Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

Semiconductor จากสารอินทรีย์ อนาคตแห่งทรานซิสเตอร์อเนกประสงค์

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นมีทรานซิสเตอร์เป็นหนึ่งในส่วนประกอบสำคัญ ไม่ว่าจะโทรศัพท์มือถือ ตู้เย็น หรือแม้แต่เอฟเฟคท์กีตาร์ ซึ่งทรานซิสเตอร์มีขอบเขตการทำงานที่จำกัด นักฟิสิกส์ได้พัฒนา Semiconductor จากสารอินทรีย์ที่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์แบบทั้งในสภาวะที่มีกระแสไฟฟ้าต่ำและสูง

Semiconductor

ทรานซิสเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ Semiconductor ที่ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันและกระแสไฟฟ้าในวงจรไฟฟ้า เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อมทำให้ Semiconductor ต้องมีขนาดที่เล็กลงและทำงานได้ดีขึ้น หาก Semiconductor ที่เป็นสารอนินทรีย์ซึ่งมีขนาดน้อยกว่า 100 นาโนเมตร ถือเป็นมาตรฐาน ในเงื่อนไขนี้ Semiorganic แบบอินทรีย์ไม่อาจเทียบเคียงได้ แต่จุดเด่น คือ สามารถพิมพ์ (ผลิต) ได้ในอัตราสัดส่วนงานอุตสาหกรรม ทำให้ต้นทุนถูกกว่า ทั้งยังสามารถประยุกต์ใช้งานกับพื้นผิวได้อย่างแนบเนียนด้วยความโปร่งแสงอีกด้วย

Thomas Weitz ศาสตร์จารย์คณะฟิสิกส์ประจำ LMU ตั้งใจออกแบบทรานซิสเตอร์ที่ผสมผสานความสามารถในการใช้งานกับกระแสไฟฟ้าที่สูงร่วมกับแรงดันไฟฟ้าที่ต่ำหรือต้องการ Artificial Synapse ชิ้นส่วนต้นแบบที่ผลิตได้นั้นอยู่ในขนาดระดับนาโนสามารถรองรับการใช้งานกับอุปกรณ์ใหม่ ๆ ได้ อาทิ OLEDs และเซนเซอร์ที่มีแรงดันไฟฟ้าต่ำ หรืออุปกรณ์ที่ต้องการกระแส ON-State ที่มีความเข้มข้นสูง หรือต้องการ  Tranconductances ขนาดใหญ่ ปัจจุบันทีมนักวิจัยได้จดสิทธิบัตรสำหรับการพัฒนานี้ซึ่งทำให้สามารถสถาปัตยกรรมทรานซิสเตอร์แบบใหม่ ๆ สำหรับการใช้งานอุตสาหกรรมได้

ที่มา:

Sciencedaily.com

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924