Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

อยากได้นวัตกรรมใหม่ ๆ ? เริ่มต้นได้ด้วยวิธีคิด!

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Yale-NUS ค้นพบว่ามุมมองที่เต็มไปด้วยความสนใจใคร่รู้นั้นสามารถพัฒนาต่อได้ ความไม่ตายตัวสามารถช่วยให้ผู้คนสร้างความเชื่อมต่อขององค์ความรู้ในหลากหลายสาขาที่ผู้คนมักมองข้ามไปได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี

จากปัญหาวิกฤติด้านสิ่งแวดล้อม สภาพอากาศ โรคระบาด และปัญหาอื่น ๆ จะพบว่าโลกนี้มีปัญหาที่ซับซ้อนและมีพลวัต โดยการแก้ปัญหาเหล่านี้จะต้องเกี่ยวข้องกับสังคม สิ่งแวดล้อม กายภาพ และปัจจัยทางการเมืองต่าง ๆ ซึ่งต้องการแนวทางใหม่ที่ไปไกลกว่าวิธีคิดรูปแบบเก่า สิ่งเหล่านี้จำเป็นต้องมีผู้คนที่สามารถรวบรวมและบูรณาการความคิดหรือทักษะจากหลากหลายสาขาเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพจับต้องได้ เพื่อให้เกิดโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมที่แก้ปัญหาในระดับท้องถิ่นหรือในระดับโลกก็ตามแต่ ซึ่งการเกิดปัจจัยเหล่านี้ได้จำเป็นต้องมี ‘Growth Mindset of Interest’

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาจิตวิทยา Paul A. O’Keefe จากมหาวิทยาลัย Yale-NUS ได้ตีพิมพ์เอกสารการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อของผู้คนที่แตกต่างกันไปในประเด็นของ Interest คนที่มี Growth Mindset of Interest มีแน้วโน้มที่จะเชื่อว่า Interest สามารถพัฒนาและปลูกฝังได้ ในขณะที่คนที่เป็นกลุ่ม Fixed Mindset of Interest นั้นมีแนวโน้มที่จะเชื่อว่า Interests นั้นเป็นการรับช่วงต่อหรือส่งผ่าน และมันจะต้องถูกหาให้เจอ ในการวิจัยนั้นแสดงให้เห็นว่า Growth Mindset นั้นเปิดกว้างสำหรับสิ่งอื่นที่อยู่นอกเหนือพื้นฐานเดิมหรือ Interest เดิมที่มีอยู่มาก่อนมากกว่ากลุ่ม Fixed Mindset

จากการค้นพบที่เกิดขึ้น การวิตัยล่าสุดได้ทดสอบวิธีที่ Growth Mindset of Interest สามารถเพิ่มความสามารถในการคิดแบบูรณาการ ก้าวข้ามขอบเขตของกรอบวิธีคิดตามขนบ โดยงานวิจัยนี้มีชื่อว่า ‘Organizational Behaviour and Human Decision Processes’

การศึกษาพบว่า Growth Mindset of Interest สามารถเพิ่มความมุ่งมั่นและทักษะของผู้คนให้สร้างไอเดียที่เป็นสะพานระหว่างขอบเขตที่ตัวเองมีความเชี่ยวชาญ (เช่น ศิลปะ) ร่วมกับศาสตร์ที่อยู่นอกเหนือความเชี่ยวชาญ (เช่น วิทยาศาสตร์) ยกตัวอย่างเช่น ในภาระหน้าที่หนึ่งผู้เข้าร่วมการวิจัยถูกแนะนำให้สร้างสาขาวิชาเอกใหม่สำหรับการศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยต้องทำการผสมผสานหลักสูตรวิชากรที่มีอยู่เดิม 2 สาขาหรือมากกว่านั้นจากสาขาศิลปะและวิทยาศาสตร์จากมหาลัยของพวกเขา หลังจาก Coding และวิเคราะห์ไอเดียที่ได้สร้างขึ้นมาแล้ว ทีมพบว่าคนที่มี Growth Mindset of Interest เมื่อเทียบกับ Fixed Mindset จะสร้างมารถสร้างหลักสูตรที่เป็นสะพานเชื่อมระหว่างศิลปะและวิทยาศาสตร์ได้ กลายเป็นสาวิชาเอกใหม่ เช่น Computational Linguistics (ภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์) ซึ่งป็นการใช้โมเดลคอมพิวเตอร์เพื่อทำความเข้าใจภาษามนุษย์ ซึ่งมีแนวโน้มมากกว่าการดึงประเด็นเดียวจากสาขาวิชานั้น ๆ เช่น Computational Chemistry ซึ่งเป็นการใช้คอมพิวเตอร์ทำความเข้าใจกระบวนการทางเคมี การวิเคราะห์ยังแสดงให้เห็นอีกว่าแนวคิดแบบบูรณาการที่มีคุณภาพสูงสามารถพบเจอได้จากคนที่มี Growth Mindset อีกด้วย

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นประโยชน์ต่อทิศทางขององค์กรที่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์และบริการเกิดการบูรณาการและโซลูชันที่สร้างสรรค์ ยกตัวอย่างกรณีสมาร์ทโฟน ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และวิศวกรรมไม่ใช่สิ่งจำเป็น 2 อย่างในการทำให้เกิดขึ้นจริง แต่ยังรวมถึงความเข้าใจในจิตวิทยาและการออกแบบภาพ (Visual Design) เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริงและสอดคล้องไปกับผู้ใช้งาน เมื่อองค์กรจ้างคนที่มี Growth Mindset หรือสร้างมันขึ้นมาในกลุ่มลูกจ้างเดิม ลูกจ้างเหล่านั้นต้องสามารถสร้างนวัตกรรมที่เป็นสะพานระหว่างองค์ความรู้หลากหลายสาขาเพื่อให้เกิดโซลูชันที่ดียิ่งกว่าที่เคยมีมาให้ได้

ประโยชน์ของ Growth Mindset of Interest อาจส่งผลต่อการว่าจ้างงานด้วยเช่นกัน ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องที่มีความตึงเครียดเนื่องจากหลายคนถูกเลิกจ้างเพราะ COVID-19 และในขณะเดียวกันการเติบโตของระบบอัตโนมัติและ AI การมี Growth Mindset of Interest สามารถช่วยให้คนที่กำลังหางานอยู่ขยายขอบเขตที่สามารถทำได้ออกไปและสามารถปรับตัวตลอดจนเปิดทางให้กับสายงานที่แตกต่างจากเดิม ซึ่งถือเป็นโอกาสที่จะได้เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ยกตัวอย่างเช่น วิศวกรอาจยึดติดอยู่กับกฎทางเทคนิก วิศวกรที่สามารถพัฒนาความสนใจด้านการตลาดอาจเกิดทักษะและความรู้ที่จำเป็นต่อการจ้างงานในฝ่ายขายของบริษัทด้านวิศวกรรมได้

นอกจากนี้งานวิจัยยังสนับสนุนเหตุผลว่าการเรียนรู้สหวิทยาการเพื่อเตรียมตัวนักเรียนสำหรับอนาคตที่คาดเดาไม่ได้ เช่นเดียวกันกับการฝึกฝนพวกเขาเหล่านั้นให้เป็นนักคิดที่มีความยืดหยุ่นและเป็นนักแก้ปัญหา การศึกษาแบบสหวิทยาการนั้นทำให้นักเรียนสามารถพัฒนาขอบเขตความรู้ให้กว้างขวางในหลากหลายสาขาและสอนให้พวกเขาเอาไอเดียเหล่านั้นมาใช้ร่วมกัน อย่างไรก็ตามแม้แนวคิดเหล่านี้จะดูเรียบง่ายแต่สำหรับหลักสูตรการเรียนรู้แบบสหวิทยาการมีอะไรมากกว่านั้น ในขณะที่นักเรียนระดับอุดมศึกษาที่มี Growth Mindset of Interest นั้นมีความได้เปรียบจากโอกาสที่จะได้เรียนรู้อย่างหลากหลายภายใต้การสนับสนุนของมหาวิทยาลัย สำหรับคนที่มี Fixed Mindset อาจติดอยู่กับกรอบความคิดที่มีอยู่เดิมในขอบเขตความรู้ของตัวเอง และอาจล้มเหลวที่จะมองเห็นว่าความรู้ภายนอกนั้นมีความเชื่อมต่อและบูรณาการเข้ากับความรู้เดิมได้อย่างไร เมื่อเวลาผ่านไปคนที่มี Growth Mindset นั้นมีโอกาสที่จะนักคิดแบบสหวิทยาการและใช้ความรู้ที่มีนั้นในชีวิตการทำงาน ทำให้มีความพร้อมที่จะประสบความสำเร็จในเชิงเศรษฐศาสตร์ที่กำลังเพิ่มมูลค่าของนวัตกรรมและโซลูชันจากสหวิทยาการมากขึ้น

การมี Growth Mindset of Interest สำหรับนวัตกรรมนั้นนำมาซึ่งคำถามที่ว่า “Growth Mindset of Interest นั้นสามารถปลูกฝังได้หรือไม่?” แน่นอนว่าเมื่ออยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ถูกต้องย่อมเป็นไปได้ ผู้คนสามารถได้รับอิทธิพลจากการปรับใช้ Growth Mindset of Interest หากเข้าไปอยู่ในสิ่งแวดล้อมของวัฒนธรรมที่มีการโปรโมทและส่งเสริมสนับสนุนไอเดียที่ความสนใจสามารถเติบโตและพัฒนาได้ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังจำเป็นต้องมีโอกาสสำหรับคนที่ลงมือทำตามความเชื่อให้ได้ค้นหาทดลองในประเด็นหรือกิจกรรมใหม่ ๆ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ผ่าน Workshop หลักสูตรวิชาเลือก หรือการอำนวยความสะดวกให้เกิดความร่วมมือกันหรือหว่างผู้คนที่มีทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญที่หลากหลาย

“การเข้าใจว่าความสนใจเหล่านี้สามารถพัฒนาได้ถือเป็นขั้นแรก สิ่งเหล่านี้ต้องใช้เวลาและมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาและส่งเสริมชุดความคิดแบบนั้น สำคัญที่สุด คือ โอกาสที่จะเกิดความคิดนอกกรอบเดิมและนวัตกรรมที่จะเปลี่ยนโลกใบนี้ไปตลอดกาล” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ Paul A. O’Keefe ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของ Growth Mindset

ที่มา:
Yale-bus.edu.sg

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924