Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

มนุษย์โรงงานในยุคดิจิทัลไปทางไหนดี? พบคำตอบได้ที่งาน AUTOMATION EXPO 2024

ขึ้นชื่อว่าเป็นวิศวกรในโรงงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้จัดการโรงงาน หัวหน้าแผนก ผู้ดูแลสายการผลิต ไปจนถึงวิศวกรชำนาญการต่าง ๆ ล้วนต้องทำงานอย่างเหน็ดเหนื่อยเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในสายการผลิตตลอดทั้งวัน ยังไม่นับรวมไปถึงโจทย์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากความต้องการของลูกค้า เรียกว่าเป็นการทำงานที่ต้องรีดเร้นศักยภาพสมอง ร่างกาย และพลังใจไม่น้อย มาร่วมค้นหาคำตอบและทางออก ‘มนุษย์โรงงาน’ ที่ต้องทำงานในยุคสมัยแห่งการเปลี่ยนแปลงได้ที่งาน AUTOMATION EXPO 2024 ดูสิครับ

การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมนั้นเต็มไปด้วยกิจกรรมอันซับซ้อนและมีรายละเอียดปลีกย่อยจำนวนมหาศาล มีทั้งปัญหาที่มองเห็นได้ชัดเจน ปัญหาที่มองไม่เห็น และปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังซึ่งเป็นปัญหาต่อเนื่องซึ่งพบได้ทั่วไป ในขณะเดียวกันกิจกรรมการผลิต การจัดซื้อ การส่งมอบ ตลอดจนการทำการตลาดติดต่อธุรกิจต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา มนุษย์โรงงานจึงต้องเผชิญหน้ากับความเหนื่อยล้าทั้งทางร่างกาย จิตใจ ทั้งยังต้องเค้นศักยภาพของการวิเคราะห์และจดจำต่าง ๆ อย่างมหาศาล การทำงานในโรงงานจึงมีทั้งความท้าทายและความบั่นทอนที่เกิดขึ้นไม่เว้นวัน ส่งผลกระทบต่อทั้งชีวิตส่วนตัวและคุณภาพการทำงานในเวลาเดียวกัน

‘ดิจิทัลโซลูชัน’ ทางออกสำหรับความท้าทายและการแข่งขันของโรงงานยุคใหม่

เพื่อแก้ไขปัญหาและความท้าทายที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของมนุษย์โรงงาน ปัญหาของธุรกิจที่หาที่มาไม่ได้ หรือแก้ไขปัญหาความขาดแคลนของทักษะ ตลอดจนศักยภาพในการบริหารจัดการต่าง ๆ จึงได้มีการพยายามพัฒนาเทคโนโลยีและโซลูชันใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อแบ่งเบาภาระ เปลี่ยนจากการทำงานเดิมที่เคย Work Hard ให้กลายเป็นการทำงานแบบ Work Smart เปลี่ยนการผลิตสู่รูปแบบของ Smart Manufacturing ที่เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนสำคัญ เปลี่ยนจากการเก็บข้อมูลบนกระดาษสู่ไฟล์ที่หลากหลาย ทำให้สามารถตรวจสอบและบริหารจัดการได้อย่างง่ายดาย

Factory Transformation สู่การตั้งคำถามและความรู้สึกไม่มั่นใจของ ‘มนุษย์โรงงาน’

ข้อมูลจาก Oracle ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT ชี้ให้เห็นถึง 3 เทรนด์สำคัญที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เทรนด์แรกเป็นการเล่าถึงการลงทุนเทคโนโลยีที่มากขึ้นโดยอ้างอิงจากผลการสำรวจของ Deloitte ในปี 2023 ชี้ให้เห็นว่าการลงทันหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพื่อลดต้นทุน เพิ่มความเร็ว และทดแทนปัญหาขาดแคลนแรงงานนั้นมีมากถึง 62% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ในขณะที่การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเพิ่มการคาดากรณ์และตรวจสอบความขาดแคลนแรงงานในสายการผลิตมีมากถึง 60% ในขณะที่การเก็บข้อมูลจากเซนเซอร์และอุปกรณ์เพื่อนเพิ่มความสามารถในการผลิต ซัพพลายเชน และการซ่อมบำรุงอยู่ที่ 39% ในขณะที่ข้อมูลจาก McKinsey คาดการณ์ความต้องการของแรงงานไปในทิศทางเดียวกัน โดยระบุว่าความต้องการทักษะที่ทำงานด้วยมือเน้นใช้ร่างกายลดลงถึง 30% ตลอดทศวรรษที่กำลังมาถึง ในขณะที่ความต้องการทักษะเชิงเทคนิคจะเพิ่มขึ้นถึง 50% และจากความต้องการที่สวนทางกันนี้ทำให้เกิดการแย่งชิงแรงงานทักษะสูง

ในขณะที่โรงงานมีความพยายามนำเทคโนโลยีและโซลูชันใหม่ ๆ เข้ามาแก้ปัญหาเดิมที่มีอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องประสิทธิภาพการทำงาน คุณภาพของชิ้นงานหรือสินค้า ตลอดจนการลดต้นทุนและสร้างความเชื่อมั่นให้กับคู่ค้าอย่างยั่งยืน แต่ในอีกมุมหนึ่งนั้นการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวยังนำมาซึ่งความวิตกกังวลของผู้คนที่ทำงานในโรงงาน เนื่องจากเป็นการพลิกกระบวนการทำงานให้แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงในบางหน้าที่ เช่น แผนการประกอบหรือการผลิตที่มีการใช้หุ่นยนต์แทนมนุษย์ หรืองานตรวจสอบคุณภาพด้วยระบบกล้องอัจฉริยะ ในขณะที่ผู้ดูแลระบบเดิมต้องเผชิญหน้ากับความซับซ้อนของเทคโนโลยีที่มากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องความปลอดภัยหรือการบูรณาการระบบที่มีความแตกต่างหลากหลายเข้าด้วยกัน

จากเทรนด์ที่เกิดขึ้นทำให้การพัฒนาทักษะของแรงงานกลายเป็นเรื่องสำคัญลำดับที่ 1 หากยังต้องการทำงานในธุรกิจการผลิต ความเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งเดียวที่มนุษย์โรงงานสามารถมั่นใจได้ว่าจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน แต่ในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้นั้นอาจกลายเป็นเครื่องหมายคำถามขนาดใหญ่ที่ไม่รู้จะเริ่มต้นที่ตรงไหนและจะไปลงเอยที่ใดสำหรับอนาคตที่ดูเหมือนจะไม่แน่นอนเช่นนี้

3 ประเด็นสร้างความเปลี่ยนแปลงของ ‘มนุษย์โรงงาน’ สู่การผลิตยุคดิจิทัล ที่ค้นพบได้ในงาน AUTOMATION EXPO 2024

เพื่อสนับสนุนให้เกิดโอกาสและศักยภาพสำหรับแรงงานในการ Up-Skill และ Re-Skill ที่เข้าใจทั้งเชิงลึกและภาพกว้างของฉากทัศน์อุตสาหกรรมใหม่ที่เปลี่ยนแปลงไป AUTOMATION EXPO 2024 งานแสดงเทคโนโลยีและโซลูชันระบบอัตโนมัติสำหรับภาคการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออก ได้จัดงานขึ้นภายใต้แนวคิด ‘Smart Human for Smart Manufacturing’ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านของเหล่ามนุษย์โรงงานและผู้ประกอบการให้เกิดขึ้นได้ด้วยกันอย่างยั่งยืน

ภายในงานมีทั้งพื้นที่พิเศษอย่าง Industrial Internet of Things: The Ecosystem ที่นำเสนอเทคโนโลยีสำหรับการผลิตยุคดิจิทัลตั้งแต่โครงสร้างพื้นฐาน ระบบเครือข่ายไปจนถึงการเก็บข้อมูลด้วยเซนเซอร์และต่อยอดข้อมูลด้วยโซลูชันด้าน IT สมัยใหม่ ที่ทำให้การทำงานเป็นเรื่องง่าย วัดผลได้ชัดเจน นอกเหนือจากการสัมผัสเทคโนโลยีและโซลูชันอันทันสมัยแล้ว AUTOMATION EXPO 2024 ยังอัดแน่นไปด้วยหัวข้อสัมมนาจากผู้เชี่ยวชาญตัวจริงในวงการอีกกว่า 60 หัวข้อซึ่งมีความทันสมัยและนำไปใช้ได้จริง หมุนเวียนไม่ซ้ำตลอดเวลาการจัดงานทั้ง 3 วัน พร้อมรับใบประกาศเมื่อเข้าร่วมอบรมจนครบเวลาอีกด้วย นับเป็นงานแสดงสินค้าด้านอุตสาหกรรมไม่กี่งานที่มองภาพถึงแรงงาน ผู้เกี่ยวข้องในโรงงาน ตลอดจนผู้บริหารอย่างครบมิติ เหมาะสำหรับมนุษย์โรงงานที่ต้องการความก้าวหน้า การเติบโต และเอาชนะความท้าทายตลอดจนความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นในโรงงานยุคปัจจุบัน

สำหรับผู้ที่ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับสายอาชีพของตัวเองในโรงงาน การเข้าร่วมสัมมนาและชมโซลูชัน AUTOMATION EXPO 2024 นั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เห็นทั้งภาพลึก ภาพกว้าง และเข้าใจทิศทางที่ต้องการเติบโตในโรงงานยุคใหม่ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยภายในงานจะตอบโจทย์สำหรับมนุษย์โรงงานในโลกยุคดิจิทัล ดังนี้

1. จุดไฟแห่งการเปลี่ยนแปลง! เริ่มต้นการเติบโตที่ ‘ตัวเอง’

สิ่งสำคัญที่สุดในการเติบโตก้าวหน้าและการเปลี่ยนแปลง คือ การตัดสินใจเริ่มต้นด้วยตัวเอง AUTOMATION EXPO 2024 เต็มไปด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันที่ตอบสนองต่องานหลากหลายภาคส่วนในโรงงาน ตลอดจนองค์ความรู้ที่ตอบรับทุกมิติของโรงงานสมัยใหม่ การเข้าเยี่ยมชมงานและร่วมสัมมนาจึงทำให้เข้าใจเงื่อนไข ความท้าทาย และมองเห็นโอกาสใหม่ ๆ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ทำให้มนุษย์โรงงานสามารถตัดสินใจได้ว่าอยากจะ Up-Skill ไปในทางไหน อยากทำอะไร หรือเชี่ยวชาญในด้านไหนถึงจะมีโอกาสประสบความสำเร็จ เรียกได้ว่าเป็นเชื้อไฟที่ดีสำหรับคนที่อยากเติบโตในโรงงาน ที่สำคัญหากเลือกได้แล้วการเข้าร่วมอบรมที่ได้รับใบประกาศยังถือเป็นการเปลี่ยนแปลงก้าวแรกที่คุ้มค่าไม่น้อยอีกด้วย

2. Work ให้ Smart เติมเต็มช่องว่างและส่งเสริมจุดแข็งด้วยเทคโนโลยี

ด้วยเทคโนโลยีและโซลูชันอัตโนมัติต่าง ๆ ภายใน AUTOMATION EXPO 2024 การทำงานต่าง ๆ จะถูกเปลี่ยนให้เป็นการทำงานอัจฉริยะที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญมากขึ้น แต่จะลดความเหนื่อยล้าทางกายภาพและความเสี่ยงต่าง ๆ ลงอย่างมาก เปิดโอกาสให้สามารถบริหารชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัวของมนุษย์โรงงานได้อย่างลงตัวยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมจุดเด่นของทักษะที่มีและลดช่องว่างหรือจุดอ่อนที่ทำให้คุณค่าของแรงงานนั้นเพิ่มมากขึ้นอย่างชัดเจน

3. บริหารความสำเร็จของตนเองและปัจจัยแวดล้อมด้วยแนวคิด Data Driven

อีกหนึ่งจุดเด่นที่ขาดไม่ได้เลยของโรงงานยุค Smart Manufacturing คือ การขับเคลื่อนการทำงานด้วยข้อมูล เมื่อทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องสามารถวัดผลเป็นตัวเลขและตรวจสอบย้อนกลับได้ การวางแผนการทำงาน และการเติบโตในหน้าที่จึงเป็นเรื่องที่มีความชัดเจน ประเมินผลได้อย่างไร้ข้อกังขา ในขณะเดียวกันสำหรับมนุษย์โรงงานที่มีความสามารถแต่รู้สึกว่าถูกเอาเปรียบหรือมีความไม่สมเหตุสมผลอยู่ เทคโนโลยีดิจิทัลสามารถช่วยป้องกันและพิสูจน์ศักยภาพเหล่านี้ได้อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นประสิทธิภาพการทำงาน การตรวจสอบ Log ย้อนหลัง หรือแม้กระทั่งการ Authorize เพื่อเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ก็จะมีบันทึกเอาไว้ ทำให้มั่นใจได้ในความโปร่งใสของการทำงาน ไม่ต้องกังวลกับการกลั่นแกล้งหรือการเลือกที่รักมักที่ชังอีกต่อไป

ขอเชิญชวน ‘มนุษย์โรงงาน’ ทุกท่านไม่ว่าจะเป็นผู้บริหาร, ผู้เชี่ยวชาญด้าน IT หรือ OT, ผู้จัดการโรงงาน, ผู้จัดการแผนก ตลอดจนวิศวกรและนายช่างในโรงงานเข้าร่วมงาน AUTOMATION EXPO 2024 เพื่อร่วมกันค้นหาเส้นทางการเติบโตของมนุษย์โรงงานทุกคน พร้อมสร้างการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันของตลาดอุตสาหกรรมไทยไปด้วยกันในวันที่ 13 – 15 มีนาคม 2567 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช (NICE) พัทยา จังหวัดชลบุรี

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมและหัวข้อสัมมนา: AUTOMATION EXPO

ลงทะเบียนเข้าร่วมงานฟรีได้ที่: Register

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924