ส.อ.ท. เผย เดือนมิถุนายน 2566 ผลิตรถยนต์ 145,557 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.78 ขาย 64,440 คัน ลดลงร้อยละ 5.16 ส่งออก 88,826 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.22 พร้อมปรับลดเป้าผลิตรถยนต์ และยอดขายในประเทศ ปี 2566
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนมิถุนายน 2566 ว่า จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนมิถุนายน 2566 มีทั้งสิ้น 145,557 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 1.78 เพราะผลิตขายในประเทศลดลง ร้อยละ 2.01 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 3.30
เปิดตัว AIM Global ผนึกกำลังส่งเสริมการใช้นวัตกรรม AI ในอุตสาหกรรมการผลิต | FactoryNews ep.65/1
จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 921,512 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – มิถุนายน 2565 ร้อยละ 5.91
ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนมิถุนายน 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 64,440 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 1.04 และลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว ร้อยละ 5.16 เพราะการเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนที่สูงถึงร้อยละ 90.6 ของGDP ประเทศ
ยอดส่งออก 88,826 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 2.86 และเพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 20.22 เพราะผลิตรถยนต์นั่งและรถ PPV เพื่อส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.57 และ 96.51 ตามลำดับ จึงส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกาเหนือ มูลค่าการส่งออก 55,925.63 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน 2565 ร้อยละ 30.72
ยานยนต์ไฟฟ้าประเภท BEV จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 9,680 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนปีที่แล้วร้อยละ 496.43
ยานยนต์ไฟฟ้าประเภท HEV จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 7,493 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายนปีที่แล้วร้อยละ 33.21
ยานยนต์ไฟฟ้าประเภท PHEV จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 1,075 คัน ลดลงจากเดือนมิถุนายนปีที่แล้วร้อยละ 0.92
นอกจากนั้น ยังได้ปรับเป้าผลิตรถยนต์ปี 2566 จาก 1,950,000 คันเป็น 1,900,000 คัน ลดลง 50,000 คัน โดยปรับเป้าเฉพาะผลิตขายในประเทศขึ้นจาก 950,000 คันเป็น 900,000 คัน
ปัจจัยของการปรับยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง
– สถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์จากหนี้ครัวเรือนที่สูงถึงร้อยละ 90.6 ของ GDP
– ส่งออกสินค้าอื่นๆของประเทศลดลงติดต่อกันหลายเดือน ทำให้หลายอุตสาหกรรมลดกะการทำงานและลดการทำงานล่วงเวลา คนทำงานขาดรายได้ อำนาจซื้อลดลง
– ดอกเบี้ยอยู่ในช่วงขาขึ้นรวมทั้งค่าครองชีพสูงขึ้น ผู้มีหนี้และประชาชนต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น จึงระวังการใช้จ่าย ทำให้อำนาจซื้อลดลง ธุรกิจหลายสาขาชะลอตัวลง เช่น วัสดุก่อสร้าง ร้านสะดวกสบาย supermarket ฯลฯ
– รถยนต์ไฟฟ้ามีส่วนแบ่งตลาดรถยนต์ที่ใช้น้ำมันมากกว่าร้อยละ 5 โดยรถยนต์ไฟฟ้าเป็นรถยนต์นำเข้า ไม่ได้ผลิตในประเทศ จึงลดเป้าการผลิตเพื่อขายในประเทศลงประมาณร้อยละห้าของเป้าเดิม