Thursday, October 31Modern Manufacturing
×

เก็บกู้วัตถุสงครามใต้ทะเล ด้วยหุ่นยนต์ที่ลอกแบบจากปลากระเบน

สงครามนั้นนอกจากจะคร่าชีวิตของผู้คนมากมายแล้ว ก็ยังคงทิ้งร่องรอยให้หลงเหลือเอาไว้ในสิ่งแวดล้อม แม้ว่าเวลาจะผ่านไปเป็นศตวรรษแล้วก็ตาม

แม้สงครามในอดีตจะจบลงไปแล้ว แต่อุปกรณ์สงครามมากมายไม่ว่าจะเป็น กระสุน เศษเหล็ก หรือชิ้นส่วนระเบิดที่มีความอันตรายก็ยังคงถูกทิ้งไว้ในทะเล นักวิจัยจากเบอร์ลินประเทศเยอรมนีจึงได้พัฒนาหุ่นยนต์แบบพิเศษที่สามารถตรวจสอบค้นหาเศษซากอันตรายจากสงครามที่ตกค้างอยู่ใต้ทะเลได้ขึ้นมา

หุ่นยนต์ปลากระเบนสำหรับเก็บกู้วัตถุอันตราย

หุ่นยนต์ Autonomous underwater vehicles หรือ AUVs ที่ได้รับการออกแบบจากบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารใต้น้ำและการพัฒนาระบบไบโอนิค หรือระบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมชาติ ได้ทำการออกแบบและผลิตหุ่นยนต์ด้วยการใช้แนวคิดรูปร่างที่มีต้นแบบมาจากปลากระเบนราหู (Manta ray) และทำการดัดแปลงหุ่นยนต์ให้มีหน้าตาและรูปร่างเข้ากับโลกใต้ทะเล

หุ่นยนต์ AUVs ที่ได้รับการออกแบบรูปร่างตามปลากระเบน ที่มาภาพ : Fraunhofer IZM

หุ่นยนต์ปลากระเบนนี้พัฒนาขึ้นเพื่อให้สามารถเข้ามาทดแทนการทำงานของเหล่านักประดาน้ำและเรือดำน้ำในการค้นหาและเก็บกู้วัตถุสงคราม ซึ่งหุ่นยนต์กระเบนก็สามารถเข้าไปยังพื้นที่ที่มีขนาดแคบและยากต่อการเข้าถึงได้ ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ในการเก็บกู้ซากและวัตถุอันตรายเหล่านี้นั่นเอง

ทำไมถึงเป็นรูปทรงของปลากระเบน ?

ด้วยครีบขนาดมหึมาของกระเบนราหู ทำให้มันเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดนึงในทะเล ซึ่งรูปร่างขนาดใหญ่นี้เองที่ช่วยในการปกคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ได้ในระหว่างการทำงาน และด้วยรูปร่างของกระเบนยังทำให้การเลี้ยวและพลิกตัวในมุมแคบสามารถเป็นไปได้ง่าย และเกิดแรงต้านทานใต้น้ำน้อยอีกด้วย

แต่ในตอนนี้ เหล่านักวิจัยก็ได้กล่าวว่าหุ่นยนต์กระเบนราหูนี้ยังไม่ฉลาดมากพอที่จะเข้ามาทดแทนนักดำน้ำที่เชี่ยวชาญได้ แต่ด้วยหุ่นยนต์ระบบใหม่ที่มีรูปร่างในแบบของปลากระเบนปีศาจ (Devil ray) และระบบเซ็นเซอร์บนผิวหนัง จะทำให้หุ่นยนต์สามารถเข้ามาทำหน้าที่แทนที่นักประดาน้ำได้

เป็นไปได้ด้วยผิวหนังไบโอนิคเซ็นเซอร์

ด้วยโครงการ “Bionic Roboskin” ที่มีขึ้นเพื่อพัฒนาผิวหนังเซ็นเซอร์ไบโอนิคที่มีความยืดหยุ่นของหุ่นยนต์กระเบนทำการรับข้อมูลที่รวบรวมเข้ามาระหว่างการค้นหา และสามารถทำการวัดความเร่ง ความดัน และการซึมผ่านของความชื้นของหุ่นยนต์ได้ นอกจากนี้ ยังมีการรวมระบบไฟ LEDs เข้าไปในการออกแบบแผงวงจร ทำให้ในอนาคตหุ่นยนต์จะสามารถใช้ไฟเหล่านี้ในการสื่อสารใต้น้ำกับนักประดาน้ำได้ เช่น การกะพริบไฟส่งสัญญานก่อนทำการเลี้ยวตัว

ชิ้นส่วนโมดูล Smart sensor ของผิวหนังไบโอนิค ที่มาภาพ : Fraunhofer IZM

หุ่นยนต์กระเบน AUVs นี้จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการค้นหาและเก็บกู้วัตถุสงครามใต้น้ำได้ และยังเป็นแรงบันดาลใจใหม่ในการเปิดไอเดียของการผลิตหุ่นยนต์ ที่จะสามารถเข้ามาช่วยเหลือมนุษย์ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและในงานอุตสาหกรรม ถือเป็นอีกหนึ่งไอเดียที่ทั้งน่าสนใจและสามารถช่วยได้ทั้งสิ่งแวดล้อมและลดความเสี่ยงในงานของมนุษย์ไปได้พร้อม ๆ กัน

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924