Argonne National Laboratory เปิดเผยการวิเคราะห์สถานการณ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นกับแร่ธาตุสำคัญกลุ่ม Rare Earth ผ่านโมเดลคอมพิวเตอร์ Global Critical Materials (GCMat) ชี้ให้เห็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการขาดแคลนแร่หายากในระยะยาว
กลุ่มแร่ Rare Earth นั้นเป็นกลุ่มแร่หายากที่มีการใช้งานตั้งแต่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็กไปจนถึงเครื่องบินไอพ่น ซึ่งกำลังผลิตส่วนใหญ่อยู่ในประเทศจีนคิดเป็น 58% สำหรับการขุดเหมืองและการแปรรูปเป็นสินแร่ใช้งานคิดเป็น 85% ของกำลังผลิตในตลาดและ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วแร่เหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่ได้หายากแต่กระบวนการในการสกัดนั้นมีความซับซ้อนและต้นทุนสูงเสียเป็นส่วนใหญ่
การใช้แร่ Rare Earth นั้นเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และพลังงานจึงทำให้เกี่ยวข้องกับความมั่นคงในรูปแบบต่าง ๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รัฐบาลสหรัฐอเมริกาจึงได้ตัดสินให้สินแร่เหล่านี้เป็นวัตถุดิบสำคัญที่สนับสนุนด้านความมั่นคงของชาติ
Argonne National Laboratory จึงได้วิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการ Disruption ด้านซัพลลายใน 3 สถานการณ์ของแร่กลุ่ม Rare Earth 10 ชนิด ควบคู่ไปกับส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องเพื่อหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตลาดได้ ด้วยการใช้ Global Critical Materials หรือ GCMat
GCMat นั้นเป็นโมเดลแบบ Agent-based ซึ่งเป็นการประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์ในการจำลองการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ภายในระบบ ทำให้สามารถทำนายพลวัตรของตลาดแร่ Rare Earth ด้วยการให้โมเดลตัดสินใจในโครงการขุดเหมือง ผู้ผลิต ตลอดจนสิ่งที่อาจเกิดขึ้นจากผู้บริโภคแต่ละปัจจัยโดยเป็นอิสระจากกัน ตัวแทนเหล่านี้จะอัปเดตราคาสินค้า การซื้อขายซัพพลาย ปริมาณการผลิต และแผนกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ตอบสนองต่อราคาตลาดและซัพพลายที่มีอยู่ ทำให้สามารถเข้าถึงแนวโน้มที่คาดว่าน่าจะเกิดขึ้นได้มากที่สุด
การใช้โมเดลที่กำหนดตัวแทนเหล่านี้จะเป็ฯการมองลงไปยังค่าที่จะเป็นตัวก่อให้เกิดการตัดสินใจต่าง ๆ เช่น เมื่อไหร่จะเปิดหรือปิดเหมือง และการตัดสินใจนั้นจะเกิดผลอะไรบ้างกับตลาดและซัพพลายเชนทั้งหมด
ผลของการศึกษาพบว่าแร่ Rare Earth บางชนิดอาจมีมูลค่ามากขึ้นจากการ Disruption โดยแร่ที่มีราคาเพิ่มมากที่สุดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ได้แก่ Dysprosium Oxide ซึ่งมักใช้ในแม่เหล็กถาวร อัลลอยชนิดพิเศษและงานอื่น ๆ ในขณะที่แร่ Didymium Oxide นั้นเป็นการผสมระหว่าง Neodynium และ Praseodymium ซึ่งพบว่าราคาลดลง
โดยทั่วไปแล้วการวิเคราะห์พบว่าในแง่ของสถานการณ์ร่วมสมัยที่เกิดขึ้น การส่งออกหยุดชะงัก 1 ปี และเหมืองปิดทำการ 2 ปี ผลกระทบด้านราคาจะยาวนานขึ้นไปไกลกว่าช่วงเวลาที่ Disruption เกิดขึ้น ผลกระทบสำหรับการผลิต ปริมาณ และความต้องการอาจจะยิ่งขยายเวลาให้ยาวนานยิ่งขึ้น โมเดลนี้ยังแนะนำด้วยว่าเหมืองบางแห่งนอกเมืองจีนอาจไม่สามารถอยูรอดได้หากสถานการณ์ซัพพลายหลักฟื้นตัวขึ้นมา
ที่มา:
Techxplore.com
เนื้อหาที่น่าสนใจ:
Pasta Henshin! ยุคใหม่ของการผลิตอาหารมาถึงแล้ว