Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

Exponential Manufacturing | เราจะผลิตอะไรกันในอนาคต

จะเปลี่ยนไปทางไหนล่ะถ้ายังไม่รู้อนาคต? ในฐานะผู้บริหาร เรามีวิสัยทัศน์ไกลพอไหม คมพอไหม หรือยังไม่มีเลย!

เพราะเรื่องของ Disruption ไม่ได้มีอยู่แค่ในธุรกิจไอที สตาร์ทอัพหรืออีคอมเมอร์ซ จะเกิดอะไรขึ้นถ้าโรงงานคุณสุดไฮเทคคะแนนเต็ม 4.0 แต่ดันผลิตสินค้าที่ไม่มีใครซื้อ!

ช่วงนี้มีสินค้าอะไรขายดีบ้าง?

คุ้น ๆ คำถามแบบนี้ไหมครับ หรือที่จริงคุณก็เป็นอีกคนที่ติดกับดักของการเป็นผู้ตามในแบบ me-too products รอดูว่าลูกค้าจะสั่งอะไร ใครผลิตอะไรขายดีแล้วก็ทำตามเขา

อย่าเข้าใจผิด ผมไม่ได้บอกว่ามันเป็นเรื่องเสียหายนะครับ เพราะผู้บริหารบางท่านทำสิ่งนี้อย่างเป็นกลยุทธ์แล้วประสบความสำเร็จทางธุรกิจได้เหมือนกันครับ ซึ่งต้องอาศัยการเป็นคน ‘เสาอากาศ’ กว้างไกล หมั่นดูงานตามติดเทรนด์ บางอย่างผลิตเองแต่บางสิ่งก็จ้างผลิตหรือซื้อมา-ขายไป รู้จังหวะลงทุน เข้าเร็ว-ออกเร็ว เรียกว่าเข้าใจหลัก Product Life Cycle นั่นเอง

แต่มันจะดีกว่าไหม ถ้าเรานำหน้าคนอื่นได้เร็วกว่านั้นอีก อาจจะหนึ่งก้าวหรือสิบก้าว ทีนี้มันต้องอาศัยแรงบันดาลใจหรือวิสัยทัศน์ละครับ เพราะการจะ create ทำอะไรที่คนอื่นเขายังไม่ทำกันมันย่อมมีความเสี่ยงอีกทั้งยังต้องต่อสู้กับแรงต่อต้านของทีมงานอีก – แต่ผมเชื่อว่าทุกท่านต้องเคยได้ยินมาแล้ว พวกไอเดียที่ไม่มีใครเชื่อแต่พอทำจริงจังแล้วรวยไม่รู้เรื่อง เข้าทำนอง high risk – high return

ลองดูสมการนี้ครับ ความคิดสร้างสรรค์ = จินตนาการ + การเชื่อมโยง

วัตถุดิบที่เราต้องการคือ ‘Contents’ หรือเรื่องราวนั่นเองเองครับ ซึ่งควรเป็นเรื่องราวที่มีคุณภาพ ทันสมัย แปลกใหม่ และที่สำคัญคือห่างไกลจากธุรกิจเดิม ๆ ของเรา ไม่เช่นนั้นการเชื่อมโยงจะไม่เกิด

เกริ่นมาหลายบรรทัด คือจะชวนเจ้าของโรงงาน ผู้บริหาร นักธุรกิจ นักประดิษฐ์ มาร่วมฟังสุดยอด Summit ครั้งแรกในประเทศไทยที่จัดเพื่อ ‘นักอุตสาหกรรม’ โดยเฉพาะ

EXPONENTIAL MANUFACTURING THAILAND 2019

15-16 พฤษภาคม 2019 ณ โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพฯ

งานนี้จัดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกับ Singularity University ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มความรู้ที่โด่งดังที่สุดของโลก ‘SU’ ได้ Disrupt วงการการศึกษาโดยทำลายกรอบโบราณของ ‘มหาวิทยาลัย’ ให้กลายเป็นแพลตฟอร์มที่เชื่อมโยงเครือข่ายเทคโนโลยีระดับก้าวกระโดดเพื่อรองรับความท้าทายของโลกอนาคต ดังนั้น มันไปไกลยิ่งกว่าวาทกรรมเดิม ๆ อย่างเรื่อง ไทยแลนด์ 4.0 หรือทรานส์ฟอร์เมชั่น ที่ภาครัฐพูดจนเราเบื่อจะฟัง ไม่ใช่ว่าคนไทยไม่เก่งนะครับ แต่ถ้าเราจะไปให้สุดต้องไม่หยุดแค่แถวนี้ ลองดูตัวอย่างของ Speakers ระดับโลกของ SU ครับ ว่าน่าสนใจแค่ไหน

เดวิด โรเบิร์ตส

ศาสตราจารย์พิเศษ ด้านนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผัน

เดวิด โรเบิร์ตส เป็นผู้นำในด้านการพัฒนาระบบล้ำสมัยที่ซับซ้อนที่สุดเท่าที่เคยสร้างมาโดยนำดาวเทียม โดรน และศูนย์รวมข้อมูลอัจฉริยะเข้ามาประกอบกัน

เดวิดเป็นประธานบริษัท HaloDrop บริษัทล้ำสมัยที่ให้บริการโดรนทั่วโลก เขายังเป็นประธานบริษัท 1Qbit ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์สำหรับคอมพิวเตอร์ควอนตัมแห่งแรกของโลก และได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัท Made-In Space ซึ่งเป็นผู้ผลิตวัตถุชิ้นแรกในอวกาศด้วยเครื่องพิมพ์ขึ้นรูปแบบสามมิติที่สถานีอวกาศ


เจสัน ดันน์

ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Made In Space

ตรงตามชื่อบริษัทเลยครับ Made In Space (MIS) ได้ชื่อว่าเป็นองค์กรแรกที่ทำการผลิตนอกโลก นับตั้งแต่ได้เริ่มก่อตั้งขึ้น MIS ก็ได้เป็นผู้นำในด้านอุตสาหกรรมอวกาศ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการผลิตในอวกาศเพื่อที่จะปลดล็อคภารกิจใหม่ ๆ ทางอวกาศ

เจสัน จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโท สาขาวิศวกรรมการบินและอวกาศจากมหาวิทยาลัย University of Central Florida เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเทคนิคองค์กร Space For Humanity และคณะกรรมการบริหารมูลนิธิ Future Space Leaders Foundation

เขาเชื่อว่าการที่จะแก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดของโลกได้นั้น เราต้องทลายกำแพงที่ขวางการเติบโตบนโลกที่จำกัดใบนี้ แล้วนำมนุษยชาติก้าวข้ามไปสู่อวกาศให้จงได้


สก็อต ซัมมิท

ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านการออกแบบ Summit ID

ซัมมิท ได้ก่อตั้งบริษัท Bespoke Innovations ในปี 2551 โดยได้รับเงินสนับสนุนจาก Venture Capitalist เพื่อศึกษาว่าการสแกนหรือการพิมพ์แบบสามมิติจะช่วยรองรับความต้องการของมนุษย์ที่มีความซับซ้อนได้อย่างไร เช่น การนำไปประยุกต์ใช้ในกรณีของการสูญเสียอวัยวะแขนขา กายอุปกรณ์ โรคกระดูกสันหลังคด และการใส่เครื่องช่วยพยุงหลังการผ่าตัด ในปี 2555 บริษัท Bespoke ได้ถูกซื้อกิจการโดยบริษัท 3D Systems และเขาก็ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการฝ่ายออกแบบ โดยรับผิดชอบศึกษาทิศทางใหม่ ๆ ในการออกแบบและการพิมพ์แบบสามมิติ

ซัมมิทเป็นเจ้าของสิทธิบัตรด้านการออกแบบกว่า 25 ฉบับ และยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริษัทหลายแห่ง เช่น eNable (มือเทียมที่ออกแบบด้วยระบบการพิมพ์ขึ้นรูปแบบสามมิติเพื่อช่วยเหลือเด็ก)


เทอร์ลิฟ วิลบรันดท์

ผู้เชี่ยวชาญเทคโนโลยการสร้างวัสดุเชิงดิจิทัล

เทอร์ลิฟเป็นทั้งนักประดิษฐ์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการบริษัท Uform ที่ซึ่งเขาสร้างสรรค์เทคโนโลยีจำลองภาพสามมิติโดยใช้วิธีการเชิงปริมาตรที่คิดค้นขึ้นใหม่ เทคโนโลยีฐานตัวใหม่นี้มุ่งที่จะรองรับความซับซ้อนเชิงกายภาพทางเรขาคณิตระดับสูง อภิวัสดุ การหาจุดที่เหมาะสมที่สุดทางเทคโนโลยี การจำลองทางชีวแพทย์ การออกแบบในลักษณะที่มีเงื่อนไข การจำลองแบบหลายระดับ และการผลิตแบบเพิ่มเนื้อวัสดุ กล่าวโดยสรุปก็คือ การสร้างวัสดุเชิงดิจิทัล

เทอร์ลิฟใช้เวลามากกว่าสองทศวรรษในการค้นคว้ากระบวนการออกแบบใหม่ ๆ ที่สามารถแจกแจงความซับซ้อนทางกายภาพและคุณภาพของวัตถุจริงตามธรรมชาติได้อย่างแม่นยำ


ทิม เกอร์เทนส์

Co-Founder ของ MX3D

ทิม เคิร์ทเจนส์ คร่ำหวอดอยู่ในวงการวิศวกรรมเครื่องกล และการออกแบบผลิตภัณฑ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ด้านเทคโนโลยี ให้กับยอริส ลาร์แมน แล็บ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในด้านงานออกแบบการทดลองเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่กำลังจะได้รับการพัฒนาในอนาคต

ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเขาได้พัฒนาความรู้ด้านวัสดุที่แปลกใหม่อย่างกว้างขวาง ทิมยังเป็นผู้ร่วมก่อตั้งและเป็นอดีต CEO ของ MX3D บริษัทที่พัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิติขนาดใหญ่ที่ใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรม 6 แกนซึ่งพวกเขาได้พิมพ์สะพานเหล็ก 3 มิติชิ้นแรกของโลก และสะพานนี้กำลังจะถูกนำไปติดตั้งบนหนึ่งในคลองที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงอัมสเตอร์ดัมในปี พ.ศ. 2563

ปัจจุบัน ทิมกำลังทำงานร่วมกับแล็บนี้ในโครงการใหม่และน่าตื่นเต้น และหวังว่าจะได้เห็นสิ่งใหม่ๆ เพื่อจุดประกายโลกในไม่ช้านี้


ดาร่า ดอทซ์

หัวหน้างานออกแบบและผู้ร่วมก่อตั้ง Field Ready

ดาร่า ดอทซ์ เป็นผู้บุกเบิกด้านการใช้งานออกแบบและเทคโนโลยีแบบก้าวกระโดดในการแก้อุปสรรคต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมที่จำกัด เธอเดินทางทำงานและศึกษาในประเทศต่าง ๆ กว่า 37 ประเทศ กระทั่งได้ร่วมก่อตั้ง Field Ready ซึ่งเป็นองค์กร NGO ที่มุ่งที่จะจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม

Field Ready ได้นำเทคโนโลยีที่สร้างความเปลี่ยนแปลงแบบพลิกผันเข้ามาและสอนให้คนในท้องถิ่นรู้จักนำไปใช้เพื่อผลิตเวชภัณฑ์ที่จำเป็น อะไหล่สำรองในคลินิก อุปกรณ์ต่อท่อน้ำ และอื่น ๆ อีกมากมายในหลายประเทศ เป้าหมายในระยะยาวของ Field Ready ไม่เพียงแต่ช่วยแก้ไขปัญหาความต้องการที่เร่งด่วนเท่านั้น แต่ยังต้องการส่งเสริมให้ชุมชนร่วมมือกันสร้างสรรค์และปรับตัวตามสถานการณ์ต่าง ๆ และเปลี่ยนความช่วยเหลือให้เป็นการค้าได้ด้วย

งานของดาร่ามุ่งไปที่การช่วยให้คนที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่คับขันสามารถดำรงชีวิตได้ไม่เพียงแต่บนโลกใบนี้แต่รวมไปถึงนอกโลกด้วย

ดาร่ามีความเชี่ยวชาญในด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปัจจัยมนุษย์ การสร้างทีม ภาวะผู้นำ และการคิดเชิงออกแบบ จนได้รับยกย่องจากฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโอบาม่าที่ทำเนียบขาวให้เป็น Champions of Change

นอกจากนี้ยังมี Speakers ระดับโลกอีกมากมาย ดูอัพเดทเพิ่มเติม คลิก


บัตรราคาสามหมื่นกว่า แต่คุ้มแน่นอน!

งานนี้ mmthailand.com เราไม่ได้รับจ้างมาเขียนเชียร์แต่อย่างใด ที่บอกว่าคุ้มเพราะนี่คือ ‘อาหารสมอง’ ระดับผู้บริหารที่ต้องการก้าวสู่การเป็น Industrialist ระดับโลก

การได้เจอนักคิด/นักอุตสาหกรรมระดับโลกตัวเป็น ๆ การพบปะคนชั้นนำในแวดวงอุตสาหกรรมไทยที่มีวิสัยทัศน์ ฯลฯ มันคือสภาพแวดล้อมระดับสุดยอดที่หาโอกาสไม่ได้ง่าย ๆ ในประเทศไทย จะเห็นได้ว่า  Speakers งานนี้ต่างจากงาน Technology Summit อื่น ๆ ตรงที่ไม่ได้มาพูดแต่เคสเดิม ๆ เรื่องไอทีแพลตฟอร์มหรืออีคอมเมอร์ซ แต่พวกเขาคือตัวจริงด้านการผลิต ประดิษฐ์คิดค้น ที่มุ่งตอบโจทย์ระดับโลก

ถ้าจะพูดในมุมธุรกิจอุตสาหกรรม ผมคงต้องบอกว่าพวกเขากำลัง ‘สร้างโจทย์ใหม่ ๆ’ ให้กับโลกการผลิตนั่นเอง แล้วจะเป็นอย่างไรถ้าเราสามารถหยิบเอา แนวคิด บางอย่างแค่สัก 5% กลับมาเพื่อต่อยอดไอเดียในแบบของเราเอง

เปลี่ยนจากคำถามเดิม “ช่วงนี้อะไรขายดี” 

เป็น “อนาคตเราจะผลิตอะไรกันดี”

…มา Disrupt ตัวเราเองกันเถอะครับ…

ซื้อบัตรได้ที่ www.singularityuthailandsummit.org

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924