Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

IRPC โชว์แกร่ง ไตรมาส 3 กำไร 2,155 ล้านบาท

IRPC แถลงผลประกอบการไตรมาส 3/64 มีกำไรสุทธิ 2,155 ล้านบาท พร้อมรุกตลาดอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ ประกาศเดินเครื่องผลิตเชิงพาณิชย์ ในเดือน ธ.ค. นี้ 

นายชวลิต ทิพพาวนิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่า ในไตรมาส 3 ปี 2564 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายสุทธิ 62,088 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน เป็นผลมาจากราคาขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และปริมาณการขายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 2 โดยมีกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาด (Market GIM) อยู่ที่ 7,216 ล้านบาท หรือ 12.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 17 สาเหตุหลักมาจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ทั้งปิโตรเลียมและปิโตรเคมีส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง รวมทั้งต้นทุน Crude Premium ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และมีกำไรขั้นต้นจากการผลิตทางบัญชี (Accounting GIM) จำนวน 9,544 ล้านบาท หรือ 16.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ลดลงร้อยละ 22 ส่งผลให้ผลการดำเนินงานในไตรมาส 3 ยังคงมีกำไรต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว โดยมีกำไรสุทธิ 2,155 ล้านบาท

ศูนย์รวมเครื่องมือทดสอบชิ้นงานอุตสาหกรรม | INTRO ENTERPRISE [Supera Source]

สำหรับความคืบหน้าโครงการผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอ (Non-woven Fabric) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักสำคัญในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้แก่ หน้ากากอนามัย หน้ากาก N95 ชุดป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ผ้าอ้อมเด็ก/ผู้ใหญ่ และแผ่นกรองอากาศ IRPC ตั้งเป้าหมายเป็นผู้ผลิตผ้าไม่ถักไม่ทอครบวงจรรายแรกของประเทศไทย พร้อมผลิตเชิงพาณิชย์ ในเดือนธันวาคม ปี 2564 ถือเป็นการขยายธุรกิจ ต่อยอดนวัตกรรมที่เกิดประโยชน์กับประเทศ สร้างความมั่นคงเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี โดยคนไทยเพื่อคนไทย  

แนวโน้มภาวะตลาดน้ำมันดิบในไตรมาส 4 คาดว่าราคาน้ำมันดิบจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากไตรมาส 3 โดยมีปัจจัยหลักมาจากการที่ราคาของ LNG, LPG และถ่านหินเพิ่มสูงขึ้นมาก ทำให้คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการใช้น้ำมันดิบเพิ่มขึ้น เพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวในช่วงฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง ประกอบกับการที่กลุ่มโอเปกและพันธมิตร     มีแนวโน้มที่จะเพิ่มการผลิตตามแผนเดิม คือ 0.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน แม้จะมีการเรียกร้องจากหลายประเทศให้มีการปรับเพิ่มการผลิตให้มากขึ้น เพื่อควบคุมราคาของน้ำมันดิบ และการพิจารณายกเลิกมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ ต่ออิหร่าน อาจเลื่อนจากไตรมาส 4 ปีนี้ เป็นไตรมาส 1 ปี 2565 ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกน้ำมันดิบจากอิหร่านยังคงถูกระงับตลอดทั้งปีนี้ นอกจากนี้ ความต้องการใช้น้ำมันยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังจากสถานการณ์ COVID-19 โดยรวมเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น

ส่วนแนวโน้มภาพรวมตลาดปิโตรเคมีในไตรมาส 4 คาดว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั่วโลกจะปรับตัวดีขึ้นจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่เริ่มคลี่คลายมากขึ้น เนื่องจากการกระจายวัคซีนที่ครอบคลุมมากขึ้น ส่งผลให้หลายประเทศเริ่มมีการผ่อนคลายมาตรการ Lockdown และเริ่มเปิดประเทศ ซึ่งส่งผลบวกต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนต่อสภาวะตลาดที่สำคัญ คือ การเร่งรัดนโยบายควบคุมการใช้พลังงานของประเทศจีน เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนพลังงาน ทำให้โรงงานปิโตรเคมีในประเทศจีนหลายแห่งต้องปรับลดกำลัง การผลิต หรือบางแห่งต้องปิดโรงงาน รวมถึงอาจมีการเลื่อนกำลังการผลิตใหม่ออกไป จากเดิมที่คาดว่าจะมีกำลังการผลิตใหม่เพิ่มขึ้นจำนวนมากจากประเทศจีนในช่วง 1-3 ปีนี้ นอกจากนี้ ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า การแพทย์ และสุขภาพอนามัย รวมทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์จะยังคงอยู่ในระดับสูงตามพฤติกรรมของผู้บริโภคนวิถี New-normal

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924