นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย New South Wales (UNWS Sydney) ได้ประสบความสำเร็จในการพัฒนากระบวนการพิมพ์ 3 มิติที่สามารถใช้งานในร่างกายสิ่งมีชีวิตได้ขึ้นมา
- ‘evoBOT’ หุ่นยนต์ AMR 2 ขาสุดล้ำ ขนส่งสินค้าได้ดีกว่าเดิม
- ‘UltiMaker S7′ 3D Printer รุ่นใหม่ที่จะยกระดับการผลิตไปอีกขั้น
- จีนทดลองระบบ Hyperloop สำเร็จ เตรียมทำความเร็ว 1,000 กม./ชม.
ด้วยการออกแบบหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่ยืดหยุ่นและอ่อนนุ่ม จะช่วยให้การพิมพ์วัสดุชีวภาพลงบนอวัยวะภายในร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้โดยตรงแม้จะในจุดที่เข้าถึงยากสามารถเป็นไปได้อย่างปลอดภัย
‘F3DB’ หุ่นยนต์ขนาดเล็กสำหรับการพิมพ์วัสดุชีวภาพ
โดยปกติแล้วการพิมพ์ชีวภาพมักจะใช้ในการวิจัยและพัฒนายาใหม่ ๆ จะต้องใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติขนาดใหญ่ในการพิมพ์โครงสร้างเนื้อเยื่อเซลล์ขึ้น ทำให้ไม่สามารถทำการพิมพ์ขึ้นในร่างกายของสิ่งมีชีวิตได้
แต่ด้วยการพัฒนาหุ่นยนต์ F3DB ที่มีขนาดเล็ก ยืดหยุ่นและมีรูปร่างคล้ายงู พร้อมหัวพิมพ์ที่ติดตั้งไว้ในส่วนปลายของหุ่นยนต์ ทำให้ทีมนักวิจัยสามารถทำการพิมพ์ Bioink หรือวัสดุสำหรับการสร้างโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับเนื้อเยื่อตามธรรมชาติลงบนพื้นผิวของอวัยวะภายในหรือเนื้อเยื่อส่วนที่ต้องการได้
ด้วยความเป็นไปได้นี้ทำให้การรักษาบาดแผลภายในร่างกายเช่นการบาดเจ็บในกระเพาะอาหารหรือภายในลำไส้สามารถถูกรักษาได้โดยเกิดการผ่าตัดร่างกายอย่างน้อยที่สุด ซึ่งขนาดของหุ่นยนต์ F3DB ในแบบ Prototype นั้นก็มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงแค่ 11-13 มิลลิเมตรเท่านั้น และยังพัฒนาให้มีขนาดเล็กลงอีกได้เพื่อใช้ในการแพทย์
นักวิจัยคาดการณ์ พร้อมใช้งานในอีก 5-7 ปีข้างหน้า
ในปัจจุบันทางทีมนักวิจัยก็ได้มีการทดลองภายในลำไส้เทียม และทดลองพิมพ์วัสดุลงบนพื้นผิวต่าง ๆ ของไตหมูแล้วอีกด้วย สำหรับในอนาคตนั้นทีมนักวิจัยยังคาดการณ์เอาไว้ว่าหาก F3DB มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อีกภายใน 5-7 ปี เทคโนโลยีนี้ก็น่าจะพร้อมนำเข้ามาใช้จริงในร่างกายมนุษย์ได้แล้ว
หากการพัฒนาแนวคิดนี้เป็นไปได้อย่างราบรื่นแล้ว ในอนาคตเทคโนโลยีอย่างการพิมพ์ 3 มิติก็คงจะสามารถช่วยรักษาผู้ป่วยที่มีแผลในส่วนที่เข้าถึงยากในร่างกายได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพขึ้นเป็นอย่างมาก ถือเป็นการนำเอาเทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตมาประยุกต์รวมใช้ในทางการแพทย์ได้อย่างชาญฉลาดเลยทีเดียวครับ