Friday, November 22Modern Manufacturing
×

หัวเว่ยเผยนิยามเครือข่าย IP อัจฉริยะชั้นนำ เร่งพลิกโฉมสู่การเชื่อมต่ออัจฉริยะ

การประชุมในหัวข้อ “เครือข่าย IP อัจฉริยะชั้นนำ เร่งพลิกโฉมสู่การเชื่อมต่ออัจฉริยะ” (Leading Intelligent IP Networks, Accelerating the Transformation Towards Intelligent Connectivity) ของหัวเว่ย ซึ่งจัดขึ้นระหว่างงานประชุมสุดยอด Huawei Global Analyst Summit 2020 ที่เมืองเซินเจิ้น ประเทศจีน สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี โดยมีประเด็นสำคัญอยู่ที่เครือข่าย IP อัจฉริยะ

หัวเว่ย นิยาม IP อัจฉริยะ

การประชุมดังกล่าวได้อธิบายถึงลักษณะทั่วไป 3 ประการของเครือข่าย IP อัจฉริยะ ได้แก่ ศักยภาพการรองรับขั้นสูง (Super Capacity), ประสบการณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะ (intelligent experience) และการขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ (Autonomous Driving) นอกจากนี้ หัวเว่ยยังได้เล่าถึงเรื่องราวความสำเร็จนานัปการที่เกี่ยวกับเครือข่าย IP อัจฉริยะในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ชี้ให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการสื่อสารข้อมูล (Data Communication) ได้เข้าสู่ยุคสมัยแห่งเครือข่าย IP อัจฉริยะแล้ว

สืบเนื่องจากเทคโนโลยี 5G เทคโนโลยีคลาวด์ และปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในองค์กรทุกขนาด บริษัทต่างๆ ซึ่งกำลังมุ่งสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชัน ต่างก็เผชิญความท้าทายที่มักจะเกิดขึ้นครั้งหนึ่งในแต่ละยุคสมัย เช่น การต้องทำงานประสานกันระหว่างสายการผลิตนับล้านๆ แห่งกับสำนักงานปลายทาง การย้ายบริการทั้งหมดของบริษัทขึ้นสู่คลาวด์ และอัตราการใช้ AI ที่สูงถึง 97 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเครือข่าย IP เป็นส่วนสำคัญขององค์กรใรนการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล ดังนั้น เครือข่าย IP เองก็เผชิญกับปัญหามากมายหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นแบนด์วิดท์ไม่เพียงพอ ประสบการณ์การใช้บริการที่ย่ำแย่ การดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) รวมถึงการแก้ปัญหาของเครือข่ายมีประสิทธิภาพต่ำ ซึ่งเครือข่าย IP อัจฉริยะคือกุญแจสำคัญที่จะเอาชนะปัญหาข้างต้นได้ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าเครือข่ายประเภทใดเป็นเครือข่าย IP อัจฉริยะ
หัวเว่ยจึงให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของเครือข่ายทั่วไป ดังต่อไปนี้ 

1. ศักยภาพการรองรับขั้นสูง (Super Capacity): เครือข่าย IP จะเปลี่ยนเป็นเครือข่าย IP อัจฉริยะที่รองรับการใช้งานในอนาคตและขยายแบนด์วิดท์ได้ เปลี่ยนผ่านจาก 100GE เป็น 400GE และจาก Wi-Fi 5 เป็น Wi-Fi 6 นอกจากนี้ เครือข่ายในอนาคตจะต้องมีการใช้แบนด์วิดท์แบบแยกส่วนบนเครือข่ายที่แยกจากกัน (Slice-based Bandwidth Ssolation) ซึ่งมีความยืดหยุ่นในการปรับขนาดแบนด์วิดท์ได้

2. ประสบการณ์เทคโนโลยีอัจฉริยะ (Intelligent Experience) – เครือข่าย IP อัจฉริยะโดดเด่นด้วยความอัจฉริยะในการแยกแยะคัดกรองประเภทของบริการ (Service Types) วัตถุประสงค์ของบริการ (Service Intent Inference) รวมถึงการปรับเปลี่ยนทรัพยากรเครือข่ายตามการเปลี่ยนแปลงของคลาวด์แบบเรียลไทม์ ซึ่งคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้จะทำให้สามารถส่งมอบประสบการณ์การเชื่อมต่อเครือข่ายได้ตลอดเวลา

 3. การขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติ (Autonomous Driving) – เครือข่าย IP อัจฉริยะสามารถติดตั้งอัตโนมัติและปรับเปลี่ยนบริการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ยังสามารถใช้ AI แก้ไขข้อผิดพลาดแบบอัตโนมัติได้ ซึ่งส่งผลให้การดำเนินงานและการบำรุงรักษา (O&M) เป็นไปในเชิงรุกและเครือข่ายมีสภาพพร้อมใช้งานสูง

นายเควินหูประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ยกำลังกล่าวปราศรัยระหว่างงานประชุมสุดยอดHuawei Global Analyst Summit 2020 

นายเควินหูประธานกลุ่มผลิตภัณฑ์การสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ยกล่าวว่า “ปี พ.ศ. 2563 จะเป็นปีแรกสำหรับการใช้งานเครือข่าย IP อัจฉริยะในเชิงพาณิชย์ ทั้งอุตสาหกรรมได้เห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ของเครือข่าย IP จากอินเทอร์เน็ต IP ในยุคสมัยของ World Wide Web สู่เครือข่าย IP แบบขับเคลื่อนโดยวิดีโอ และกำลังเคลื่อนเข้าสู่ IP อัจฉริยะที่มุ่งเน้นเทคโนโลยี 5G และคลาวด์ เมื่อมองไปข้างหน้า หัวเว่ยจะยืนหยัดสร้างความเปลี่ยนแปลงและเพิ่มการลงทุนด้าน
การพัฒนาศักยภาพขั้นสูง การมอบประสบการณ์อัจฉริยะ และเทคโนโลยีการขับเคลื่อนโดยอัตโนมัติเพื่อสร้างเครือข่าย IP
อัจฉริยะแบบครบวงจร (End to end – E2E) ให้แก่กลุ่มลูกค้า ในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง”

โซลูชันเครือข่าย IP อัจฉริยะของหัวเว่ยนี้ป็นนวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จในการผสมผสานลักษณะพิเศษที่ล้ำสมัยสามประการเข้าด้วยกัน และยังรองรับการนำไปใช้งานในวงกว้าง ในสถานการณ์ที่หลากหลาย เช่น เครือข่ายในแคมปัส (Campus Network), เครือข่ายศูนย์ข้อมูล (Data Center Network) และ เครือข่ายที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณกว้าง (Wide Area Network – WAN) 

โดยโซลูชันที่มีจุดเด่นมากมายเช่นนี้เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการสร้างเครือข่ายแคมปัสคุณภาพสูง โซลูชันนี้ได้นำผลิตภัณฑ์ AirEngine Wi-Fi 6 ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ชั้นนำในอุตสากรรมที่พัฒนาโดยหัวเว่ยมาใช้งาน และโดดเด่นด้วย 16T16R เสาอากาศอัจฉริยะแบบพิเศษที่สามารถมอบความเร็วสำหรับการใช้งานของผู้ใช้รายบุคคล (Single-user Performance) ได้ถึง 1.6 Gbps มากกว่าค่าเฉลี่ยของภาคอุตสาหกรรมถึง 20%) นอกจากนี้ ลักษณะเด่นอีกประการของผลิตภัณฑ์ AirEngine Wi-Fi 6 ของหัวเว่ยคือ การเทียบคลื่นวิทยุอัจฉริยะ (Intelligent Radio Calibration) ที่ปฏิบัติการโดยเทคโนโลยี AI ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราความเร็วโดยเฉลี่ยสำหรับการเชื่อมต่อโดยสถานีต่างๆ (STAs) ได้มากกว่า 50% 

โซลูชันดังกล่าวยังได้นำระบบ O&M อัจฉริยะ ซึ่งปฏิบัติการโดย AI มาใช้งาน ช่วยลดค่าเวลาเฉลี่ยของการซ่อม (Mean Time to Repair – MTTR) จาก 4 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 10 นาที ความต่างที่ว่านี้ช่วยพัฒนาประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ให้ดีขึ้นเป็น
อย่างมาก ช่วยสร้างเครือข่ายแคมปัสอัจฉริยะที่ทันสมัยและไร้สายอย่างสมบูรณ์แบบ สำหรับการใช้งานที่ครอบคลุมหลากหลายสถานการณ์ เช่น แคมปัสขนาดใหญ่ของหัวเว่ยที่รองรับการใช้งานของพนักงานกว่า 194,000 คน และโกดังสินค้าแบบดิจิทัลของ SONGMICS ผู้จำหน่ายของใช้จำเป็นภายในบ้านที่ใหญ่ที่สุดบนเว็บไซต์ Amazon ในประเทศเยอรมนี

โซลูชันนี้ยังทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมในโดเมนเครือข่ายศูนย์ข้อมูล โดยได้ใช้อัลกอริทึมระดับนวัตกรรมอย่าง iLossless ของหัวเว่ย ที่ช่วยทำให้การเกิดข้อมูลสูญหายบนเครือข่ายอีเทอร์เน็ตมีค่าเป็นศูนย์ จึงเสริมประสิทธิภาพการประมวลผลข้อมูลได้ถึง 27% และเสริมประสิทธิภาพการจัดเก็บคลังข้อมูลถึง 30% เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโดยรวมของอุตสาหกรรม นอกจากนี้ โซลูชันดังกล่าวยังดำเนินงานและบำรุงรักษา (O&M) ด้วยระบบ AI อัจฉริยะ ซึ่งสามารถแก้ไขข้อผิดพลาดทั่วๆ ไปได้ภายในเวลาเพียง 9 นาที โดยใช้เวลาค้นหาข้อผิดพลาดเพียง 1 นาที ระบุตำแหน่งข้อผิดพลาดใน 3 นาที และแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยเวลาเพียง
5 นาทีเท่านั้น ด้วยสมรรถนะอันทรงพลังเช่นนี้ จึงดึงดูดผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISPs) และลูกค้าผู้ให้บริการทางการเงิน มากกว่า 40 รายใช้งานโซลูชันดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารไชน่า ธนาคารเมอร์ช้านท์ส ธนาคารไชน่าซิตี้แบงก์ และบริษัท People’s Insurance Co. (Group) of China Ltd. (PICC) เป็นต้น

นอกจากเครือข่ายแคมปัสและโดเมนเครือข่ายศูนย์ข้อมูลแล้ว โซลูชันนี้ยังเหมาะกับเครือข่ายแบบ WAN เป็นอย่างยิ่ง เนื่องด้วยเทคโนโลยีการแบ่งแยกเครือข่าย (Slicing) ระดับแนวหน้าของอุตสาหกรรมที่ใช้พื้นฐานจากเทคโนโลยี FlexE จึงช่วยรับรองแบนด์วิดท์ได้ 100% มอบการแบ่งแยกสัดส่วนเครือข่ายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมถึง 5 เท่า โซลูชันที่เต็มไปด้วยฟีเจอร์อันหลากหลายนี้ยังใช้เทคโนโลยี IPv6+ ในการเลือกเส้นทางบนเครือข่ายที่ดีที่สุดโดยอิงจากจุดประสงค์ของบริการนั้นๆ จึง
การันตีค่าความหน่วง (Latency) มีความเสถียร และการส่งข้อมูลได้อย่างเยี่ยมยอดให้แก่การบริการที่สำคัญต่างๆ ในหลากหลายรูปแบบ เช่น บริการสมาร์ทกริดของ ไชน่า โมบายล์ ธนาคารการเกษตรแห่งประเทศจีน และบริการสำหรับท่าอากาศยานนานาชาติปักกิ่งต้าซิงของ China Unicom สาขากรุงปักกิ่ง

ด้วยประสบการณ์ด้านเครือข่าย IP ที่มีมากกว่า 20 ปี หัวเว่ยยังคงมุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชันเครือข่าย IP อัจฉริยะให้มีศักยภาพในการแข่งขันที่สูงยิ่งขึ้น พร้อมมอบบริการที่ราบรื่นและต่อเนื่องให้กับผู้ให้บริการโทรคมนาคมและลูกค้าในแวดวงต่างๆ รวมไปถึงภาคการบริการด้านการเงิน ภาครัฐ ภาคคมนาคม และภาคพลังงาน ในกว่า 100 ประเทศและภูมิภาคต่างๆ
ทั่วโลก โดยในอนาคต ฝ่ายผลิตภัณฑ์ด้านการสื่อสารข้อมูลของหัวเว่ยจะร่วมมือกับลูกค้าให้มากยิ่งขึ้น เพื่อพัฒนาการออกแบบที่มีนวัตกรรมและความร่วมมือในการให้บริการเชิงลึก เพื่อช่วยให้ลูกค้าสามารถมุ่งสู่ดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันได้สำเร็จ และมีความพร้อมในการเข้าสู่ยุคแห่ง “5G + Cloud + AI” มากขึ้น ทั้งยังเป็นผู้นำในการสร้างเครือข่าย IP อัจฉริยะได้อย่างต่อเนื่อง

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924