ในยุคที่อุตสาหกรรมก้าวเข้าสู่ยุคที่มีการแข่งขันด้านการผลิตมากขึ้นเพื่อให้ได้ของดีมีคุณภาพและต้นทุนต่ำ อุตสาหกรรมได้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตมากขึ้น ที่เกิดขึ้นตามมามากขึ้นคือ การที่เครื่องจักรเกิดการเสียหายมากขึ้นและบางครั้งการเสียหายของเครื่องจักรก็มีความซับซ้อนมากขึ้นด้วย มีผลให้ต้นทุนในการผลิตสูงตามมา เทคโนโลยีทำการบำรุงรักษาเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยี ที่จะเข้ามาแก้ปัญหาและเพิ่มให้กระบวนการผลิตนั่นให้มีเสถียรภาพมากขึ้น
การบำรุงรักษา แบ่งเป็น…
การบำรุงรักษาตามแผน (Planned Maintenance) หมายถึง
งานบำรุงรักษาที่อยู่ในแผน
สามารถกำหนดได้ตามแผนที่ได้วางเอาไว้
สามารถเตรียมการได้ล่วงหน้า
สามารถวางแผนกำลังคนที่จะใช้ อะไหล่ รวมถึงอุปกรณ์ ซ่อมแซมต่างๆ ให้มีความพร้อมก่อนที่จำทำการซ่อมบำรุง
การบำรุงรักษานอกแผน (Unplanned Maintenance) หมายถึง
งานบำรุงรักษานอกแผนงานที่ได้วางเอาจากการที่เครื่องจักรเกิดการขัดข้องโดยไม่ทราบสาเหตุล่วงหน้า
การบำรุงรักษานี้จะก่อให้เกิดปัญหามากกว่าการบำรุงรักษาตามแผน อันเนื่องมาจาก การที่ไม่สามารถวางแผนเวลา กำลังคน อะไหล่ รวมไปถึงอุปกรณ์ซ่อมแซมต่างๆ ที่จะให้ในการซ่อมได้อย่างทันเวลา
กลยุทธ์ของแนวทางการบำรุงรักษา ที่จำแนกเพื่อให้เหมาะสมกับประเภท และระดับความสำคัญของเครื่องจักรในโรงงานได้ แบ่งเป็น
- กลยุทธ์การบำรุงหลังเกิดเหตุขัดข้อง (Breakdown Maintenance) การบำรุงรักษาเมื่อเครื่องจักรเกิดการ การชำรุดหรือหยุดฉุกเฉิน โดยกลยุทธ์นี้เหมาะกับเครื่องจักรที่เสียหายแล้ว และไม่มีผลกระทบกับกระบวนการผลิต หรือมีผลกระทบน้อยมาก ประโยชน์ที่ได้คือ สามารถให้ประโยชน์ของอุปกรณ์ได้ยาวนานที่สุด ข้อเสียคือ การเสียหายอาจทำให้เกิดการเสียหายส่วนอื่นด้วย
- กลยุทธ์การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) มีการบำรุงรักษาเครื่องจักรก่อนที่จะมีความเสียหายเกิดขึ้น โดยจะให้เงื่อนไขของเวลามาใช้ในการวางแผนบำรุงรักษา โดยข้อมูลที่จะถูกนำมาใช้ในการวางแผนอาจจะมาจาก คำแนะนำจากผู้ผลิต หรือ สถิติการเสียหายของเครื่องจักรที่ผ่านมา เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เครื่องจักรเกิดการเสียหายแบบฉุกเฉินได้
- กลยุทธ์การบำรุงรักษาตามสภาพ (Condition Based Maintenance) การนำเอาข้อมูลของเครื่องจักรมาพิจารณาในการบำรุงรักษา รวมไปถึงการวางแผนให้งานบำรุงรักษาสามารถป้องกันไม่ให้เกิดการเสียหายแบบฉับพลัน และยังสามารถบอกถึงสาเหตุที่ทำให้เครื่องจักรเกิดความเสียหายได้ ดังนั่นในการซ่อมแซมเครื่องจักรนั่น จะสามารถเข้าถึงสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดปัญหา ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เครื่องจักรไม่เกิดการเสียหายแบบซ้ำเดิมหรือเรียกว่าปัญหาเรื้อรังต่อไป
- กลยุทธ์การออกแบบเพื่อลดงานบำรุงรักษา (Design out of Maintenance) การนำเอาจุดอ่อนหรือจุดบกพร่องต่างๆ ของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์มาเป็นข้อมูลในการปรับปรุง เพื่อทำให้เครื่องจักรนั้นมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและอายุที่ยาวนานมากขึ้นด้วย
|
การบำรุงรักษาสมัยใหม่ (Modern Maintenance) ได้นำเอากลยุทธ์การบำรุงรักษาตามสภาพหรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าการบำรุงรักษาเชิงคาดการณ์ (Predictive Maintenance) มาใช้ โดยการนำเอาสัญญาณการเสียหายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในเครื่องจักร เช่น การสั่นสะเทือน ความร้อนเสียง สภาพการปนเปื้อนของสารหล่อลื่นต่างๆ ในเครื่องจักรมาใช้เป็นสัญญาณเตือน และนำมาวางแผนบำรุงรักษา ให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง
สิ่งที่สำคัญของการตรวจสภาพของเครื่องจักรจะต้องเลือกใช้เทคโนโลยีในการตรวจสอบให้เหมาะสมในการแต่ละประเภทการทำงานของเครื่องจักร รวมไปถึงความถี่ในการตรวจสอบต้องเหมาะสม เพียงพอที่จะตรวจสอบปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ โดยเทคโนโลยีหลักที่ได้ถูกนำมาใช้เริ่มต้นส่วนใหญ่แล้วคือ เทคโนโลยีวิเคราะห์การสั่นสะเทือนเครื่องจักร เทคโนโลยีตรวจสอบสภาพน้ำมันหรือสารหล่อลื่น และเทคโนโลยีภาพถ่ายความร้อน
ในการทำงานบำรุงรักษาสมัยใหม่โดยใช้กลยุทธ์การบำรุงรักษาตามสภาพ ส่วนสำคัญคือต้องมีเครื่องมือตรวจสอบที่เหมาะสม และ ต้องมีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอมรมที่ถูกต้อง เพื่อทำการแปลผลข้อมูลที่ได้มาให้ตรงกับสภาวะสภาพของเครื่องจักรที่เกิดขึ้น โดยประโยชน์ที่เห็นได้ชัดในการนำเอางานบำรุงรักษาตามสภาพ มาใช้นั่นคือ ลดการสำรองอะไหล่ ลดเวลางานซ่อมบำรุงลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง ใช้ประโยชน์จากการใช้งานของเครื่องจักรได้มากขึ้น และยังเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรให้สามารถผลิตได้ตามความสามารถที่ได้ออกแบบไว้ได้
EXECUTIVE SUMMARY
Modern maintenance use the strategy that fix and maintain by condition as we call ‘Predictive Maintenance’. This method observe the sign of machine cracking to plan the strategy to take a right maintenance solution. Use the right method to verify the problem properly, such as, vibration analysis, oil analysis and infrared thermography analysis.