพื่อนำมาปรับปรุงนวัตกรรม ซึ่งต้องมีการวางแผนและการประเมินผลที่รัดกุมเนื่องจากการดำเนินการวิจัยและพัฒนานั้นใช้ระยะเวลานาน และอาจเกิดความล้มเหลวได้หากขาดการวางแผนที่ดี ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัยโดยเฉพาะด้านเงินทุน ซึ่งความล้มเหลวเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้แต่นขณะเดียวกันยังถือเป็นโอกาสใหม่ได้อีกเช่นกัน
การสรรค์สร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่านั้นสามารถดำเนินการได้สองรูปแบบ ได้แก่
- การลงทุนวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้วยตัวเอง
- การซื้อสิทธิบัตรและนำมาปรับปรุง
สำหรับการลงทุนด้านการวิจัยนั้นประเทศไทยถือเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยทรัพยากรมากมายที่สามารถนำมาต่อยอดสินค้าได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอาหารและยา หรือด้านสุขภาพ รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบัน มหาวิทยาลัย หรือหน่วยงานที่เก่ยวข้องกับการวิจัย เช่น สถาบันวิจัยแห่งชาติ สถาบันวัสดุฯ สถาบันพลาสติกฯ ต่างมีองค์ความรู้และความพร้อมในการสนับสนุนและร่วมมือพัฒนาสินค้าตามแนวคิดและความต้องการของผู้ประกอบการ รวมถึง สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่มีนโยบายสนับสนุนการวิจัยด้านอุตสาหกรรมทั้งด้านเงินทุน คำแนะนำและผลงานวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ข้อมูลเพิ่มเติม
สำหรับกรณีตัวอย่างนวัตกรรมที่น่าสนใจที่นักวิจัยไทยได้ทำการพัฒนาและผลิตออกมาในรูปแบบของอุตสาหกรรมนั้นมีอยู่มากมาย ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง การพัฒนาเจลติดแผลเพื่อรักษาแผลน้ำร้อนลวกซึ่งผลิตมาจากมะพร้าว ซึ่งสามารถแนบติดไปกับพื้นผิวที่มีการเคลื่อนไหวสูง มียอดส่งออกสูงถึง 5 ล้านแผ่นต่อเดือน ซึ่งแต่เดิมขายวุ้นมะพร้าวอยู่ที่กิโลกรัมละ 5 บาทแต่เมื่อแปรรูปแล้วมีมูลค่าสูงถึงกิโลกรัมละ 42 บาท ซึ่งเป็นผลงานของ ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.facebook.com/MM.MachineMarket/videos/1629788543721112/
Credit: การสัมมนาภายใต้หัวข้อ การนำนวัตกรรรมเพื่อพัฒนาสู่สินค้าเชิงพาณิชย์, ศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดขึ้นโดย OIE
https://www.facebook.com/MM.MachineMarket/videos/1629804683719498/
Credit: การสัมมนาภายใต้หัวข้อ การนำนวัตกรรรมเพื่อพัฒนาสู่สินค้าเชิงพาณิชย์, นายเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานเจ้าหน้าที่บบริหาร บริษัท ซีที เอเชีย โรโบติกส์ จำกัด จัดขึ้นโดย OIE
สำหรับการทำงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากหลายภาคส่วนทั้งทางด้านรัฐบาล ภาคเอกชนและหน่วยงานขนาดเล็กอื่นๆ เนื่องด้วยเวลาและทรัพยากรที่มีจำกัดการทำงานเป็นทีมแบ่งส่วนงานหรือกำหนดขอเขตการวิจัยที่ชัดเจนจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งการพัฒนางานวิจัยที่มีความชัดเจนทั้งเป้าหมายและวิธีการจะสามารถสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับองค์กรและเศรษฐกิจภาพรวมได้
การให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาจึงเป็นเรื่องสำคัญ สำหรับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
“Manufacturers account for nearly 60 percent of all industrial research and development.” – John Engler นักการเมืองชาวอเมริกัน
Source: Bloomberg
http://www.ggtc.co.uk/the-importance-of-research-development-in-product-manufacturing/
http://www.incrementalinnovation.com/innovation-management-development/rd-to-innovation
OIE Forum 2017 ‘Industry 4.0 Roadmap: Transforming toward Thailand 4.0’