Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

ยุโรปตั้งเป้าชิงพื้นที่ตลาดเซมิคอนดักเตอร์ สร้างหลักประกันความยั่งยืนในการเติบโตยุคดิจิทัล

จากการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัล ผลกระทบจากสงครามการค้า ตลอดจนผลที่ตามมาจากการระบาดของ COVID-19 ทำให้เซมิคอนดักเตอร์เกิดการขาดตลาดสวนทางกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมหรือในส่วนของผู้บริโภค คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้วางแนวทางรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความยั่งยืนภายในภูมิภาคของตัวเอง

European Commission หรือคณะกรรมาธิการยุโรปได้นำเสนอ Digital Compass ซึ่งหนึ่งในประเด็นที่น่าจับตามอง คือ การผลิตเซมิคอนดักเตอร์ที่มีขนาดต่ำกว่า 5 นาโนเมตรและตั้งเป้าไว้ที่ 2 นาโนเมตร โดยการผลิตคิดเป็น 20% ของมูลค่าการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ระดับสากลในยุโรป

สิ่งนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการผลิตชิปในเอเชียจำนวนมากและปัญหาความขัดแย้งระหว่างอเมริกาและสหรัฐอเมริกาทำให้สินค้าขาดตลาด ซึ่ง EU ก็ได้รับผลกระทบจากสิ่งที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน แต่การสร้างโรงงานมูลค่า 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ สำหรับชิปขนาด 5 และ 2 นาโนเมตรก็ไม่อาจแก้ปัญหาดังกล่าวได้

การพัฒนาและลงทุนสิ่งเหล่านี้โดยไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น TSMC หรือ SAMSUNG อาจใช้เวลายาวนาน 10 – 15 ปีและต้องใช้งานทุนมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นอกจากนี้ผลลัพธ์อาจไม่ได้พบเจอกับความสำเร็จก็เป็นได้ ตัวอย่างของความท้าทายดังกล่าว คือ การที่ Intel พยายามก้าวข้ามไปยังการผลิตชิปขนาด 7 นาโนเมตรด้วยความยากลำบาก ถ้าหากยักษ์ใหญ่อย่าง Intel ยังไม่สามารถทำได้อย่างง่ายดาย ยุโรปควรจะเสี่ยงกระโดดไปยังก้าวที่ไกลกว่าในระดับ 5 นาโนเมตรหรือไม่?

จากมุมมองของ Yole Development เห็นว่าหนทางที่ EU จะประสบความสำเร็จในการผลิตชิปขนาด 5 นาโนเมตรจะต้องเดินตามเส้นทางเดียวกันกับสหรัฐอเมริกา และต้องร่วมมือกับ TSMC หรือ SAMSUNG ซึ่งการร่วมมือจะทำให้ใช้จ้นทุนที่น้อยกว่าสำหรับยุโรปและลดเวลาในการพัฒนาจาก 10 – 15 ปีเหลือเพียง 3 – 4 ปีเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีคำถามสำคัยอีกหนึ่งประการ คือ ความต้องการของชิปขนาด 5 นาโนเมตร ในยุโรปจะมีปริมาณมากเท่าใดในระยะเวลา 3 หรือ 4 ปี ซึ่ง Wafer ที่ผลิตมานั้นจะถูกใช้ในเทคโนโลยีการสื่อสาร ยานยนต์ แต่ก็ยังไม่อาจสามารถเติมเต็มความต้องการได้ครอบคลุมนัก

โซลูชันที่เกิดขึ้น คือ การเพิ่ม Outsourcing ด้วยบริการจาก TSMC และ Samsung เนื่องจากการใช้เวลานานเกินไปในการตั้งโรงงาน การติดตั้ง การหาอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังนั้นการสร้าง Ecosystem ใหม่สำหรับเซมิคอนดักเตอร์สำหรับสหภาพยุโรปจึงเป็นเหมือนแผนระยะยาวที่ต้องมีนโยบายระยะสั้นคอยประคับประคอง

หน่วยงานด้านการวิเคราะห์นั้นยืนยันว่ายุโรปเป็นแหล่งรวมผู้ผลิตชิปที่มีเทคโนโลยีระดับสูงและซัพพลายเออร์สำหรับอุปกรณต่าง ๆ ซึ่งมียอดขายอยู่ระว่าง 4 ถึง 16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อาทิ STMicroelectronics, Infineon Technologies, NXP Semiconductors และ AMS นอกจากนี้ยังมีบริษัทระดับสากลอย่าง Intel และ ASML แม้ว่าจะมีจำนวนที่น้อยกว่าแต่ว่าผู้เล่นในตลาดนี้ที่ตั้งรกรากในยุโรปนั้นมีความแข็งแกร่งอยู่ในระดับสูง

แนวทางการดำเนินการของ EU นั้นควรลงทุนในกิจกรรมการบูรณาการที่เทคโนโลยี 14 นาโนเมตรไปจนถึงระดับ 7 นาโนเมตร หลักการนี้จะเป็นการหลบเลี่ยงความต้องการชิปขนาด 5 นาโนเมตรและ 2 นาโนเมตรในขณะที่ยุโรปกำลังซึมซับความรู้ของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างรากฐานที่แข็งแรง ขั้นต่อไปของเซมิคอนดักเตอร์ยุโรป คือ การลงทุนใน R&D ในกลุ่มเทคโนโลยีประมวลผลและ Photonics ซึ่งมีบริษัทและ Startups จำนวนมากที่เกี่ยวข้อง

ที่มา:
Eetasia.com

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:
สหภาพยุโรปในปี 2030 กับทิศทางการเติบโตยุค Digital
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924