Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

‘Evolving to the Industry 4.0’ 20 ปี TGI ผลักดันอุตสาหกรรมไทย …วิวัฒนาการสู่อนาคต

ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 อีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนที่สำคัญก็คือ ภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องปรับตัวในการนำเทคโนโลยีและระบบอัตโนมัติมาใช้ในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น ซึ่งเมื่อไม่นานมานี้ ทางสถาบันไทย-เยอรมัน ได้จัดงานครบรอบ 20 ปี สถาบันไทย-เยอรมันขึ้น ภายใต้คอนเซ็ปต์ ‘Evolving to the Industry 4.0’ วิวัฒนาการสู่อนาคต ซึ่งถือเป็นอีกงานที่ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวสู่ยุค 4.0 พร้อมทั้งมีกิจกรรมต่างๆ ภายในงาน อาทิ ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติ ระบบตรวจสอบเครื่องจักรออนไลน์ และระบบโรงงานผลิต 4.0 (Smart Factory) และการสัมนาให้ความรู้แก่ภาคอุตสาหกรรม

20 ปี TGI ผลักดันอุตสาหกรรมไทย ...วิวัฒนาการสู่อนาคต

คุณสมหวัง บุญรักษ์เจริญ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้ว่า จากนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในระยะ 20 ปีข้างหน้าด้วย 3 แผนยุทธศาสตร์ ได้แก่ การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา การปฏิรูปนิเวศอุตสาหกรรมรองรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญาและการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยกับเศรษฐกิจโลก ผ่านรูปแบบการดำเนินงานด้วยการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเพื่อยกระดับผลิตภาพ มาตรฐานการผลิตและสร้างนวัตกรรมใหม่ เพื่อผลักดันประเทศไทยก้าวสู่การเป็น ไทยแลนด์ 4.0 ในโอกาสที่สถาบันไทย-เยอรมัน ครบรอบการดำเนินงาน 20 ปี จึงได้จัดงานเปิดแผนยุทธศาสตร์ถึงแผนงานที่มีเป้าหมายมุ่งสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต หรือ New S-Curve เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย โดยสถาบันฯ จะเพิ่มภารกิจบทบาทจากเดิมที่มุ่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีและพัฒนาบุคลากรให้แก่ผู้ประกอบการ ไปสู่การส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอนาคตผ่านรูปแบบการจัดตั้งศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม (Industry Transformation Center) โดยจะสนับสนุนข้อมูลเพื่อการวางนโยบายและแผนสำหรับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robot and Automation Intelligence Unit) เพื่อไปช่วยผลักดันกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ การท่องเที่ยว อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์สมัยใหม่ เป็นต้น

ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม 4.0

ทางด้านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดย คุณเจน นำชัยศิริ ประธานสภาฯ ก็ได้มาปาฐกถาในหัวข้อ ‘การพัฒนาอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สู่ยุค 4.0’ ซึ่งแสดงวิสัยทัศน์ว่า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะเป็นผู้สนับสนุนอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยมียุทธศาสตร์และนโยบายขับเคลื่อนดังต่อไปนี้

การยกระดับสู่ประเทศไทย 4.0

ปี ค.ศ. นโยบาย เป้าหมาย
2015  Industry 2.0  อุตสาหกรรมไทยที่เป็นอยู่ ณ ปัจจุบัน
2020  Industry 3.0  ระบบการผลิตอัตโนมัติเพื่อเพิ่มผลิตภาพ (Productivity)
2025  Industry 4.0  Thai Industries 2025
2030  Thai Farming 4.0

 1. เพิ่มผลผลิต 2 เท่าต่อพื้นที่เกษตรกร โดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพ และเทคโนโลยีการเกษตร

2. ลดเกษตรกรภาคการเกษตรหลือ 1/3 ต่อพื้นที่ ซึ่งได้ผลผลิต 6 เท่าเกษตรกร 2/3 เข้าสู่ภาคการผลิตและภาคบริการ

3. ลดพื้นที่เพาะปลูกเดิมเหลือ 70% ของพื้นที่ และน าพื้นที่เพาะปลูกเดิม 30% มาปลูกป่าหมุนเวียนเพื่อเป็นวัสดุอุตสาหกรรม

2035  Thailand 4.0  เป็นประเทศที่มีรายได้ประชากรในระดับสูง มีความเป็นอยู่ทางเศรษฐกิจอย่างมั่งคง มั่งคั่ง ยังยืน

นอกจากนโยบายการขับเคลื่อนจากภาคต่างๆ แล้ว ยังมีการสัมนาให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ ในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ 4.0 ในหัวข้อ ‘Smart Factor for Industry 4.0’ โดย คุณสิทธิภรณ์ เมืองกลาง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการโรงงาน Smart Factory ซึ่งมีไฮไลท์น่าสนใจดังนี้

สถาบันไทย-เยอรมัน  สถาบันไทย-เยอรมัน

การเตรียมพร้อมเพื่อเข้าสู่ INDUSTRY 4.0

  1. การเข้าสู่ อุตสาหกรรม 4.0 เป็นวิสัยทัศน์ธุรกิจระยะยาว ต้องประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันและวางแผนคนให้สอดคล้องกับธุรกิจ
  2. การปรับโครงสร้างองค์กรให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง การปรับเปลี่ยนโครงสราง องค์กรทั้งเสริมจุดแข็งและแก้ปัญหาจุดด้อย เพื่อคงความสามารถในการแข่งขันระยะยาว
  3. เทคโนโลยีใหม่ และนวัตกรรมไม่ มีสูตรสําเร็จ ต้องรู้จักเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับ ลักษณะของอุตสาหกรรม ตลาด และ วัฒนธรรมขององค์กร
  4. เลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสม จะต้องเตรียมพร้อมด้วยการจัดทําแผนธุรกิจให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เลือกให้เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจและลักษณะการผลิตเพราะการนําเข้าเทคโนโลยีใหม่ ซึ่งมีตนทุนตองพิจารณาอย่างรอบคอบ
  5. การพัฒนาคนคือหัวใจของการสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 ในอนาคตจึงตองการพัฒนาทั้งผู้ประกอบการ ผูบริหาร รวมทั้งแรงงานใหมีทักษะและเป็นอัจฉริยะ (SMART EMPLOYEE)

ทักษะที่จําเป็นในอีก 5-10 ปี สาหรับ INDUSTRY  4.0

 ทักษะที่จำเป็นในปี 2015  ทักษะที่จำเป็นในปี 2020 
 1. การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
2. การประสานงานกับผู้อื่น
3. การบริหารคน
4. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
5. การเจรจาต่อรอง
6. การควบคุมคุณภาพ
7. การให้บริการ
8. การตัดสินใจ
9. การฟังอย่างตั้งใจ
10. ความคิดสร้างสรรค์
 1. การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
2. การคิดอย่างมีวิจารณญาณ
3. ความคิดสร้างสรรค์
4. การบริหารคน
5. การประสานงานกับผู้อื่น
6. ความฉลาดทางอารมณ์
7. การตัดสินใจ
8. การให้บริการ
9. การเจรจาต่อรอง
10. ความยืดหยุ่นด้านองค์ความรู้

สถาบันไทย-เยอรมัน  สถาบันไทย-เยอรมัน

ทั้งนี้ ผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีแนวคิดแบบ Smart Think ที่นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต ซึ่งจะนำไปสู่การเป็น Smart factory ที่ช่วยบริหารการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสถาบันไทย-เยอรมัน และหน่วยงานต่างๆ ที่สนับสนุน พร้อมที่จะเข้าไปช่วยเหลือ อบรม วางแผน และเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้เกิดพัฒนา รวมถึงมีแนวคิดจะสร้างเครือข่ายพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต (Industry Development Network) ที่จะเกิดเป็นความร่วมมือในการบูรณาการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ที่จะทำให้ผู้ประกอบการก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรม 4.0 ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924