Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

ส่อง IPM แนวคิดการป้องกันแมลงรบกวนในโรงงานแปรรูปอาหาร

การเก็บรักษาผลผลิตและสินค้าสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารนั้นถือว่ามีความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องแมลงรบกวนที่สามารถส่งผลเสียต่อธุรกิจได้อย่างร้ายแรง ซึ่งสภาพแวดล้อมต่างๆ ของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารนั้น มีปัจจัยที่เหมาะสมต่อการแพร่พันธุ์และอยู่อาศัยของเหล่าแมลงรบกวน อันเป็นปัญหาหลักที่ต้องได้รับการจัดการอย่างถูกวิธีด้วยขั้นตอนที่มีประสิทธิผลและเด็ดขาด

ส่อง IPM แนวคิดการป้องกันแมลงรบกวนในโรงงานแปรรูปอาหาร

การปรับใช้แนวคิดของ Integrated Pest Management (IPM) หรือการบริหารจัดการแมลงรบกวนแบบผสมผสานโดยมุ่งเน้นการทำความเข้าใจสถานที่ตั้งและลักษณะของโรงงานเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยการทำความเข้าใจแมลง ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและลักษณะที่แมลงจะตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ ด้วยกระบวนการแยกแมลงออกจากพื้นที่ และการกำจัดแมลงผ่านขั้นตอนที่เป็นระบบ

Integrated Pest Management

  • เป็นรูปแบบที่มุ่งเน้นในการป้องกันและแก้ไขเพื่อลดการเพิ่มจำนวนของแมลงรบกวนเป็นหลัก
  • กระบวนการเหล่านี้จะเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์ และทำความเข้าใจพื้นที่ของโรงงาน รวมถึงกระบวนการต่างๆ ที่ดึงดูดเหล่าแมลง
  • จากนั้นจึงใช้ข้อมูลที่ได้มาดำเนินการวางแผนเพื่อปรับปรุงเข้ากับการบำรุงรักษาโรงงานเพื่อที่จะสามารถจับตาดูพฤติกรรมที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งดึงดูดความสนใจของเหล่าแมลงและจัดการได้อย่างทันท่วงที

ขั้นตอนกระบวนการ IPM ที่ Environment Protection Agency (EPA) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา
แนะนำมี 4 ขั้นตอนหลักๆ ดังนี้

  1. วางรูปแบบการดำเนินการเบื้องต้น ก่อนที่จะเริ่มดำเนินการตามแผนควบคุมแมลงนั้นควรจะหาจุดเริ่มต้นของการดำเนินการเสียก่อน ด้วยการระบุพื้นที่ที่ต้องการดำเนินการโดยดูจากปริมาณของแมลงหรือลักษณะสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยง กำหนดระดับภัยคุกคามจากแมลงถือเป็นจุดสำคัญที่จะวางรากฐานสำหรับการตัดสินใจในการควบคุมแมลงต่อไปในอนาคต
  2. จับตาและระบุรูปแบบแมลง การใช้งาน IPM ต้องมีการเฝ้าจับตาอย่างต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบและระบุรูปแบบของแมลง ทำให้สามารถวางแผนจัดการได้อย่างถูกต้อง การเผ้าระวังและระบุรูปแบบของแมลงนั้นจะช่วยให้ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลงในกรณีที่ไม่จำเป็นหรือใช้ยาไม่ตรงกับชนิดของแมลง
  3. การป้องกัน การจัดการ IPM ที่มีประสิทธิภาพนั้นจะเป็นการจัดการทั้งภายในและภายนอกของโรงงานเพื่อป้องกันภัยคุกคามจากแมลง การป้องกันนั้นรวมถึงการลดปัญหาความยุ่งเหยิง ปิดและควบคุมพื้นที่ที่แมลงสามารถเข้ามาในอาคารหรือพื้นที่ที่ต้องการได้ ส่วนสำคัญก็คือการทำให้พื้นที่ปราศจากขยะและวัชพืชซึ่งเป็นแหล่งอาหารชั้นดีสำหรับแมลงรวมถึง ทำให้แหล่งนำหรือพื้นที่ที่มีน้ำขังอยู่ห่างไกลจากตัวอาคารหรือพื้นเพาะปลูก
  4. การควบคุม หากพบว่ากระบวนการป้องกันนั้นไม่ก่อเกิดประสิทธิผลได้ดังที่ตั้งเป้า ต้องดำเนินการยกระดับกระบวนการ IPM ขึ้นไปอีกระดับ มุ่งเน้นกระบวนการที่มีความเสี่ยงสำหรับการควบคุมแมลงได้น้อย รวมถึงการใช้สารเคมีอย่างตรงเป้าหมาย (เช่น การใช้สารฟีโรโมนเพื่อรบกวนการขยายพันธุ์ของแมลง) หรือการควบคุมทางกล (เช่น การวางกับดัก) อย่างไรก็ตาม หากเฝ้าจับตาดูอย่างใกล้ชิดอย่างต่อเนื่อง จะสามารถระบุถึงต้นตอและที่มาของปัญหาได้ ทำให้สามารถจัดการปัญหาได้อย่างถูกต้อง เช่น การฉีดยาฆ่าแมลง

สำหรับกระบวนการจัดการปัญหาเรื่องแมลงรบกวนนั้นจะเห็นได้ว่ามุ่งเน้นไปที่การป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น วางมาตรการป้องกันแมลงทั้งภายในพื้นที่อาคารและพื้นที่ภายนอก เช่น การจัดการที่ทิ้งขยะให้สะอาดและอยู่ในสภาพที่ถูกปิดเอาไว้เสมอ น้ำขังในพื้นที่ต้องมีการจัดการอย่างถูกวิธีเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่พันธุ์

นอกจากนั้น ควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งแสงที่ดึงดูดแมลงภายในอาคารหรือหันมาใช้แสง LED ทดแทน มีการปิดประตูให้แน่นหนาหากบางพื้นที่จำเป็นต้องมีการเปิดประตูค้างเอาไว้หรือมีการเปิดปิดบ่อยควรจะติดตั้งม่านอากาศตรงบริเวณทางเข้า ควบคุมความสะอาดอย่างสม่ำเสมออีกทั้ง ควรทำงานร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญหรือบริษัทที่รับดูแลเกี่ยวกับการจัดการแมลง เพื่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุด

EXECUTIVE SUMMARY

To manage the facility or warehouse for food processing industry, one of the problem that should be concern is the pest that caused the problem and bring loss into the process. The entrepreneur should bring a solution to solve this problem, with Integrated Pest Management (IPM) which is the preventive methodology with 4 major concepts: set action thresholds, monitor and identify pest, prevention and control. Furthermore, the entrepreneur should cooperate with the expert or pest management company to succeed right into the problem.

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924