Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

เติมเต็มช่องว่าง IT และ OT ในโรงงานอุตสาหกรรม 4.0 กับงาน AUTOMATION SUMMIT 2023!

เมื่อการแข่งขันในโลกของธุรกิจการผลิตยุคปัจจุบันนั้นเต็มไปด้วยความท้าทายตลอดเวลา เทคโนโลยีใหม่ ๆ จึงมีเป็นส่วนสำคัญในการเอาชนะการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ในขณะเดียวกันการมาถึงของเทคโนโลยีดิจิทัล หรือ IT นั้นแตกต่างไปจากเทคโนโลยีที่ใช้กันโดยทั่วไปในโรงงานดั้งเดิม การบูรณาการ IT และ OT เข้าด้วยกันจึงมักเกิดปัญหาใหม่ ๆ ขึ้นหลากหลายรูปแบบ กลายเป็นช่องว่างที่เติมให้เต็มได้ยาก ไม่ว่าจะในแง่ของการสื่อสารระหว่างผู้คนในองค์กร การสื่อสารของเทคโนโลยีกันเอง ตลอดจนการคาดหวังที่อาจไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง ผู้บริหารในธุรกิจการผลิตจึงจำเป็นต้องเข้าใจเทรนด์ เทคโนโลยีสำคัญ รวมถึงเงื่อนไขสำคัญที่ทำให้เกิด Digital Transformation ในโรงงานที่ผสาน IT และ OT ได้จริง ไม่ใช่เพียงภาพฝันที่ใครบอกว่าดีแต่ไม่มีท่าทีจะทำสำเร็จ

IT/OT ความเหมือนที่แตกต่าง

IT หรือ Information Technology นั้นเป็นเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัว ธุรกิจ การบริหารจัดการภาพรวมของเศรษฐกิจ ความปลอดภัย ตลอดจนความมั่นคง เทคโนโลยี IT นั้นประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีการทำงานร่วมกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้หัวใจสำคัญของเทคโนโลยียุคปัจจุบันจะอยู่ในรูปของดิจิทัลหรือซอฟต์แวร์ แต่ฮาร์ดแวร์เองก็เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้ควบคุมหรือเป็นทรัพยากรพื้นฐานเพื่อให้สามารถใช้งานซอฟต์แวร์ได้ด้วยเช่นกัน

ในทางกลับกัน OT หรือ Operational Technology นั้นมีความเป็นกายภาพสูงกว่า IT ในขณะที่สมองกลหรือระบบสั่งการในหลาย ๆ ครั้งก็เป็นวงจรไฟฟ้าแบบแอนะล็อกที่เป็นการทำงานตามคำสั่งที่เรียบง่าย OT นั้นถูกออกแบบมาสำหรับภารกิจหรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นหลัก เช่น การปั๊มโลหะ ระบบสายพาน หรือ Machine Tool ต่าง ๆ แตกต่างกับ IT ที่สามารถประมวลผลหรือทำงานที่ซับซ้อนและหลากหลายได้ สามารถกำหนดการทำงานเป็นลำดับขั้นตอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จุดร่วมที่สำคัญของ IT และ OT นั้นอยู่ที่การเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนผู้ใช้ให้ทำภารกิจเสร็จสมบูรณ์ตามความต้องการ โดยกิจกรรมที่เกิดขึ้นมักเป็นกิจกรรมที่มนุษย์ไม่อาจทำได้ด้วยข้อจำกัดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น หากเปรียบเทียบอย่างง่ายแล้ว IT เหมือนเป็นเทคโนโลยีด้านความคิด วิเคราะห์ ในขณะที่เทคโนโลยี OT เน้นไปในกิจกรรมกายภาพที่เกิดขึ้น ซึ่งก็เหมือนกับมนุษย์ที่เราสามารถคิดหรือจินตนาการแบบ Multitask ได้ ในขณะที่กิจกรรมทางร่ายกายนั้นเกิดขึ้นได้อย่างจำกัด

ในการผลิตแบบดั้งเดิมนั้นเทคโนโลยี OT มีส่วนสำคัญอย่างมากในการทุ่นแรงและสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ตั้งแต่ยุคเครื่องจักรไอน้ำ มาจนถึงยุคที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานในการทำงานซึ่งเกิดการพัฒนาเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดดมาเป็นเครื่องจักรต่าง ๆ ที่ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ก็ยังไม่ได้มีการทำงานร่วมกันได้เองจำเป็นต้องมีมนุษย์เป็นทั้งผู้ควบคุม ผู้เคลื่อนย้าย คอยเชื่อมต่อการทำงานหรือเป็นคนทำงานเองในบางจุด เมื่อเทคโนโลยี IT เกิดขึ้นจึงเริ่มมีการนำเทคโนโลยี IT มาเสริมให้กับการทำงานของ OT ไม่ว่าจะเป็นเรื่องข้อมูลกิจกรรมที่เกิดขึ้น การทำงานร่วมกันของเครื่องจักรและเทคโนโลยีทั้งหมดแบบอัตโนมัติ ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีเพื่อคาดการณ์แบบ Real-time เพื่อทำให้ความสูญเปล่าที่เคยมีเป็นศูนย์

แม้ว่าการผสานรวม IT และ OT จะเป็นการ Optimize ทรัพยากรเดิมที่มีได้อย่างเต็มศักยภาพ แต่ในความเป็นจริงแล้วการ Transformation และผสานรวมเทคโนโลยีเหล่านี้ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จเสมอไป หรือไม่อาจประสบความสำเร็จได้ในความพยายามครั้งแรก ๆ ซึ่งเป็นผลจากความท้าทายในมิติที่หลากหลายของธุรกิจที่มีมาแต่เดิมนั่นเอง

ความท้าทายของผู้บริหารโรงงานยุคดิจิทัล

เมื่อกิจกรรมในโรงงานนั้นมีหลากหลาย ตั้งแต่การผลิต คลังสินค้า ตรวจวัดคุณภาพ การตลาด การบริการ การบริหาร งานซ่อมบำรุง ฯลฯ คนที่ทำงานหนึ่งตำแหน่งจึงอาจไม่ต้องรู้จักภาคส่วนอื่น ๆ ทั้งหมด แต่ในกรณีของผู้บริหารที่ต้องตัดสินใจสิ่งต่าง ๆ นั้นแตกต่างออกไป เพราะต้องมีความเข้าใจในกิจกรรมที่สำคัญของธุรกิจเกือบทั้งหมดที่ไม่ใช่ความเข้าใจผิวเผินแต่ก็ไม่ใช่ความเข้าใจในระดับผู้เชี่ยวชาญ

การที่ผู้บริหารจะมีภูมิหลังในฐานะผู้เชี่ยวชาญจากกิจกรรมในโรงงานอย่างน้อยสักเรื่องหนึ่งถือเป็นแต้มต่อที่ดีในการทำธุรกิจ แต่หน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องตัดสินใจลงทุน สร้างความเปลี่ยนแปลง หรือเอาชนะความท้าทายในตลาดที่เกิดขึ้นนั้น นอกจากความต้องการพื้นฐานที่หนักแน่นแล้วยังจำเป็นต้องมีความรู้ที่ครอบคุลมกับสถานการณ์และเงื่อนไขที่เกิดขึ้นอีกด้วย โดยความท้าทายสำคัญของผู้บริหารที่ต้องเผชิญในยุคใหม่ ได้แก่

1. เข้าใจภาพรวมและความต้องการของธุรกิจ

ผู้บริหารที่ดีต้องมองเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจตัวเองอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีข้อมูลที่สามารถจับต้องได้ เพื่อให้สามารถประเมินความสามารถในการแข่งขันให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ทั้งยังสามารถเลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการรักษาเทคโนโลยี Legacy ที่มีประสิทธิภาพหรือยกระดับด้วยเทคโนโลยีเพื่อให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

2. ต้องให้ความสำคัญกับ ‘แรงงานทักษะ’ ในองค์กร

การแข่งขันในยุคใหม่ที่พึ่งพาเทคโนโลยีอันหลากหลายนั้นจำเป็นต้องมีแรงงาน หรือผู้ดำเนินการที่มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสม การพัฒนาแรงงานให้กลายเป็นแรงงานทักษะสูงหรือการเฟ้นหานั้นกลายเป็นการแข่งขันลำดับต้น ๆ ของทุกธุรกิจในยุคปัจจุบันเป็นผลจากทั้งการขาดแคลนแรงงาน และการที่ธุรกิจใช้เทคโนโลยีที่ต้องการทักษะองค์ความรู้มากขึ้น โดยการปรับรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรให้สอดรับกับความต้องการยุคดิจิทัลถือเป็นการเริ่มต้นที่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้ในระยะยาว

3. รู้จักเทคโนโลยีในความหมายสากลที่ถูกต้อง

นอกเหนือจากวิธีการบริหารจัดการ งานบัญชี และงานด้านกลยุทธ์แล้ว ผู้บริหารจำเป็นต้องรู้จักเทคโนโลยีต่าง ๆ ให้ครอบคลุม โดยเฉพาะเทคโนโลยี IT ซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ในงานอุตสาหกรรมที่แตกต่างกันอย่างมาก โดยเฉพาะ Buzzword อย่าง Digital Twin, AI ไปจนถึง Data Sovereignty หรือ Network Slicing ภายใต้ความหมายสากลเพื่อให้สามารถสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างเข้าใจ ไม่เกิดการสื่อความที่คลาดเคลื่อน และทำให้การลงทุนเทคโนโลยีต่าง ๆ เกิดภาพความเข้าใจที่มีประสิทธิภาพ

ภายใต้การแข่งขันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และปัจจัยความท้าทายที่หลากหลาย ผู้บริหารองค์กรหรือธุรกิจการผลิตอาจไม่สามารถรวบรวมข้อมูลหรือทำความเข้าใจภาพรวมของเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างครบถ้วน หลายครั้งการหาข้อมูลออนไลน์อาจไม่ได้ให้มิติที่ครบถ้วน และบางครั้งข้อมูลที่ได้อาจเป็นมาตรฐานเฉพาะของแบรนด์หรือองค์กรใดองค์กรหนึ่ง สุดท้ายอาจกลายเป็นความเข้าใจผิดที่นำไปสู่ความล้มเหลวในการสื่อสาร หรือความพยายามสร้างการต่อยอด OT เดิมที่มีเข้ากับเทคโนโลยี IT ยุคใหม่อาจกลายเป็นความเสียหายทางธุรกิจที่ร้ายแรงกว่าเดิมก็เป็นได้

AUTOMATION SUMMIT 2023 เปิดวิสัยทัศน์และความเป็นไปได้สำหรับผู้บริหารด้วยการเชื่อมต่อ IT และ OT จากตัวจริงในภาคการผลิต

เพื่อเชื่อมต่อความรู้ และเติมเต็มช่องว่างของการเปลี่ยนผ่านด้านเทคโนโลยี IT และ OT บริษัท กรีนเวิลด์ พับลิเคชั่น จํากัด ผู้ผลิตสื่ออุตสาหกรรมชั้นนำ ผู้นำในการจัดสัมมนาวิชาการด้านอุตสาหกรรมมา กว่า 30 ปี และเป็นผู้จัดงานแสดงเทคโนโลยีและโซลูชั่นสําหรับระบบอัตโนมัติ AUTOMATION EXPO ซึ่งจัดขึ้นอย่างต่อเนื่องได้จัดงาน AUTOMATION SUMMIT 2023 ภายใต้แนวคิด ‘Smart Manufacturing for Digital Factory’

Smart Manufacturing for Digital Factory นั้นมุ่งเน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานของข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการ Optimize เทคโนโลยี IT และ OT เข้าด้วยกัน โดยเนื้อหาออกแบบมาเพื่อผู้บริหารในธุรกิจอุตสาหกรรมโดยเฉพาะ โดย Speaker ภายในงานนั้นเรียกได้ว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์โดยตรงกับประเด็นที่ถูกร้อยเรียงขึ้นมาจากผู้จัดงาน เพื่อให้สามารถส่งต่อคุณค่าและองค์ความรู้ที่ได้รับในการพัฒนาธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพแท้จริง ซึ่งเนื้อหาสำคัญถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

Digital Culture Evolution for the Manufacturing of the Future: แนวคิดแบบองค์กรยุคดิจิทัลเพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านที่ราบรื่น ชี้ให้เห็นถึงบทบาท ความสำคัญ และโอกาสในการเติบโตของแรงงานผ่านเครื่องมือยุคดิจิทัล และการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมกรณีศึกษาในการ Transformation

Smart Management for Smart Manufacturing 2024: รู้จักเครื่องมือสำหรับผู้บริหารในการจัดการทรัพยากรแบบครบทุกมิติของโรงงานผ่านเครื่องมือดิจิทัล เข้าใจถึงเทรนด์ ความท้าทาย และประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานเครื่องมือการบริหารจัดการสมัยใหม่ ตลอดจนการเลือกใช้และปรับแต่งข้อมูลเบื้องต้นให้เหมาะกับธุรกิจการผลิตที่แต่ละโรงงานจะมีความจำเพาะตัวแตกต่างกันออกไป

Landscape of Smart IT & OT: ความสำคัญของเทคโนโลยี CPS พร้อมมาตรการความปลอดภัย Cybersecurity ที่ต้องเกิดขึ้นไปควบคู่กัน เพื่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตของธุรกิจ ให้ความสำคัญกับผู้บริหารด้านเทคโนโลยีที่มีความเข้าใจทั้งมิติของ IT และ OT เพื่อให้เกิดการทำงานและการวางนโยบายที่ใช้ประโยชน์จากทั้งสองเทคโนโลยีได้มากที่สุด

AUTOMATION SUMMIT 2023 จะจัดขึ้นในวันที่ 12 ธันวาคม 2566 เวลา 09.00-18.00 น. ณ สามย่านมิตรทาวน์ ฮอลล์ ชั้น 5 ถนนพระรามที่ 4 แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย (ที่นั่งจำนวนจำกัด) สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://bit.ly/3rWrEoz หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายประสานงาน คุณพนมรุ้ง โทรศัพท์ 0-2731-1192-4 ต่อ 309 หรือ 083-584-6677

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924