Monday, December 2Modern Manufacturing
×

สถานที่ทำงานที่ ‘สุขภาวะดี’ ลดการสูญเปล่าจากการเจ็บป่วยและบาดเจ็บในที่ทำงานได้กว่า 3 หมื่นล้านดอลลาร์ฯ ต่อปี

University of South Australia เปิดเผยข้อมูลจากการวิจัยในเศรษฐกิจของชาวออสเตรเลียว่าสามารถลดความสูญเปล่าที่เกิดจากการบาดเจ็บและเจ็บป่วยในที่ทำงานได้มากถึง 30,000 ล้านดอลลาร์ฯ ต่อปีหากทำให้เกิดสภาพแวดล้อมหรือสุขภาวะการทำงานที่ดี

ในประเทศออสเตรเลียนั้นแรงงานกว่า 5 แสนชีวิตเกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยจากการทำงานซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องคิดเป็น 60% ของกรณีที่เกิดขึ้นทั้งหมด ส่งผลให้เกิดการต้องลางานและเกิดการสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 30,000 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งเทียบเท่ากับผลผลิตของภาคเกษตรกรรมประเทศออสเตรเลียเลยทีเดียว

ในขณะเดียวกันที่ประเทศแคนาดา มูลค่าการสูญเสียที่เกิดขึ้นคือ 29,400 ล้านดอลลาร์แคนาดา และสหราชอาณาจักรมาในรูปแบบของ GBP ที่สูงถึง 18,800 ล้านปอนด์สเตอริงต่อปี และหากพิจารณาทั่วสหภาพยุโรปจะพบว่ามีมูลค่าสูงถึง 467,000 ล้านยูโรต่อปี

โดยรายงานที่เผยแพร่ใน Safety Science ชี้ให้เห็นว่าบริษัทที่ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีต่อสุขภาวะของลูกจ้าง ซึ่งหมายรวมไปถึงการสนับสนุนความสัมพันธ์กับหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชา, การให้คุณค่ากับทักษะ และการให้สิทธิ์ในการทำงานตามสายงานอย่างเต็มที่ รวมถึงการลดความเครียดในการทำงาน จะส่งผลให้เกิดการลาหรือการชดเชยให้กับลูกจ้างที่น้อยลงด้วย

โดยทีมวิจัยจาก University of South Australia นั้นเปรียบเทียบ 100 องค์กรจากออสเตรเลียกับกรณีการชดเชยแรงงานบาดเจ็บ 12,000 กรณี ซึ่งระบุให้เห็นรากฐานของปัญหาที่ทำให้คนกลับมาทำงานล่าช้าลงหลังจากการเจ็บป่วยหรือบาดเจ็บในที่ทำงาน ซึ่งองค์กรที่มี Psychosocial Safety Climate (PSC) ต่ำรายงานว่ามีการลางานมากถึง 160% จากการบาดเจ็บในป่วยในที่ทำงาน เมื่อเทียบกับองค์กรที่มี PSC สูง ด้วยตัวเลข 177 วัน ต่อ 68 วัน

จากข้อมูลดังกล่าวพบว่าต้นทุนสำหรับการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยนั้นมีมากกว่า 104% ในองค์กรที่มี PSC ต่ำมาก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรที่มี PSC สูง ด้วยมูลค่าประมาณ 67,260 ดอลลาร์ฯ เปรียบเทียบกับ 32,939 ดอลาาร์ ต่อแรงงานหนึ่งคน

ข้อมูลในปี 2017 – 2018 ของประเทศออสเตรเลียบ่งชี้ว่า ประชากรกว่า 563,000 คนนั้นเกิดการบาดเจ็บหรือเจ็บป่วยที่เกี่ยวข้องกับงาน คิดเป็น 4.2% ของแรงงานทั้งหมด และ 60% ของกรณีที่เกิดขึ้นจะส่งผลกับระยะเวลาที่ลางานที่มีมูลค่าเท่ากับผลผลิตทางการเกษตรของออสเตรเลียต่อ 1 ปี หรือ 1.6% ของ GDP ประเทศ

ที่มา:
unisa.edu.au

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924