Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

การพิมพ์ 3 มิติด้วยรูปแบบการ ‘ชักใยเชิดหุ่น’ เทคนิคที่ถูกพัฒนาก่อนเกิดระบบรางในปัจจุบัน

ในอดีตแรกเริ่มการพิมพ์ FDM ภายใต้โครงการของ RepRap ได้สร้างการออกแบบที่สุดเจ๋งและแปลกประหลาดออกมามากมาย ซึ่งหนึ่งในเทคนิคที่ถูกพัฒนาขึ้นมา คือ Marionette 3D Printer หรือเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ใช้รูปแบบการชักใยเชิดหุ่นในการพิมพ์ซึ่งใช้สายในการเคลื่อนที่แทนระบบรางที่เห็นกันในปัจจุบัน

สิ่งที่ใกล้เคียงกับ Linear Guide หรือระบบรางที่ใช้กันการพิมพ์ 3 มิติยุคปัจจุบัน คือ Marionette หรือการชักใยเชิดหุ่น โดยจะมีแผ่นแก้วซึ่งมีกลไกติดเอาไว้อยู่เหนือหัวพิมพ์ มี Stepper Motor คู่ทำหน้าที่เคลื่อนไหวหัวพิมพ์ในแกน X-Y เหมือนกับแนวคิด Maslow CNC Router แต่ในกรณีนี้มีสายมากกว่า 2 เพื่อให้คงไว้ซึ่งความตึงในการทำงานของกลไก ในการปรับระยะสายให้เที่ยงตรงในการเคลื่อนไหว ผู้ใช้งานในคลิปได้ใช้ระบบรอกที่มีความซับซ้อนที่ไม่ได้พบเห็นกันเท่าไหร่นัก สายที่ขึงนั้นมีการทำมุมเอียงลงไปยังหัวพิมพ์เล็กน้อย

ฐานพิมพ์ (Bed Print) เองก็มีการขึงสาย ไม่มีชิ้นส่วนเชิงกลที่เป็นชิ้นแข็งแรงหรือเป็นก้อนยึดติดกับเฟรมของเครื่องพิมพ์ มีสาย 6 เส้นเชื่อมกับด้านข้างและด้านล่างของฐานพิมพ์ในรูปแบบ 6 DOF ผ่านรอก และมีสายพานที่ทำงานโดย Single Stepper

แม้จะไม่ได้เป็นรูปแบบที่เห็นได้ทั่วไป แต่ต้องยอมรับว่าเป็นการพิมพ์ 3 มิติที่มีความน่าสนใจสูง ไม่ว่าจะในแง่การออกแบบ ประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และความซับซ้อนที่เกิดขึ้น

ที่มา:
hackaday.com


พบกับ สุดยอดองค์ความรู้เพื่อผู้บริหารโรงงานอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล
AUTOMATION SUMMIT 2023
12 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00-18.00 น.
ณ สามย่านมิตรทาวน์ ฮอลล์ ชั้น 5 กรุงเทพมหานคร
ลงทะเบียนเข้าร่วมฟรี คลิก!

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924