Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

วิจัยเผยพลาสติกแบบใช้ซ้ำได้มีการปลดปล่อยสารเคมีนับร้อยออกมา

นักวิจัยจาก University of Copenhagen ได้พบสารเคมีหลายร้อยชนิดในน้ำดื่มที่ถูกบรรจุอยู่ในขวดพลาสติกที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งสารเคมีเหล่านี้หลายตัวส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพมนุษย์ สะท้อนถึงความต้องการด้านข้อกำหนดและมาตรฐานการผลิตสำหรับผู้ผลิตที่ดีขึ้น

นักวิจัยได้ตรวจพบสารเคมีมากกว่า 400 ชนิดซึ่งเป็นสารตั้งต้นในขวดพลาสติก และค้นพบสารตั้งต้นอีกมากกว่า 3,500 ชนิดจากน้ำยาล้างจาน จำนวนตัวอย่างเหล่านี้เรียกได้ว่ามีจำนวนมหาศาลที่ต้องถูกยืนยันความปลอดภัยให้แน่ชัด และแม้ว่าสารเคมีที่ถูกระบุได้นั้นความเป็นพิษกว่า 70% ยังคงปเ็นสิ่งที่ไม่ชัดเจนนัก

สารที่มีความไวต่อแสง (Photo-initiator) นั้นเป็นสารพิษตั้งต้นในน้ำที่สร้างความกังวลใจให้กับเหล่านักวิจัย เพราะมันส่งผลกระทบต่อสุขภาพในอวัยวะต่าง ๆ เช่น การรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อและเป็นสารก่อมัเร็ง นอกจากนี้ยังพบอีกว่าสารอีกหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสารที่ทำให้พลาสติกอ่อนตัวหลายชนิด, สารต้านอนุมูลอิสระ, น้ำยาถอดแบบที่ใช้ในการผลิตพลาสติกรวมถึง Diethyltoluamide (DEET) นั้นกลับเป็นส่วนประกอบของยาฆ่ายุง

ขวดน้ำพลาสติก 3 ชนิดถูกนำมาทดสอบ โดย 2 ชนิดเป็นพลาสติกเกรดย่อยสลายได้ทางชีวภาพซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากผู้ผลิต มีทั้งขวดน้ำใหม่และขวดที่ผ่านการใช้งานหนักมาแล้ว ขวดน้ำถูกทดสอบทั้งก่อนและหลังเข้าเครื่องล้างขวด และหลังจากการทำการล้างด้วยน้ำประปาอีกห้าครั้ง จากนั้นจึงทำการทดสอบด้วย Liquid Chromatography ที่เรียกว่า Non-target Screening (NTS) และ Mass Spectrometer

ในการทดสอบนั้นนักวิจัยพยายามลอกเลียนแบบวิธีที่ผู้คนปฏิสัมพันธ์กับขวดน้ำห้ครอบคลุมที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยมีการเติมน้ำประปาที่ดื่มได้ลงในขวดใหม่และเก่าเป็นเวล่ 24 ชั่่วโมงทั้งก่อนและหลังการใช้เครื่องล้าง

หลังการล้างด้วยสารทำความสะอาดมักจะพบสารเหล่าีน้ตกค้างอยู่บนพื้นผิวและสารอันตรายที่สุดนั้นจะพบได้หลังจากการใช้งานเครื่องล้างจาน คาดว่าเป็นเพื่อการล้างนั้นทำให้การเคลือบหรือผิวสึกกร่อน จึงเพิ่มการรั่วไหลปนเปื้อนมากขึ้น นอกจากนี้หลังการล้างอีกหลายครั้งเพิ่มเติมยังพบสารเคมีอีกกว่า 500 ชนิดที่ตกค้าง โดยสัดส่วนที่มาจากตัวพลาสติกเองก็มีถึง 100 ตัว

นักวิจัยให้ควาามเห็นว่า “แค่เพียงเพราะเจอสารตั้งต้นในน้ำไม่ได้หมายความว่าน้ำนั้นเป็นพิษและส่งผลกระทบต่อมนุษย์ แต่ปัญหาคือเราไม่รู้เลยว่ามันเป็นยังไง แต่โดยพื้นฐานแล้วมันคงไม่ดีหรอกใช่ไหมที่ต้องมาดื่มนำสบู่น่ะ” นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสันนิฐานว่าผู้ผลิตขวดเหล่านี้มีการเติมสารในสัดส่วนน้อย ปัญหาใหญ่ คือ การแปรสภาพระหว่างการแปรรูปหรือใช้งาน ซึ่งสารตั้งต้นอาจถูกเปลี่ยนมาจากสารตัวอื่นก็ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับยาฆ่ายุงอย่าง DEET ที่เป็นผลจากการใช้น้ำยาทำให้พลาสติกอ่อนนุ่มลง เป็นต้น

ที่มา:
Science.ku.dk

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
พลิกโฉมการแยกขยะพลาสติกด้วยเทคโนโลยีตัวใหม่ที่แยกพลาสติกได้ถึง 12 ชนิด
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924