Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

เรดาร์เซ็นเซอร์ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของบ้านอัจฉริยะได้อย่างไร

จำนวนแอปพลิเคชันบ้านอัจฉริยะและอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเรดาร์เซ็นเซอร์ มีกำลังเติบโตเพิ่มมากขึ้น ทำให้ชีวิตประจำวันของผู้ใช้ สะดวกสบายมากขึ้น อย่างไรก็ตามก็ส่งผลให้มีการใช้พลังงานสูงขึ้น เนื่องจากอุปกรณ์เหล่านี้มักจะเปิดทำงานอย่างถาวร หรืออยู่ในโหมดสแตนด์บายเพื่อให้พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่มีใครอยู่ก็ตาม ด้วยการติดตั้งอุปกรณ์อัจฉริยะที่มีเรดาร์เซ็นเซอร์ Infineon XENSIV™ 60-GHz อุปกรณ์เหล่านี้ก็จะประหยัดพลังงานและยังมีความชาญฉลาดและยั่งยืนมากขึ้นอีกด้วย

อาคารอัจฉริยะและบ้านอัจฉริยะเป็นที่นิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และคาดว่าจำนวนดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในปีต่อ ๆ ไป ในปัจจุบันจำนวนบ้านอัจฉริยะทั่วโลกมีประมาณมากกว่า 200 ล้านแห่ง และคาดการณ์ว่าตัวเลขนี้จะเกิน 500 ล้านภายในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า (รูปที่ 1)

รูปที่ 1: การคาดการณ์ว่าจำนวนบ้านอัจฉริยะจะเกิน 500 ล้านในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

บ้านจะกลายเป็นบ้านอัจฉริยะก็ต่อเมื่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นระบบดิจิทัลที่มีฟังก์ชันการทำงานที่ชาญฉลาดมากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงนี้ก็มาพร้อมกับราคาที่สูงด้วย ความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้น แม้ว่ามีแนวโน้มก่อนหน้านี้ของการใช้พลังงานในโหมดสแตนด์บายที่ลดลงอย่างต่อเนื่องก็ตาม อุปกรณ์อัจฉริยะยังต้องการพลังงานแม้ในเวลาที่ถูก “ปิด” เมื่ออยู่ในโหมดสแตนด์บายซึ่งเป็นวิธีเดียวที่อุปกรณ์เหล่านี้จะสามารถตอบสนองได้ในทันทีต่ออินพุตจากผู้ใช้ (เช่น ผ่านการควบคุมด้วยเสียง เป็นต้น) หรือเพื่อให้ข้อมูลล่าสุดจากบ้านอัจฉริยะหรือเว็บ นอกจากนี้มีหลายครั้งที่ไม่มีความจำเป็นที่อุปกรณ์จะต้องทำงานในโหมดสแตนด์บายและใช้พลังงานซึ่งโดยหลักแล้วก็คือเมื่อไม่มีใครอยู่

เพื่อแก้ปัญหานี้และตอบสนองต่อข้อกำหนดทั้งการเปลี่ยนแปลงเป็นดิจิทัลและการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ Infineon จึงใช้ประโยชน์จากโซลูชันเซมิคอนดักเตอร์ หนึ่งในนั้นคือ เรดาร์เซ็นเซอร์ XENSIV™ ที่สามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์สมาร์ทโฮมได้เกือบทั้งหมด เรดาร์เซ็นเซอร์มีความไวสูงและสามารถตรวจจับได้ว่ามีคนอยู่หรือไม่ และอุปกรณ์จำเป็นต้องพร้อมใช้งานหรือไม่ เช่นเดียวกันกับสกรีนเซฟเวอร์หรือโปรแกรมรักษาจอภาพที่จะปิดการใช้งานจอภาพของ PC หลังจากช่วงเวลาหนึ่งที่ไม่มีอินพุตจากเมาส์หรือคีย์บอร์ด และกลับมาเปิดใช้งานอีกครั้งเมื่อมีอินพุตใหม่เข้ามา ด้วยการตรวจจับการคงอยู่ที่น่าเชื่อถือนี้ ทำให้เรดาร์เซ็นเซอร์ 60-GHz ของ Infineonมอบความทรงพลังในการทำงานให้กับการออกแบบอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงานและชาญฉลาดอย่างแท้จริง

การเปรียบเทียบกิจกรรมที่เปิดใช้งานด้วยสถานะของผู้ใช้งานกับกิจกรรมที่ทำงานต่อเนื่องหรือใช้โหมดสแตนด์บาย

จากการสำรวจของ Statista ที่ดำเนินการในเยอรมนีในปี 2564 โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 3,000 ที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 64 ปี ซึ่งเกือบสามในสี่เป็นเจ้าของอุปกรณ์สมาร์ทโฮมอย่างน้อยหนึ่งเครื่อง ในสหรัฐอเมริกามีตัวเลขสัดส่วนที่คล้ายคลึงกัน (รูปที่ 2) ในขณะที่ในประเทศจีนเปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้อุปกรณ์สมาร์ทโฮมสูงถึง 90% อุปกรณ์มีความหลากหลายตามการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟแสงสว่าง, อุปกรณ์รักษาความปลอดภัย, เครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น ทีวี แล็ปท็อป และซาวด์บาร์ เป็นต้น, เครื่องใช้ในครัว และเครื่องปรับอากาศ แต่อุปกรณ์เหล่านี้กำลังมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นซึ่งเป็นผลที่ไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ต้นทุนพลังงานสูงขึ้น เมื่อลูกค้าต้องการอุปกรณ์ที่ประหยัดพลังงาน มีความยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยิ่งไปกว่านั้นโครงสร้างพื้นฐานของกริดยังอยู่ภายใต้ความตึงเครียดที่เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

รูปที่ 2: จำนวนอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านในสหรัฐอเมริกากำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว จากข้อมูลของ Statista

แทนที่จะตั้งค่าให้อุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เทอร์โมสตัท ลำโพงอัจฉริยะ และผู้ช่วยดิจิทัล อยู่ในโหมดสแตนด์บาย วิธีหนึ่งในการลดการใช้พลังงานคือ กำหนดให้อุปกรณ์อยู่ใน “โหมดดีปสลีป” เมื่อไม่มีใครอยู่ สำหรับอุปกรณ์บางประเภทการกำหนดดังกล่าวสามารถประหยัดพลังงานได้ไม่กีวัตต์หรือเพียงเศษเสี้ยวเท่านั้น แต่ก็มีกรณีการใช้งานที่คุณสามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่า 100 W หากคุณตั้งค่าอุปกรณ์ให้อยู่ในโหมดดีปสลีป หรือปิดเครื่องเป็นการชั่วคราวเมื่อไม่มีคนอยู่ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้งานอุปกรณ์เหล่านี้ เช่น จอทีวี, แล็ปท็อป, ระบบเสียง และเครื่องปรับอากาศ เป็นต้น การใช้เรดาร์เซ็นเซอร์จะทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถรับรู้ถึงสถานะการปรากฏตัวหรือการเคลื่อนไหวของผู้คน หากยังไม่มีแรงกระตุ้นเหล่านี้ อุปกรณ์อัจฉริยะที่ใช้เรดาร์จะสามารถเปลี่ยนเป็นโหมดสลีปและประหยัดพลังงานโดยอัตโนมัติ ทั้งนี้โมดูลเรดาร์ใช้พลังงานเพียงไม่กี่มิลลิวัตต์และใช้พลังงานสูงสุง 0.1 W ซึ่งต่ำกว่าความต้องการพลังงานของการ “เปิด” หรือโหมดสแตนด์บายมาตรฐานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับเซ็นเซอร์และการใช้งาน (รูปที่ 3)

รูปที่ 3: ศักยภาพการประหยัดพลังงานด้วยอุปกรณ์อัจฉริยะที่ขับเคลื่อนด้วยเรดาร์

วิธีใช้เรดาร์เซ็นเซอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน 

ในการประหยัดพลังงานจำเป็นต้องมีการคิดค้นวิธีขึ้นมาใหม่ที่อุปกรณ์จะต้องพร้อมใช้งานและเชื่อมต่ออยู่เสมอ ซึ่งรวมถึงโหมดสแตนด์บายที่ใช้พลังงานมาก เราต้องการอุปกรณ์ที่ทำงานหรืออยู่ในโหมดสแตนด์บายเมื่อจำเป็นจริง ๆ เท่านั้น กล่าวคือ เมื่อมีผู้ใช้ปรากฏตัวอยู่ นั่นคือสิ่งที่เราทำในปัจจุบันในบ้านที่ “ไม่ใช่อัจฉริยะ” เมื่อเราเปิดไฟเมื่อเข้าไปในห้องหรือเปิดใช้งานเครื่องปรับอากาศด้วยตนเองเฉพาะเมื่อภายในห้องร้อนเกินไป แต่ในอุปกรณ์จำนวนมากคุณสมบัติการประหยัดพลังงาน เช่น ไทม์เอาต์ กลับไม่ได้ถูกใช้งานหรือถูกปิดการใช้งานโดยตัวผู้ใช้ ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากคุณสมบัติเหล่านั้นที่เชื่อมต่อกับฟังก์ชันการทำงานระดับสูงอาจทำให้มีเวลาบูตที่นานและขาดข้อมูลล่าสุด โดยเฉพาะหลังจากความไม่สะดวกในการเปิดใช้งานด้วยตนเอง ดังนั้นการเปิดใช้งานใหม่จะทำให้ประสบการณ์ของลูกค้าแย่ลงมาก

แต่แนวทางใหม่อันชาญฉลาดอาจเป็นคำตอบสำหรับคำถามมากมาย เช่น เพราะเหตุใดจึงต้องเปิดจอแสดงผลเทอร์โมสตัทตลอดเวลา และเพราะเหตุใดจึงต้องเชื่อมต่ออุปกรณ์กับอินเตอร์เน็ตตลอดเวลาเพื่อดาวน์โหลดข้อมูลสภาพอากาศ? เพราะเหตุใดกล้องของระบบรักษาความปลอดภัยบ้านจะต้องเปิดไว้ บันทึกข้อมูล ประมวลผลล่วงหน้า และถ่ายโอนข้อมูลไปยังระบบคลาวด์ตลอดเวลา แม้ว่าจะไม่มีใครเคลื่อนไหวในพื้นที่ที่กำลังเฝ้าติดตามอยู่? วิธีที่ดีที่สุดในการบรรลุผลในวิธีการที่ชาญฉลาดกว่าในการเปิดใช้งานอุปกรณ์คือ การใช้การตรวจจับการเคลื่อนไหวที่เปิดใช้งานด้วยเรดาร์เซ็นเซอร์เพื่อปลุกอุปกรณ์จากโหมดดีปสลีป

ตัวอย่างเช่น ตัวควบคุมอุณหภูมิอัจฉริยะสามารถปิดได้ตามค่าเริ่มต้น ในขณะที่เปิดใช้งานโมดูลตรวจจับเรดาร์เท่านั้น ในทันทีที่เรดาร์ตรวจพบการเคลื่อนไหวในห้อง เทอร์โมสตัทก็จะถูกเปิดใช้งานเพื่ออัปเดตข้อมูลมาตรฐานจากบ้านและข้อมูลสภาพอากาศจากอินเตอร์เน็ต จอแสดงผลจะเปิดขึ้นเมื่อมีคนเข้ามาสู่พื้นที่ที่กำหนด เช่น ภายในรัศมี 1 เมตรของอุปกรณ์ ดังนั้นผู้ใช้จะไม่ต้องสัมผัสหน้าจอเพื่อเปิดใช้งาน จากนั้นก็รอให้ข้อมูลอัปเดตและผลลัพธ์ก็จะแสดงออกมา แนวคิดของการตรวจจับสถานะการปรากฏตัวนี้สามารถปรับใช้ในอุปกรณ์สมาร์ทโฮมและอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้านอื่น ๆ 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้หลักการย้อนกลับของการตรวจจับตำแหน่งว่าง ซึ่งมีศักยภาพมากขึ้นในการประหยัดพลังงาน ในกรณีนี้อุปกรณ์ เช่น โทรทัศน์ ลำโพง หลอดไฟอัจฉริยะ และเครื่องปรับอากาศ สามารถปิดการทำงานหากตรวจไม่พบการเคลื่อนไหวในห้องในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งช่วยลดพลังงานได้อย่างมากเนื่องจากการตรวจจับตำแหน่งว่างไม่ได้เกี่ยวกับการเปิดใช้งานอุปกรณ์ในทันที แต่เป็นการปิดการใช้งานเป้าหมายเมื่อไม่มีใครอยู่รอบ ๆ ชั่วขณะหนึ่ง โมดูลเซ็นเซอร์นี้สามารถปิดใช้งานและทำการตรวจสอบทุก ๆ สองสามวินาทีหรือสองสามนาทีเท่านั้น ดังนั้นโมดูลเซ็นเซอร์ก็สามารถประหยัดพลังงานได้มหาศาลสำหรับทั้งระบบในขณะที่ใช้พลังงานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาคารที่มีระบบ HVAC สามารถได้รับประโยชน์จากหลักการนี้ เนื่องจากพลังงานส่วนใหญ่สูญเสียไปในการทำความร้อนและทำความเย็น แม้ว่าจะไม่มีใครอยู่ก็ตาม1 ที่เลวร้ายกว่านั้นคือมีหลายกรณีที่อุปกรณ์เหล่านี้ทำงานบ่อยครั้งและเป็นระยะเวลานาน2 อย่างไรก็ตาม บ้านอัจฉริยะที่แท้จริงจะปิดการใช้งานระบบเหล่านั้นทันทีที่เป็นพื้นที่ว่างไประยะหนึ่ง คุณสมบัตินี้ค่อย ๆ กลายเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับระบบไฟแสงสว่าง แต่ยังไม่มีในเครื่องปรับอากาศและอุปกรณ์อื่น ๆ เช่น จอภาพ เครื่องใช้ในครัว คอมพิวเตอร์ ลำโพง และระบบเสียง

ผู้ใช้ยังสามารถได้รับประโยชน์จากการตรวจจับตำแหน่งว่างในการใช้งานอื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ เป็นต้น ยกตัวอย่างเช่น เรดาร์เซ็นเซอร์ BGT60LTR11AIP ของ Infineon (รูปที่ 4) ถูกนำไปใช้ใน Frame TV 2021 ของซัมซุง (รูปที่ 5) เซนเซอร์เรดาร์จะเปลี่ยนทีวีจากโหมดอาร์ต (Art) เป็นโหมดสลีป (Sleep) เมื่อไม่มีใครอยู่ใกล้ในช่วงระยะเวลาที่ผู้ใช้กำหนดไว้ ซึ่งไม่เพียงแต่ประหยัดพลังงานแต่ยังช่วยยืดอายุการแสดงผลอีกด้วย

รูปที่ 4: เรดาร์เซ็นเซอร์ XENSIV™ 60-GHzของ Infineon ขับเคลื่อนการออกแบบของอุปกรณ์ประหยัดพลังงานอัจฉริยะอย่างแท้จริง เรียนรู้เพิ่มเติมที่ www.infineon.com/BGT60LTR11AIP
รูปที่ 5: Samsung Frame TV 2021 เปลี่ยนจากโหมดอาร์ต (Art) เป็นโหมดสลีป (Sleep) เมื่อตรวจไม่พบใครในช่วงเวลาที่ผู้ใช้กำหนดไว้

เรดาร์เซ็นเซอร์เป็นตัวเลือกในการตรวจจับที่เหมาะสมที่สุดสำหรับอุปกรณ์สมาร์ทโฮม 

ในบรรดาโซลูชันการตรวจจับการเคลื่อนไหวที่มีอยู่ทั้งหมด เรดาร์เซ็นเซอร์มีความไวสูงสุดแม้แต่กับการเคลื่อนไหวที่เล็กที่สุด ซึ่งบางส่วนไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าของมนุษย์ เซ็นเซอร์ PIR ไม่สามารถแข่งขันในแง่ของความไวนี้ได้ อีกทั้งเรดาร์ไม่อาศัยความร้อนจากร่างกายในแบบที่ PIR ทำงาน เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีการตรวจจับแบบแอคทีฟ ซึ่งช่วยให้แน่ใจได้ว่าบุคคลจะถูกตรวจจับแม้ในขณะที่แทบไม่มีการเคลื่อนไหวหรือไม่มีการเคลื่อนไหวเลย แต่ข้อดีที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งก็คือ การตรวจจับผ่านวัสดุไม่นำไฟฟ้า ในขณะที่อินฟาเรด อัลตราโซนิก กล้อง และเซนเซอร์แบบใช้ภาพอื่น ๆ จะต้องไม่ถูกปิดบังหรือต้องเปิดช่องในเคสของผลิตภัณฑ์ แต่เซนเซอร์เรดาร์สามารถซ่อนไว้ข้างในอุปกรณ์ได้อย่างสมบูรณ์ ด้วยเหตุนี้คุณจึงไม่ต้องหาหนทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าว และสามารถหลีกเลี่ยงขั้นตอนการผลิตและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการบรรจุในผลิตภัณฑ์ที่มีการดัดแปลงที่สอดคล้องกัน 

ความเป็นไปได้อีกประการหนึ่งคือ การตรวจจับการเคลื่อนไหวด้วยกล้อง ตัวอย่างเช่น สำหรับกล้อง ทีวี แล็ปท็อป และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีเซนเซอร์ภาพที่เหมาะสมอยู่แล้ว ระบบภาพมีการใช้พลังงานสูงมาก แม้ว่าอาจจะต้องการสภาพแสงโดยรอบที่ดี และมีความจำเป็นในการประมวลผลภาพเพื่อตรวจจับการเคลื่อนไหวจากวิดีโอซึ่งต้องใช้พลังงานมหาศาล นอกจากนี้การขาดความเป็นส่วนตัวมักถูกอ้างถึงว่าเป็นข้อกังวล เนื่องจากระบบที่ใช้กล้องจะบุกรุกพื้นที่ส่วนตัว ดังนั้นผู้ใช้จึงไม่ไว้วางใจอย่างเต็มที่

นอกจากนี้ ราคาที่ลดลงสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคก็กำลังเพิ่มแรงกดดันด้านต้นทุนของส่วนประกอบ ดังนั้นเซนเซอร์ 3D Time-of-Flight (ToF) และเซนเซอร์กล้องจึงมักจะแพงเกินไปที่จะนำมาใช้งานในการตรวจจับสถานะการปรากฏตัว แม้แต่โซลูชัน PIR อันทรงพลังที่ไม่เพียงส่งผลต่อการออกแบบการบรรจุในผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ยังจำเป็นต้องมีเลนส์ Fresnel, แอมพลิฟายเออร์, ตัวควบคุม และอื่น ๆ เพิ่มเติมอีกด้วย ซึ่งจะทำให้ต้นทุนวัสดุเพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเซนเซอร์เรดาร์ BGT60LTR11AIP ของ Infineon ที่ต้องการส่วนประกอบสนับสนุนขั้นต่ำเท่านั้น โดยเฉพาะในการทำงานแบบอัตโนมัติ ดังนั้นจึงมีผลกระทบน้อยที่สุดต่อต้นทุนของระบบ เนื่องจากเซนเซอร์เรดาร์มีขนาดเล็กจึงสามารถรวมอยู่ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดเล็กและบางได้ นอกจากนี้เรดาร์เซ็นเซอร์ยังมีความทนทานในสภาพแวดล้อมที่มีฝุ่น ควัน หรือชื้นอีกด้วย ในขณะที่เลเซอร์ ToF แบบใช้เลเซอร์หรือเซ็นเซอร์แบบใช้ภาพอื่น ๆ บางตัวอาจจะมีประสิทธิภาพในการตรวจจับลดลง

ฟังก์ชันอัจฉริยะเพิ่มเติมที่เปิดใช้งานโดยเรดาร์เซ็นเซอร์

การจัดการอุปกรณ์ที่ไม่ดียังทำให้สิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่จำเป็น ผู้ใช้อาจจะไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งนี้เสมอ แต่จะสิ้นเปลืองพลังงานโดยไม่ตั้งใจเมื่อไม่สามารถปิดอุปกรณ์หรือปรับตั้งค่าเมื่อพวกเขาจะไม่อยู่เป็นการชั่วคราว อย่างไรก็ตาม ด้วยความช่วยเหลือของเรดาร์เซ็นเซอร์ปัญหานี้สามารถควบคุมได้โดยอัตโนมัติเพื่อให้ผู้ใช้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวแต่จะมั่นใจได้ว่าจะไม่สิ้นเปลืองพลังงาน

นอกจากจะใช้เครื่องตรวจจับสถานะการปรากฏตัวแล้ว เรดาร์เซ็นเซอร์ยังสามารถเพิ่มฟังก์ชันอื่น ๆ ให้กับอุปกรณ์อัจฉริยะอีกด้วย เช่น ในระบบปรับอากาศ เป็นต้น ในการใช้งานดังกล่าวเซนเซอร์เรดาร์จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อรวมกับเซ็นเซอร์อุณหภูมิและเซ็นเซอร์ CO2 ดังนั้นระบบจึงเปิดใช้งานตามความจำเป็น เช่น เมื่อมีคนอยู่ในห้อง เมื่อมีระดับ CO2 สูงเกินไป หรือเมื่ออุณหภูมิเกิดขีดจำกัดที่กำหนดไว้ล่วงหน้า ในขณะที่เทคโนโลยีการตรวจจับอื่น ๆ มักจะให้ข้อมูลไบนารีเท่านั้น เช่น ปรากฏตัวอยู่หรือหายไป เป็นต้น แต่เรดาร์เซ็นเซอร์สามารถตรวจสอบจำนวนจำนวนคนในห้องและปรับระดับตามระยะเริ่มต้น หรือแม้แต่ตรวจสอบตำแหน่งและระยะห่างของผู้คนเพื่อควบคุมทิศทางการไหลของอากาศ 

มีกรณีการใช้งานอื่น ๆ ที่เป็นไปได้ เช่น ระบบเสียงที่ติดตามตำแหน่งของผู้ฟังและปรับระดับความดังและพารามิเตอร์ของเสียงให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง ทีวีที่มีการดูแลเด็กซึ่งวัดระยะห่างของผู้ชมและแจ้งเตือนหากดวงตาของเด็กอยู่ใกล้จอภาพเกินไป หรืออุปกรณ์สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่ต้องการการดูแล เช่น ระบบเตือนภัยที่เรียกขอความช่วยเหลือในกรณีที่หกล้ม ดังนั้น เรดาร์เซ็นเซอร์สามารถช่วยประหยัดพลังงานและไม่เพียงแค่ช่วยสร้างความสะดวกสบายให้ผู้คน แต่ยังช่วยสร้างความเป็นอยู่ที่ดี และความปลอดภัยส่วนบุคคลในภาพแวดล้อมที่ชาญฉลาด

สนใจข้อมูลเพิ่มเติมคลิก:
Infineon

ข้อมูลอ้างอิง:
1 Martani, C., Lee, D., Robinson, P., Britter, R., และ Ratti, C. (2012). “ENERNET: การศึกษาความสัมพันธ์แบบไดนามิกระหว่างการเข้าพักอาศัยในอาคารและการใช้พลังงาน” พลังงานและอาคาร, 47, 584–591. bit.ly/3utyL73 2 Norford, L., Socolow, R., Hsieh, E., และ Spadaro, G. (1994). “ความคลาดเคลื่อนแบบสองต่อหนึ่งระหว่างการวัดผลและการคาดการณ์ประสิทธิภาพการทำงานของอาคารสำนักงาน ‘พลังงานต่ำ’: ข้อมูลเชิงลึกจากการเชื่อประสานกันตามโมเดล DOE-2” พลังงานและอาคาร, 21(2), 121–131. bit.ly/35FRQIB

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924