Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

วิศวกรสร้างเส้นใยที่สามารถตั้งค่าการทำงานได้

นักวิจัยจาก MIT สร้างเส้นใยที่มีความสามารถด้านดิจิทัลสำเร็จ โดยสามารถรับรู้ เก็บบันทึก วิเคราะห์ และบันทึกกิจกรรมต่าง ๆ ได้หลังจากถูกถักทอจนเป็นเสื้อแล้ว เปิดทางสู่เทคโนโลยีสวมใส่รุ่นใหม่ที่มอบความแม่นยำในการติดตามกิจกรรมและสถานะได้มากยิ่งขึ้น

การติดตามข้อมูลสำหรับร่างกายไม่ว่าจะเป็นลักษณะทางกายภาพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ข้อมูลทางการแพทย์ หรือการตรวจเจอโรคต่างๆ ตั้งแต่อาการบ่งชี้แรกเริ่มก็สามารถเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายเมื่อคุณมีอุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถตรวจจับข้อมูลได้อย่างละเอียดมากพอ

ในปัจจุบันนั้นเส้นใยอิเล็กทรอนิกส์มักอยู่ในรูปของระบบ Analog เป็นการนำส่งสัญญาณไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องซึ่งไม่ได้เป็นการทำงานแบบดิจิทัล ผลลัพธ์ที่ได้จึงมีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อยกับเทคโนโลยีใหม่ที่ถูกพัฒนาโดยนักวิจัยจาก MIT นี้ ซึ่งความสามารถในการทำงานแบบดิจิทัลนั้นสามารถเก็บข้อมูลและประมวลผลได้ หรืออาจจะบอกได้ว่าสามารถตั้งโปรแกรมการทำงานได้ด้วยซ้ำ

เส้นใยชนิดใหม่นี้ถูกสร้างด้วยการวางชิปซิลิคอนสี่เหลี่ยมในระดับไมโครสเกลนับร้อยเพื่อสร้างให้เกิดเป็นเส้นใยโพลีเมอร์ แล้วด้วยการควบคุมความต่อเนื่องกระแสของโพลีเมอร์นักวิจัยสามารถสร้างเส้นใยที่มีกระแสไฟฟ้าเต่อเนื่องกันระหว่างชิปที่เป็นระยะทางยาวมากกว่า 10 เมตรได้โดยไม่เกิดความเสียหายก่อน

ตัวของเส้นใยเองนั้นมีลักษณะบางและมีความยืดหยุ่นสูง สามารถลอดผ่านเข็มและเย็บเป็นเสื้อผ้า รวมทั้งยังสามารถซักได้มากกว่า 10 ครั้งโดยไม่พังเสียก่อน ซึ่งในการสวมใส่นั้นให้ความรู้สึกไม่แตกต่างจากการใส่สื้อเผ้าทั่วไปเลยทีเดียว

เส้นใยดิจิทัลนี้เปิดโอกาสอีกมากมายที่เส้นใยแบบ Functional ที่เคยเกิดขึ้นไม่สามารถทำได้ เช่น ควบคุมส่วนประกอบแต่ละส่วนให้สามารถทำงานเป็นอิสระจากกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการจดจำข้อมูลในหน่วยความจำซึ่งทีมวิจัยสามารถบันทึก จัดเก็บ และอ่านข้อมูลจากเส้นใยได้ ยกตัวอย่างเช่นหนังสั้นภาพสีเต็มรูปแบบขนาด 767 Kb หรือเพลงขนาด 0.48 Mb ซึ่งสามารถเก็บเอาไว้ได้ถึงสองเดือนโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าแต่อย่างใด

นอกจากนี้ตัวเส้นใยเองกำลังมุ่งหน้าไปยังการใช้งานร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ด้วยการใช้หน่วยความจำภายในระหว่างการเชื่อมต่อประสาท (Neural Network) กว่า 1,650 การเชื่อมต่อ นักวิจัยได้ลองเย็บเข้ากับพื้นที่เสื้อรอบวงแขนและสามารถเก็บข้อมูลอุณหภูมิพื้นผิวจากผู้สวมใส่ได้ยาวนานถึง 270 นาที และสามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลกับการใช้งานภายใต้กิจกรรมอื่น ๆ ได้อีกด้วย จากการฝึกฝนผ่านข้อมูลเหล่านี้พบว่าเส้นใยนั้นสามารถระบุกิจกรรมของผู้สวมใส่ได้แม่นยำถึง 96%

ด้วยความสามารถเหล่านี้เส้นใยดิจิทัลจะสามารถรับรู้และแจ้งเตือนผู้สวมใส่เกี่ยวกับสถานะของร่างกายได้แบบ Real-time เช่น การเปลี่ยนไปของระบบทางเดินาหายใจ หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือส่งข้อมูลลักษณะกล้ามเนื้อตลอดจนอัตราการเต้นของหัวใจในระหว่างฝึกฝนสำหรับนักกีฬาได้

ที่มา:
News.mit.edu

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
เทคโนโลยีตรวจจับเงา ทางเลือกใหม่ให้หุ่นยนต์รับรู้สัมผัสมนุษย์
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924