Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

FINTECH เทคโนโลยีใหม่ทางด้านการเงินที่ผู้บริหารต้องรู้

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิตของผู้คนอย่างมาก และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีก็เป็นถือเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเมื่อเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพสูงขึ้นนั่นก็จะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ที่ได้นำมาใช้ด้วยจากความเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดนิ่งนี้ แน่นอนว่ากลุ่มธุรกิจที่จะได้รับผลกระทบเป็นกลุ่มแรกๆ ย่อมไม่พ้นกลุ่มกิจการอุตสาหกรรม ในบางครั้งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้นอาจหมายถึงการปฏิวัติวงการ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการยกระดับที่รุนแรง จนเทคโนโลยีเก่าที่เคยได้รับความนิยมสูงในอดีตอาจถึงขั้นล้มหายไปจากวงการกันเลยทีเดียว

FINTECH เทคโนโลยีใหม่ทางด้านการเงินที่ผู้บริหารต้องรู้

Disruptive Technology ถูกนำมากล่าวถึงกันหนาหูมากขึ้นด้วยเพราะรูปแบบของเทคโนโลยีนี้เป็นรูปแบบใหม่ที่เข้ามาเพื่อสร้างตลาดและมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์หรือบริการให้เกิดขึ้นที่สำคัญก็คือการมาในครั้งนี้คือเข้ามาทดแทนผลิตภัณฑ์หรือบริการเดิมให้ล้มหายตายจากไป (Disrupt) โดยองค์กรหรือนักธุรกิจยุคใหม่ที่เรียกธุรกิจของตนว่า ‘StartUp’ และกลุ่ม StartUp นั้น มักจะเน้นการสร้างผลิตภัณฑ์หรือระบบบริการทางด้านไอทีเป็นสำคัญ

FinTech เป็นเทคโนโลยีที่มุ่งพัฒนาผลิตภัณฑ์และระบบบริการโดยมีเป้าหมายไปที่กลุ่มธุรกรรมการเงิน 3 กลุ่มหลักและมักจะเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคทั่วไปโดยตรง คือ ธุรกรรมการชำระเงิน การโอนเงินและการบริหารการเงินส่วนบุคคล ที่น่าประหลาดใจก็คือผู้สร้างผลิตภัณฑ์และระบบบริการหลายรายเป็นเพียงบุคคล กลุ่มคนหรือบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในวงการธุรกิจด้านการเงินโดยตรง แต่กลับสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างดีเยี่ยม

อันที่จริงการ Disrupt เกิดขึ้นมาโดยตลอดและมีตัวอย่างที่พอจะลำดับให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ยุคหนึ่งเราเคยใช้รถม้าเป็นพาหนะในการเดินทาง ไม่นานก็ถูกแทนที่ด้วยรถที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรน้ำ ต่อมาก็เกิดรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเข้ามาทดแทนจนพาหนะสองแบบแรกหายไปจากท้องถนนในที่สุด ในอนาคตก็ยังไม่แน่ว่ารถยนต์ที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงจะยังคงมีให้เห็นบนถนนต่อไปได้อีกนานเท่าใด เพราะรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าก็เริ่มจะเป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อยๆ

การ Disrupt ดูจะเป็นเรื่องปกติมากในโลกของเทคโนโลยีไอที และการสื่อสาร ที่ผ่านมาหลายท่านคงได้เห็นการเปลี่ยนถ่ายจากระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิทัลกันมากขึ้น เป็นต้นว่า การสื่อสารด้วยโทรเลขถูกแทนที่ด้วยระบบแฟกซ์และถูกแทนที่อีกครั้งด้วยการสื่อสารผ่านอีเมล กล้องถ่ายภาพแบบฟิล์มถูกแทนที่ด้วยกล้องดิจิทัล เพลงและภาพยนตร์ที่บันทึกในเทปคาสเซ็ทก็กลายมาเป็นไฟล์ดิจิทัลที่สามารถถ่ายโอนและทำสำเนาได้โดยง่าย หรือโทรศัพท์มือถือแบบทัชสกรีนที่เป็นสมาร์ทโฟนได้รับความนิยมมากขึ้น จนโทรศัพท์มือถือแบบปุ่มกดเริ่มมีตัวเลือกลดลงเรื่อยๆ

เมื่อเทคโนโลยีไอทีและการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงก็ย่อมจะส่งผลดีต่อการดำเนินธุรกิจเป็นธรรมดา เพราะทุกธุรกิจนั้นก็ย่อมต้องใชเทคโนโลยีไอทีและการสื่อสารเป็นเครื่องมือสำหรับดำเนินการอยู่แล้ว ทว่าในทางกลับกันคู่แข่งก็ย่อมได้รับประโยชน์จากเครื่องมือนี้ด้วย จึงเป็นธรรมดาที่ธุรกิจเดิมจะถูกท้าทายโดยธุรกิจใหม่ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการได้ดีกว่า ถูกใจผู้ใช้มากกว่า ที่สำคัญถูกเงินมากกว่า และสิ่งนี้ได้เกิดขึ้นให้เห็นแล้วไม่ว่าจะเป็นระบบบริการแท็กซี่ Uber ที่เข้าแข่งขันกับแท็กซี่เจ้าถิ่น หรือระบบบริการสำหรับแชร์ห้องพักออนไลน์อย่าง Airbnb ก็ยังสู้กับโรงแรมยักษ์ใหญ่ได้อย่างสูสี เป็นต้น

อุตสาหกรรมการเงิน คือ อีกหนึ่งธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจาก Disruptive Technology ที่มาในรูปแบบของ FinTech (Financial Technology) ซึ่งเป็นธุรกิจที่ได้มีการนำเทคโนโลยีไอทีและการสื่อสารสมัยใหม่มาพัฒนาผลิตภัณฑ์และระบบบริการธุรกรรมทางการเงินในรูปแบบต่างๆ เพื่อเสนอบริการที่สามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนต้นทุนการใช้บริการให้ต่ำลงได้ ทั้งยังสามารถที่จะเรียกใช้บริการผ่านคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารพกพาได้ตลอด 24 ชั่วโมงอีกด้วย

แน่นอนว่า FinTech กลายมาเป็นเทคโนโลยีที่สร้างความครั่นคร้ามให้แก่ธนาคารและธุรกิจทางการเงินในบ้านเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยพิษสงของ FinTech ธนาคารหลายแห่งพยายามลดจำนวนสาขาลงอย่างต่อเนื่อง บางธนาคารก็ปรับเปลี่ยนสถานะของธนาคารไปเป็นศูนย์บริการด้านการลงทุนแทน และแม้ธนาคารหลายแห่งจะออกมายืนยันว่า ผลจากการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้ไม่กระทบต่อพนักงานแต่ก็ส่งผลทางอ้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ปัจจุบันธนาคารและธุรกิจการเงินเจ้าหลักหลายแห่ง เริ่มที่จะปรับตัวหันมาสนใจลงทุนสร้างหน่วยงาน FinTech ของตนขึ้นมาบ้าง ซึ่งก็ต้องมารอดูกันว่าจะมีผลิตภัณฑ์หรือบริการดีๆ ออกมาให้สู่ผู้บริโภคมากน้อยเพียงไร

คงเป็นการยากที่จะปฏิเสธ FinTech เพราะไม่ช้าก็เร็วกิจการอุตสาหกรรมจำเป็นจะต้องหาทางใช้ประโยชน์จาก FinTech อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเพราะในอนาคตเทคโนโลยีนี้จะเข้ามาในบ้านเราอย่างเต็มรูปแบบอย่างแน่นอน ดังนั้น การเตรียมตัวเพื่อนำมาปรับใช้จึงเป็นแนวทางที่ดีแนวทางเดียวที่เจ้าของกิจการควรจะต้องตระเตรียมรับมือกันแต่เนิ่นๆ ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายอันเกิดจากการทำธุรกรรมทางด้านการเงินขององค์กรนั่นเอง

ตัวอย่าง FinTech ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมีอยู่อย่างมากมายทั้งระดับโลกและในบ้านเราตัวอย่าง FinTech ที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคมีอยู่อย่างมากมายทั้งระดับโลกและในบ้านเรา ได้แก่

  • Paypal ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกรรมที่เกี่ยวกับการชำระเงิน/โอนเงิน (Payment/ Transfers)
  • Wealthfront จัดอยู่ในกลุ่มธุรกรรมที่เกี่ยวกับการบริหารการเงินส่วนบุคคล (Personal Financing) โดยจะให้บริการ ด้านการลงทุนและที่ปรึกษาทางการเงินผ่านระบบออนไลน์แบบอัตโนมัติ
  • Stock Radars ให้บริการในส่วนของผลิตภัณฑ์หุ้นในไทย ซึ่งได้รับคำชมจากผู้บริโภคว่าเป็นระบบบริการผ่านแอปพลิเคชันที่มีความโดดเด่นในเรื่องการคัดกรองหุ้นอย่างมาก
  • iTAX เป็น FinTech ของไทย สำหรับระบบบริการด้านการจัดการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกัน และการลงทุน
  • Omise ให้บริการระบบเพื่อเป็นตัวกลางในการชำระเงินของผู้บริโภคไปสู่เจ้าของสินค้าหรือผู้ให้บริการ
    (Payment Gateway)

EXECUTIVE SUMMARY

FinTech is a technology that aims to develop product and service providing system in 3 main financial transaction groups that are directly related to general consumers as money payment, money transfer and personal financial management. There are several examples of FinTech that are so popular among consumers both in worldwide and Thailand including Paypal; offers money payment/transfer service, Wealthfront, offers investment service and financial consulting via automatic online system, Stock Radars; offers the service related to Thailand’s stock products, which receives good compliments from consumers for being application based service system with outstanding feature in term of stock screening, iTAX; is Thailand’s FinTech offering personal income tax management, insurance, and investment, and Omise; acts as the Payment Gateway that allows consumer to make direct payment to product owner or service provider.

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924