Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

5 เทรนด์หุ่นยนต์ต้องจับตาในปี 2023 จาก IFR

International Federation of Robotics หรือ IFR ได้รายงานว่าหุ่นยนต์ที่ทำงานอยู่ทั่วโลกนั้นทำลายสถิติใหม่ด้วยจำนวน 3.5 ล้านหน่วยในการติดตั้งใช้งาน มีมูลค่ากว่า 15,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีการวิเคราะห์เทรนด์ที่น่าจับตาไว้ดังนี้

1. การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพนั้นเป็นกุญแจสำคัญของความสามารถในกรแข่งขันสำหรับองค์กรท่ามกลางต้นทุนพลังงานที่เพิ่มขึ้น การใช้งานหุ่นยนต์จะช่วยลดการใช้พลังงานในการผลิตได้หลายทาง หากพิจารณาดูสายการประกอบดั้งเดิมจะพบว่าการประหยัดพลังงานสามารถเกิดขึ้นได้ผ่านการลดความร้อน ในขณะเดียวกันเมื่อหุ่นยนต์ทำงานด้วยความเร็วสูงจะเพิ่มอัตราการผลิตที่ทำให้กระบวนการเหล่านั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้นทั้งในมุมของพลังงานและเวลา

ปัจจุบันหุ่นยนต์ถูกออกแบบให้ใช้พลังงานน้อยลงซึ่งลดต้นทุนโดยตรง และเพื่อให้เป็นไปตามเป้าประสงค์ด้านความยั่งยืนในการผลิต โรงงานต่างใช้หุ่นยนต์ร่วมกับเทคโนโลยีที่ช่วยประหยัดพลังงานอื่น ๆ ใช่ ชุดแปลงพลังงาน Kinetic เป็นพลังงานไฟฟ้าและจ่ายพลังงานกลับไปยัง Power Grid หรือ Smart Power Saving Mode ที่ควบคุมซัพพลายพลังงานในการทำงานแต่ละวัน

2. ย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ

ความยืดหยุ่นต่อความท้าทายที่เปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นฟันเฟืองหลักที่ผลักดันให้การผลิตนั้นกลับสู่มาตุภูมิในหลาย ๆ อุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ที่มีการทุ่มงบอย่างหนักในส่วนชองซัพพลายเพื่อทำให้กระบวนการต่างๆ เกิดขึ้นใกล้กับผู้บริโภคมากที่สุด ผู้ผลิตเหล่านี้ใช้หุ่นยนต์ในการผลิตแบตเตอรี่ด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพและสนับสนุนการผลิต EV ได้ในปริมาณมาก ลดปัญหาในการขนส่งแบตเตอรี่เป็นระยะทางไกลซึ่งจะเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการขนส่งอีกด้วย

ในการย้ายฐานการผลิต Microchip กลับยุโรปและอเมริกานั้นเป็นอีกหนึ่งเทรนด์สำคัญ เนื่องจากแทบทุกอุปกรณ์ในปัจจุบันนั้นต้องมีชิปเซมิคอนดักเตอร์ในการใช้งาน ทำให้การมีซัพพลายใกล้ตัวนั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก และหุ่นยนต์นี่เองที่เป็นผู้เล่นสำคัญในการผลิตชิปเพราะต้องการความแม่นยำในระดับสูง

3. หุ่นยนต์จะใช้งานง่ายขึ้น

การเขียนโปรแกรมให้หุ่นยนต์จะง่ายดายยิ่งขึ้นและคนที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจะเปิดโอกาสในการเข้าถึงได้มากขึ้นเช่นกัน หลายบริษัทใหญ่ด้านซอฟต์แวร์เริ่มพัฒนาโปรแกรมที่เอื้อให้ผู้ไร้ประสบการณ์สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ผูผลิตเครื่องมือสามารถทำงานด้วย Low Code หรือเทคโนโลยีที่ไม่ต้องการ Code ได้ ผู้ใช้งานทึกระดับจึงสามารถเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์ได้

ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ง่ายเหล่านี้จับคู่กับประสบการณ์ผู้ใช้งานจะมาทดแทนการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์แบบดั้งเดิมและเพิ่มโอกาสใหม่ ๆ ให้กับตลาดหุ่นยนตืและระบบอัตโนมัติ Startup ทั้งหลายสามารถเข้าสู่ตลาดได้ด้วยความเชี่ยวชาญจำเพาะสำหรับ SME ได้ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรมน้ำหนักมากสามารถติดตั้งเซนเซอร์และซอฟต์แวร์ใหม่ที่ทำให้ตั้งค่าการทำงานแบบควบคู่ไปด้วยกันได้ ทำใหแรงงานปรับแต่งเครื่องจักรหนักสำหรับงานได้หลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Interface ที่ทำให้เขียนโปรแกรมได้ง่ายและซอฟต์แวร์ที่ถูกตั้งค่าพื้นฐานมาล่วงหน้าไปจนถึงแอปพลิเคชันที่ดาวน์โหลดเพิ่มเติมได้จะเป็นตัวส่งเสริมการเติบโตสำหรับการใช้งานหุ่นยนต์ยุคใหม่ได้เป็นอย่างดี

4. ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Digital Automation

ด้วยความก้าวหน้าในเทคโนโลยีดิจิทัล ตัวแทนจำหน่ายหุ่นยนต์และ SI เสนอแอปพลิเคชันใหม่ ๆ และยกระดับสิ่งที่มีอยู่ไม่ว่าจะเป็นความเร็วหรือคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ่นยนต์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบจะเป็นตัวเปลี่ยนอุตสาหกรรมการผลิต เมื่อหุ่นยนต์นั้นมีการทำงานโดยเป็นส่วนหนึ่งของ Digital Ecosystem ที่เชื่อมต่อกันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น Cloud Computing, Big Data Analytics หรือเครือข่ายไร้สาย 5G จะช่วยเพิ่มศักยภาพกรทำงานเดิม และ 5G นี้เองที่จะทำให้เกิดกระบวนการผลิตดิจิทัลแบบเต็มศักยภาพโดยไม่ต้องมีสายเกะกะบนพื้นโรงงานอีกต่อไป

AI นั้นมีอิธิพลอย่างมากกับทุกสิ่ง และในส่วนของหุ่นยนต์เองก็เรียกได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสใหม่อย่างมากมายในธุรกิจการผลิตเป้าหมายในการใช้งาน AI สำหรับหุ่นยนต์นั้นก็เพื่อจัดการความแปรปรวนและปัญหาภายนอกที่คาดเดาได้ยากไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบ Real-time หรือ Off-line ก็ตาม AI จะช่วยสนับสนุน Machine Learning ในการ Optimize ระบบ การซ่อมบำรุงเชิงคาดการณ์และการหยิบจับชิ้นส่วนโดยใช้กล้อง กิจกรรมต่าง ๆ จะเกิดขึ้นอย่างง่ายดาย ไม่ว่างานโลจิสติกส์ งานสายพานการประกอบ ไปจนถึงร้านขายสินค้า

5. ชุบชีวิตใหม่ให้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม

อายุขัยของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนั้นมีมากถึง 30 ปี อุปกรณ์ใหม่ ๆ จะกลายเป็นโอกาสที่ 2 ให้หุ่นยนต์เหล่านั้น ผู้ผลิตอย่าง ABB, Fanuc, KUKA, Stäubli หรือ Yaskawa มีศูนย์ซ่อมแซมพิเศษเพื่อ Refurbish หรืออัปเกรดหุ่นยนต์ใช้แล้วในรูปแบบที่ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า กลยุทธ์ที่เตรียมพร้อมสำหรับการซ่อมบำรุงหุ่นยนต์จากผู้ผลิตสู่ลูกค้าจะช่วยลดทั้งต้นทนและทรัพยากรได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสนับสนุนการทำงานตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนอีกด้วย

ที่มา:
ifr.org

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924