สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (The Federation of Thai Industries) นำโดยคุณสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมร่วมกับสมาชิกเข้าร่วมการประชุมสามัญประจำปี 2562 พร้อมรับฟังข้อเสนอทิศทางอุตสาหกรรมไทย Shaping Thai Industry 2025 และแนวนโยบายด้านอุตสาหกรรมจาก 5 พรรคใหญ่ที่ลงสมัครในฐานะตัวแทนประชาชนสำหรับการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค วันที่ 18 มีนาคม 2562
ปัจจัยสำคัญที่เกิดขึ้นและได้รับผลกระทบอย่างทั่วถึงทั่วโลก คือ การถูก Disruption จากเทคโนโลยี สร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นกับทุกกลุ่มอุตสาหกรรม สิ่งที่เกิดขึ้นตามมา คือ การเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงที่ถาโถมเข้ามา ซึ่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภายใต้การชี้นำของคุณสุพันธุ์ มงคลสุธีได้เสนอแนวทางสำคัญ 5 หัวข้อ ที่ต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองกับ Disruption และความเปลี่ยนแปลงในการทำงานอุตสาหกรรมยุค 4.0 โดยมีรายละเอียดสำคัญดังนี้
1. สร้างความเข้มแข็งเครือข่ายภาคอุตสาหกรรม
- ภาคเอกชนขับเคลื่อนร่วมกับภาครัฐ
- เร่งจัดทำ Ease of Doing Business ของรัฐและเอกชนเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการดำเนินการ
- ตั้งศูนย์เทคโนโลยีการผลิตสมัยใหม่เพื่อเป็นแหล่งความรู้และสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรม
2. เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันอุตสาหกรรมไทย
- ตั้งกองทุน Innovation Fund เพื่อสนับสนุนการเติบโตภาคเอกชน
- ตั้งศูนย์ Big Data สำหรับอุตสาหกรรม
- สนับสนุน Smart Agro ซึ่งภาคการเกษตรนั้นเป็นส่วนที่สำคัญของอุตสาหกรรมประเทศไทย
3. ยกระดับ SME และสินค้า Made in Thailand
- SME Venture Program
- ยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล
- จัดตั้งกองทุนผู้เชี่ยวชาญช่วย SME โดยให้ผู้เชี่ยวชาญที่ปลดเกษียณแล้วรับรายได้เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนธุรกิจที่ต้องการความช่วยเหลือ
- ประชาสัมพันธ์สินค้าที่ผลิตในไทยให้ทั้งในและต่างประเทศเกิดความเชื่อถือ เชื่อมั่น
- ส่งเสริมการตลาดเพิ่มยอดขาย เปลี่ยนภาพลักษณ์และค่านิยมสำหรับสินค้า Made in Thailand
4. เสริมสร้างธรรมาภิบาล ความรับผิดชอบต่อสังคม
- ส่งเสริม SMEs ทำบัญชีเดียว สร้างความโปร่งใสในการทำธุรกิจ
- รัฐจัดให้มีการยดเลิกกฎหมายไม่จำเป็นซึ่งเป็นการทำงานซ้ำซ้อน ทำให้เกิดการล่าช้าในขั้นตอนต่าง ๆ
- ปฏิรูปบุคลากรภาครัฐให้ทำงานอย่างตรงไปตรงมา
- ส่งเสริมการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมกิจการอุตสาหกรรมที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน
5. ยกระดับทักษะ ความรู้ และคุณภาพทรัพยากรมนุษย์
- Life Long Learning ส่งเสริมการศึกษาในระยะยาว
- ปรับการศึกษาให้เข้ากับภาคอุตสาหกรรม ใช้แนวทางทวิภาคีเพื่อยกระดับศักยภาพแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
- Pay by Skill จ่ายค่าแรงตามทักษะที่มี เป็นการปรับฐานรายได้ที่เหมาะสมกับศักยภาพและความพยายาม
นอกเหนือจากการนำเสนอแนวคิดเพื่อปรับเปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมแล้วอีกกิจกรรมที่น่าสนใจไม่แพ้กัน คือ การเสวนานำเสนอแนวทางและนโยบายด้านอุตสาหกรรมจาก 5 พรรคการเมืองที่น่าจับตาสำหรับการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ได้แก่
- พรรคประชาธิปัตย์ คุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
- พรรคพลังประชารัฐ คุณสุวิทย์ เมษินทรีย์
- พรรคเพื่อไทย คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
- พรรคภูมิใจไทย คุณอนุทิน ชาญวีรกูล
- พรรคอนาคตใหม่ คุณพิจารณ์ เชาวพัฒนวงศ์
ซึ่งการเสวนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากคุณสุทธิชัย หยุ่น เป็นผู้ดำเนินการเสวนา โดยพรรคส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการปรับฐานเงินเดือน การขัจดข้อกฎหมายที่ก่อให้เกิดการติดขัดในกระบวนการ รวมถึงการ Upskill-Reskill
จะเห็นได้ว่าความต้องการของภาคเอกชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่สภาอุตสาหกรรมเป็นกระบอกเสียงส่งต่อความต้องการของผู้ประกอบการนั้นได้รับการตอบรับและใส่ใจจากพรรคการเมืองซึ่งมีความเข้าใจ รวมถึงได้วางนโยบายที่สอดรับกับความต้องการเอาไว้แล้วจำนวนหนึ่ง