Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

ERGONOMICS หลักที่ต้องคำนึงถึง สำหรับความปลอดภัยของแรงงาน

ความเข้าใจต่อหลักสรีรศาสตร์ (Ergonomics) สำหรับโรงงานที่ใช้แรงงานเป็นหลักจะสร้างความคุ้มค่าสำหรับการดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้เป็นอย่างดี เพราะสามารถถนอมสุขภาพจากการใช้แรงงานของผู้ปฏิบัติงานได้ รวมถึงเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานให้ดียิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งยังคงต้องใช้แรงงานคนในการดำเนินการเป็นหลัก

ERGONOMICS หลักที่ต้องคำนึงถึง สำหรับความปลอดภัยของแรงงาน

ข้อดีของการปรับใช้หลัก Ergonomics กับแรงงาน

  1. ลดปัญหาหรืออาการบาดเจ็บเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เช่น กล้ามเนื้อยึดหรือกล้ามเนื้ออักเสบ
  2. ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับอาการบาดเจ็บ รวมถึงค่าชดเชยต่างๆ
  3. ลดภาวะการขาดหายของแรงงานและการลาออก
  4. พัฒนาภาพรวมสุขภาพของแรงงาน
  5. เพิ่มกำลังใจและศักยภาพผลิตผลของแรงงาน
  6. ทำให้แรงงานสามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น

ความสำคัญของการปรับใช้ Ergonomics เข้ากับการปฏิบัติงาน

การใช้แรงงานในโรงงานนั้นล้วนมีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการเคลื่อนไหวที่ผิดพลาดไม่ถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่เกิดการปนเปื้อนติดเชื้อได้ง่ายอย่างอาหารและสารเคมี ซึ่งอาการบาดเจ็บเหล่านี้จะเริ่มจากจุดที่เล็กน้อยมาก อาจจะเป็นแค่เนื้อเยื่อเล็กน้อยที่บาดเจ็บ แต่จะค่อยๆ สะสมอาจใช้เวลาเป็นอาทิตย์หรือเป็นปีเพื่อพัฒนาอาการ ซึ่งในระยะเบื้องต้นมักไม่แสดงอาการใดๆ จึงทำให้ไม่ได้ตรวจรับการรักษาตั้งแต่เบื้องต้นและบางครั้งการรักษาอาจเริ่มมีผลเมื่ออาการเกิดแล้วเท่านั้น สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ อาการแต่ละอาการนั้นจะแตกต่างไปตามแต่ละบุคคล

ลักษณะอาการที่เกิดสามารถเป็นได้ทั้งความเจ็บปวดจากการเคลื่อนไหว การออกแรง สีผิวที่เปลี่ยนแปลงไป อาการชาที่ปลายประสาท กล้ามเนื้อขา หรือแขน สามารถขยับร่างกายได้น้อยลง ไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ เป็นเหตุให้ศักยภาพในการปฏิบัติงานน้อยลง สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบทั้งร่างกายและจิตใจผู้ปฏิบัติงาน การสูญเสียบุคลากรในการดำเนินธุรกิจ สร้างปัญหาด้านการเงินให้กับครอบครัวของผู้ที่ประสบปัญหาเอง ค่าใช้จ่ายด้านการรักษา ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์ที่เสียหายซึ่งเป็นผลจากความสามารถในการทำงานที่ลดลง การใช้เวลาในการผลิตที่มากขึ้น คุณภาพสินค้าที่ตกต่ำลง สภาพแวดล้อมในการทำงานที่ย่ำแย่ สร้างความเสียหายทั้งตัวบุคคลและภาพรวมธุรกิจ

การปรับใช้หลัก Ergonomics

การนำหลัก Ergonomics ปรับใช้นั้นจะตองคำนึงถึงประเด็นหลักสำหรับการลดภาระและความเสี่ยงจากงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ 3 หัวข้อ ดังนี้ การปรับปรุงด้านวิศวกรรม (Engineering Improvements) การปรับปรุงด้านการบริหาร (Administration Improvements) และการจัดหาปรับปรุงด้านอุปกรณ์เครื่องมือป้องกันบุคคล (Personal Protective Equipment)

Engineering Improvements มักเป็นส่วนที่ประสบความสำเร็จและมีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด หลายครั้งพบว่าตัวแรงงานเองเป็นคนปรับแต่งให้เกิดรูปแบบการทำงานที่สอดรับกับหลักสรีรศาสตร์ขึ้นมา เช่น การใช้เครื่องมือทุ่นแรงแทนการออกแรงการออกแบบเครื่องมือที่เหมาะสมกับรูปแบบงาน การออกแบบหรือปรับแต่งพื้นที่การทำงานให้เข้ากับตัวเอง เช่น การปรับตำแหน่งความสูงเก้าอี้ปฏิบัติงานให้เหมาะสม การหาที่พักเท้ามาใช้ วัสดุปูพื้นสำหรับกันลื่น หรือการใช้รถโฟล์คลิฟท์ยกของที่มีน้ำหนักมากนั้นถือเป็นการปรับปรุงการทำงานเช่นกัน

Administrative Improvements เป็นการเปลี่ยนการทำงานเพื่อฝึกฝนพื้นฐานงานต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ อาจนำมา
ใช้งานส่วนบุคคลหรือร่วมใช้งานกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อยกระดับ กับ Engineering Improvements มีข้อมูล ดังนี้

  • การหมุนตำแหน่งงาน เพื่อให้แรงงานมีศักยภาพที่ใกล้เคียงกัน ทั้งยังจำกัดเวลาการทำงานซึ่งอาจเป็นปัจจัยให้เกิดความเมื่อยล้าของการทำพฤติกรรมเดิมซ้ำๆ ซึ่งนำไปสู่อาการบาดเจ็บ
  • การแลกเปลี่ยนงานภายในวงงานเดียวกัน ซึ่งงานเหล่านั้น จำเป็นต้องมีผู้ร่วมทำงาน ผู้ร่วมงานต้องสลับตำแหน่งกัน
    ทำเพื่อปรับสมดุลของการขยับร่างกายและเกิดความสามารถในการทำงานอย่างครบถ้วนจากการแลกเปลี่ยนและเรียนรู้งาน
  • การเพิ่มงานเป็นอีกหนทางหนึ่งที่ดีสำหรับผู้ที่มีภาระงานหนึ่งหรือสองอย่าง การเพิ่มตัวแปรงานเข้าไปมีส่วนทำให้
    พฤติกรรมรูปแบบการทำงานไม่คงที่และลดโอกาสของการบาดเจ็บจากการทำซ้ำๆ
  • ช่วงเวลาสำหรับพักฟื้นเป็นช่วงเวลาที่กล้ามเนื้อได้ลดความตึงเครียดลงจากการใช้งานหนัก ซึ่งอาจเกิดจากการทำงานแบบไม่ได้พักติดต่อกัน จึงมีความจำเป็นต้องมีช่วงเวลาให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลายจากแรงกดดันและแรงเครียดที่สะสมไว้ในกล้ามเนื้อ
  • การฝึกฝนทบทวนพื้นฐานการปฏิบัติงาน เพื่อให้แรงงานได้เข้าใจถึงความเสี่ยงต่างๆ ที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ การให้ความรู้เป็นปัจจัยสำคัญของหลัก Ergonomics ในสถานที่ปฏิบัติงานจริง การฝึกฝนให้ปฏิบัติงานภายใต้ขั้นตอนและลักษณะการทำงานที่ดีร่วมกับระบบคู่หูการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ที่ดีขึ้นได้
  • การบริหารจัดการขั้นพื้นฐานที่ดี เป็นการประยุกต์รวมกันของการพัฒนาสิ่งต่างๆ ซึ่งถูกสร้างขึ้นในระดับองค์กร เช่น มีการวางแผนการปฏิบัติงานที่ดีขึ้น การวางแผนซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน หรือแรงงานควบคุมแพทเทิร์นการทำงานของตัวเองให้เหมาะสม

Personal Protective Equipment เป็นการเตรียมความพร้อมของเครื่องมือเครื่องใช้สำหรับป้องกันอุบัติเหตุไม่คาดคิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ปฏิบัติงานหรือสิ่งอื่นๆ ก็ตาม รูปแบบนี้ควรจะเป็นการดำเนินงานในลำดับสุดท้ายหากไม่นับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่จำเป็นต่อการป้องกันในการทำงาน เช่น รองเท้ายางสำหรับการทำงานในที่เปียกแฉะง่ายต่อการลื่นล้มหรือลดความเสี่ยงด้านกระแสไฟฟ้าหรือถุงมือยางพร้อมปุ่มยางเพื่อกัน การหลุดลื่นของวัตถุที่ถือไว้

ทั้งนี้ การปรับใช้ต่างๆ นั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการระบุสาเหตุของปัญหาและความเสี่ยงได้อย่างถูกต้อง โดยสามารถแบ่งออกเป็น 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพ ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ปัจจัยเฉพาะ และปัจจัยด้านการบริหารจัดการงาน

ขั้นตอนการปฏิบัติการเหล่านี้สามารถใช้หลักการ PDCA เข้ามาช่วยสนับสนุนการสร้างเสริมระบบ Ergonomics ที่เหมาะสมได้ โดยสามารถใช้งานร่วมกับแบบสอบถามท้ายบทความเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลและนำมาวิเคราะห์แก้ไขปัญหาเพื่อนำไปสู่การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน

  1. ปัจจัยด้านกายภาพ มาจากการใช้แรงทั่วไปในงาน การอยู่ในท่าเดิมนานๆ รวมถึงการเคลื่อนไหวซ้ำๆ และการใช้ท่าทางการทำงานที่ผิดพลาด เช่น การยกของที่สูงเหนือหัวมากๆ ทำให้เกิดการเกร็งตึงกล้ามเนื้อ การเหยียบปั๊มลมอย่างสม่ำเสมอ การก้มลงต่ำกว่าระดับมากๆ เพื่อหยิบจับของหรือการดันของที่มีน้ำหนักเกินตัวมากๆ
  2. ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ ความร้อน ความเย็น ภาพหลอกตาที่เกิดจากข้อจำกัดทางด้านร่างกาย ระดับแสงไฟที่พอเพียง
  3. ปัจจัยเฉพาะ สิ่งเหล่านี้แปรเปลี่ยนไปตาม เพศ อายุ พฤติกรรม เงื่อนไขสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น การท้อง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไขข้อ ซึ่งจำเป็นต้องเลือกเฟ้นงานสำหรับแรงงานให้เหมาะสม
  4. ปัจจัยด้านการบริหา หมายถึง การออกแบบวิธีขั้นตอนการทำงานต่างๆ การบริหารจัดการทุกขั้นตอน รวมถึงตัวระบบเอง เช่น การทำงานที่ต้องอาศัยความเร็ว งานที่มีความซับซ้อน งานที่จำกัดผู้ทำ

EXECUTIVE SUMMARY

Safety of labor for manufacturing sector is an essential issue that didn’t depend on machine maintenance, job manual or any security only but the safety issue must be integrated with other issues in order to provide the most essential issue ‘Labor’s Safety’. Besides the preventive method, the behavior or labor’s movement which we called Ergonomic is related to every movement of labor.

The understanding of Ergonomic for labor in Myanmar which use manpower as major key could added value to maintain the long-term business because it could support the health of operation labor and improve work’s productivity too, particularly the food processing sector with human labor which mostly related to manpower.

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924