Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

สร้างความปลอดภัยในการโอนถ่ายข้อมูลด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพ

เพื่อรับมือและตอบสนองต่อการถูกเจาะระบบ นักวิจัยได้พัฒนาระบบใหม่ที่มีพื้นฐานจากแนวคิด ‘Zero-knowledge Proofs’ ซึ่งมีความปลอดภัยที่อยู่บนพื้นฐานของหลักทฤษฎีสัมพัทธภาพทางฟิสิกส์ ข้อมูลไม่สามารถเดินทางได้เร็วกว่าความเร็วแสง ซึ่งแนวคิดพื้นฐานของฟิสิกส์ยุคปัจจุบันนี้จะช่วยให้เกิดการถ่ายโอนข้อมูลที่มีความปลอดภัยได้

ปริมาณการส่งข้อมูลในปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ความปลอดภัยของข้อมูลเหล่านี้ยังไม่อาจถูกรับประกันได้ดังที่จะเห็นข่าวการถูกจารกรรมข้อมูลบ่อย ๆ บนหน้าข่าว เพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้ทีมวิจัยจาก University of Geneva (UNIGE) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์รวมกับนักวิจัยจาก McGill University ประเทศแคนาดาได้พัฒนาระบบใหม่ที่อยู่บนแนวคิด ‘Zero-knowledge Proof’ ซึ่งเป็นการใช้แนวคิดฟิสิกส์พื้นฐานอย่างฤษฎีสัมพัทธภาพที่ว่าด้วยข้อมูลไม่อาจเดินทางได้เร็วกว่าความเร็วแสง ซึ่งหนึ่งในพื้นฐานแนวคิดเหล่านี้ทำให้เกิดความปลอดภัยในการถ่ายโอนข้อมูล โดยระบบจะอนุญาตให้ผู้ใช้ระบุตัวตนในณูปแบบที่เป็นความลับอย่างสมบูรณ์โดยไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใด ๆ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับ Cryptocurrencies และ Blockchain ที่กำลังเกิดขึ้น

ระบบความปลอดภัยดั้งเดิมนั้นต้องการคนกลางในการยืนยันอัตลักษณ์หรือข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลที่เป็นความลับ เช่น การถอนเงินจาก ATM ตราบใดที่คนกลางนั้นถือข้อมูลเหล่านี้และรักษาเป็นความลับทุกยอ่างก็ยังปลอดภัย แต่ถ้าข้อมูลไปอยู่ในมือบุคคลที่ 3 ปัญหาด้านความปลอดภัยก็ตามมาด้วยเช่นกัน

เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการยืนยันตัวตนที่ไม่ต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้แต่เกิดขึ้นแล้วด้วยแนวคิด Zero-knowledge Proof ซึ่งถูกคิค้นมาตั้งแต่ช่วงกลางยุค 1980 แต่การนำมาประยุกต์ใช้ในยุคใหมานี้มีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ การที่มีพื้นฐานจากการคำนวณผลรวมของตัวเลจ ซึ่งมีฟังก์ชันการเข้ารหัสเฉพาะที่ยากต่อการถอดรหัส หากผลรวมนี้ถูกหักล้างไป (ซึ่งยังไม่เกิดขึ้นในวันนี้) ความปลอดภัยก็จะมีปัญหาเพราะข้อมูลจะถูกเข้าถึงได้ ทีมวิจัยจึงได้ลองใช้แนวคิดของระบบบนพื้นฐานที่แตกต่างออกไปด้วยทฤษฎีสัมพัทธภาพ ความปลอดภัยจะมีพื้นฐานจากแนวคิดทางฟิสิกส์ พื้นฐานของทฤษฎีสัมพัทธภาพ มากกว่ากาใช้แนวคิดพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ด้วยแนวคิดที่ว่าข้อมูลไม่อาจเดินทางเร็วกว่าแสงอันเป็นแนวคิดโครงสร้างหลักของฟิสิกส์ยุคปัจจุบันทำให้ความปลอดภัยที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มจะยังคงไว้ได้ในระยะยาว

ในระบบการยืนยันตัวตนจะใช้รูปแบบของสี 3 สี โดยจะมีชุดของโหนดเชื่อมต่อหรือไม่เชื่อมต่อกันโดยลิงก์ ซึ่ง 3 สีนี้จะมีโหนดกว่า 5,000 โหนด และ 10,000 ลิงก์ ทำให้เป็นการยากที่จะแก้ปัญหา ผู้ยืนยันตัวตนจำต้องจดจำลักษณะของกราฟสีที่เกิดขึ้นเพื่อยืนยันตัวตนให้ได้

การยืนยันตัวตนรูปแบบนี้สามารถทำได้อย่างรวดเร็วในเวลาแค่ 3 วินาทีเท่านั้น ในขณะที่การทดสอบเกิดขึ้นมากกว่าล้านครั้ง

ที่มา:
Unige.ch

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
AIS 5G เดินเครื่องขับเคลื่อน ฟื้นฟูประเทศ ต่อเนื่องพร้อมให้บริการทั้งด้าน Platforms และ Solutions ร่วมกับทีมพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ติดปีกภาคการผลิต-อุตสาหกรรม เสริมขีดความสามารถในทุกมิติ
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924