Friday, November 22Modern Manufacturing
×

Digital Change รู้ทัน…ระบบการผลิตต้นทุนต่ำในยุคเครื่องจักรอัจฉริยะ

สภาพแวดล้อมของการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันไม่เพียงจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วตามกระแสภาวะเศรษฐกิจและสังคมที่มีการขับเคลื่อนอยู่ตลอดเวลา หากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีพลานุภาพของความรวดเร็วแบบ Real Time เป็นอาวุธสำคัญ ยิ่งตอกย้ำให้องค์กรธุรกิจในปัจจุบันต้องเท่าทันการเปลี่ยนแปลง และ ‘Industry 4.0’ หรือ ‘อุตสาหกรรม 4.0’ ก็คือ หนึ่งในปัจจัยแห่งความเปลี่ยนแปลงที่ผู้ประกอบการไทยต้องขับเคลื่อน เมื่อโลกอุตสาหกรรมได้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) อย่างเต็มรูปแบบ

รู้ทัน...ระบบการผลิตต้นทุนต่ำในยุคเครื่องจักรอัจฉริยะ

พลังการเปลี่ยนแปลงของโลกดิจิทัล (Digital Change) ได้ผลักดันให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตื่นตัวต่อการยกระดับระบบการผลิต ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ ที่ครอบคลุมถึงนวัตกรรมเครื่องจักรสมัยใหม่ (Innovative Machine and Machine Tools) ระบบอัตโนมัติ (Automation) ระบบควบคุมและบริหารกระบวนการผลิต ตลอดจนโซลูชั่นต่างๆ ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อรองรับระบบการผลิตสมัยใหม่

DIGITAL CHANGE
ยกระดับเครื่องจักรให้อัจฉริยะมากขึ้น

สำหรับวงการอุตสาหกรรมโลหะและวัสดุ ปรากฎการณ์ Digital Change ที่เกิดขึ้นทั่วโลก ไม่เพียงแต่ส่งผลให้เครื่องจักรในกระบวนการผลิตมีความอัจฉริยะมากขึ้น ประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น หากยังทำให้กระบวนการผลิตในยุค Digital Change ใช้ระยะเวลาในการผลิตน้อยลง ปริมาณของเสียน้อยลง การใช้ทรัพยากร พลังงานและแรงงานก็น้อยลงด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ Digital Change ยังเข้ามามีบทบาทต่อการทำงานของเครื่องจักร ทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษาต่ำลง อีกทั้งการหยุดเดินเครื่องอันเนื่องมาจากความเสียหายของเครื่องจักรก็น้อยลงอย่างชัดเจน และนี่เองเป็นที่มาของแนวคิด ‘การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์’ เทรนด์ใหม่ของการบำรุงรักษาเครื่องจักรอุตสาหกรรมที่หลายๆ องค์กรธุรกิจกำลังให้ความสนใจ
อยู่ในขณะนี้

อาจกล่าวได้ว่า Digital Change นั้นเสมือนเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนให้เกิดบริบทใหม่ในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นทั้งโอกาสทางธุรกิจ การเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันตลอดจนความได้เปรียบทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้น จากประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรที่สูงขึ้น มีความยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถตอบสนองต่อเงื่อนไขการผลิตได้มากขึ้น หรือมีความเป็นอัจฉริยะมากขึ้นนั่นเอง

‘ซีเมนส์’ เดินหน้าเข้าสู่ยุค
DIGITAL CHANGE จริงจัง

‘ซีเมนส์’ (Siemens) หนึ่งในองค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมชั้นนำของโลกมีความตื่นตัวต่อการเดินหน้าเข้าสู่ยุค Digital Change อย่างจริงจัง โดยได้ริเริ่มพัฒนาโซลูชั่น ‘Digital Enterprise Software Suite’ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจำนวนมหาศาล (Big Data) ถึงกันแบบ Real Time รองรับการทำงานร่วมกันระหว่าง TEAMCENTER กับแพลทฟอร์มของแก่นข้อมูล (Data Backbone) ให้สามารถเชื่อมต่อได้อย่างราบรื่น ไม่ว่าจะเป็นระบบการบริหารจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ หรือ PLM (Product Lifecycle Management) ระบบปฏิบัติการการผลิต การจัดการดำเนินการผลิต (MES / MOM) และระบบอัตโนมัติ ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้ากว่า 770,000 รายทั่วโลกที่ใช้ซอฟต์แวร์ดังกล่าว

Fiat Chrysler Automobiles หนึ่งในลูกค้าของซีเมนส์ ระบุว่า… ระหว่างการพัฒนาจำลองแบบของ Maserati Ghibli วิศวกรได้ทดลองสร้างรูปแบบเสมือนจริง เรียกว่า ‘Digital Twin’ หรือ ‘แฝดดิจิทัลของรถยนต์และโรงงานผลิต’ โดยใช้โซลูชั่นดังกล่าวข้างต้น ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้ คือ สามารถลดค่าใช้จ่ายและเวลาในการพัฒนาลงได้มากถึงร้อยละ 30

บริบทธุรกิจอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน

สิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ได้เพียงแค่สะท้อนให้เห็นถึงผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลกับเครื่องจักรในกระบวนการผลิต หากยังตอกย้ำถึงบริบทของการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม

หากพิจารณาจากภาพประกอบทางด้านขวา จะพบว่าปรากฎการณ์ Digital Change ที่เกิดขึ้น ได้ส่งผลให้บริบทขององค์กรธุรกิจอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงไป โดยมีข้อมูลเชิงตัวเลขที่น่าสนใจ ดังนี้

Digital Change

อุตสาหกรรมทุกวันนี้อยู่ในยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งกระบวนการผลิตทุกขั้นตอนได้เปลี่ยนแปลงพัฒนาไปเป็นเทคโนโลยีดิจิทัลเช่นเดียวกับการให้บริการ

44ZB Big Data:

ปี ค.ศ. 2020 ปริมาณของข้อมูลทั่วโลกจะเติบโตถึง 44 Zattabytes โดย 10% จากจำนวนเหล่านั้น เป็นส่วนหนึ่งของ loT ซึ่งถือเป็นรากฐานของอุตสาหกรรม 4.0

30% การใช้ต้นทุนอย่างคุ้มค่า:

TIA Portal ของ Siemens เป็นพื้นฐานสำหรับโซลูชั่นอัตโนมัติแบบบูรณาการในองกรดิจิทัล ที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนด้านวิศวกรรมได้มากถึง 30%

52% การเชื่อมต่อกระบวนการ:

การมาถึงของโลกยุคดิจิทัลจะเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมอย่างมีนัยสำคัญ โดย 52% ของ CEO ทั่วโลกต่างคาดว่าจะได้รับผลกระทุบเมื่ออุตสาหกรรม 4.0 เข้ามาเต็มรูปแบบ

25% การแข่งขันของตลาด:

วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์จะลดลง 25% ผลิตภัณฑ์ใหม่จะได้รับการพัฒนาและเปิดตัวเข้าสู่ตลาดได้เร็วขึ้น

50% การช่วงชิงพื้นที่ตลาด:

ระยะเวลาที่ป้อนสินค้าสู่ตลาดจะลดลง 50% ด้วยความช่วยเหลือผ่านซอฟแวร์โซลูชั่น Siemens Digital Enterprise

14.5 พันล้าน ตรวจสอบยอดขายด้วย RFID Tags:

ปี ค.ศ. 2020 มูลค่าการขายที่ติดแท็ก RFID มีมูลค่าถึง 14.5 พันล้านเหรียญชิป RFID จะกลายมาเป็นฐานเครือข่ายการสื่อสารสำหรับโรงงานดิจิทัล

70% ประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน:

พลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโรงงานอุตสาหกรรมนั้น ถือเป็นความสามารถของระบบที่ใช้ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ ที่สามารถปรับใช้ความเร็วได้หลากหลาย สามารถประหยัดพลังงานได้ 70%

25% ประมาณการบริโภคพลังงาน:

ภาคอุตสาหกรรมมีสัดส่นการใช้งานพลังงานมากถึง 25% ของทั้งโลก การวางแผลและพัฒนาระบบจำลองเสมือนจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตด้วยการอนุรักษ์ทรัพยากรและพลังงาน

 

ผลการศึกษาของสถาบันระดับโลกอย่าง McKinsey ได้ระบุว่า องค์กรธุรกิจในประเทศเยอรมนีมีความคาดหวังที่จะเห็นการเพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมการผลิตในระบบดิจิทัล ดังนั้น มากกว่าครึ่งหนึ่งของการสร้างเครื่องจักร และอุตสาหกรรมวิศวกรรมโรงงาน ในประเทศเยอรมนี จึงมุ่งเน้นไปสู่การเป็น ‘อุตสาหกรรมการผลิต 4.0’ ตามการสำารวจของ Verband Deutscher Maschinen-und Anlagenbau (VDMA) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีลักษณะการดำาเนินงานแบบสมาพันธ์วิศวกรรมเยอรมนี

เครื่องจักรอุตสาหกรรม
ขับเคลื่อนไปพร้อมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ท่ามกลางการเกิดขึ้นของ Digital Change เครื่องจักรอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของกระบวนการผลิตสมัยใหม่ ย่อมได้รับการพัฒนาให้มีคุณสมบัติที่สอดคล้องกับบริบทของการผลิตที่มีความอัจฉริยะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการผลิต เงื่อนไขการผลิต หรือแม้กระทั่งสภาพแวดล้อมการผลิตก็ตาม ซึ่ง Digital Change ที่ขับเคลื่อนไปพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีนั้น ได้ยกระดับความสามารถของเครื่องจักรอุตสาหกรรมให้สูงขึ้นตามไปด้วย

ดังนั้น เครื่องจักรอุตสาหกรรมในยุค Digital Change จึงสามารถสื่อสารระหว่างกันได้อย่างอิสระแบบไร้สาย จะเห็นได้ว่าในโรงงานที่เป็น Smart Factory หลายๆ แห่งนั้นมีเครื่องจักรที่สามารถผลิตสินค้าตามคำสั่งได้ โดยควบคุมและสั่งงานผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งทให้ต้นทุนการผลิตต่ำลง สามารถลดต้นทุนค่าขนส่งได้ มีระบบรักษาความปลอดภัยที่เชื่อถือได้ต่อยอดให้การทำงานของเครื่องจักรสมัยใหม่เป็นระบบการผลิตที่มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

นอกจากนี้ เครื่องจักรสมัยใหม่ โดยเฉพาะเครื่องจักรสำหรับงานด้านโลหะการและวัสดุที่ทำงานภายใต้ปรากฎการณ์ Digital Change นั้น ยังเสริมสร้างขีดความสามารถในการผลิต ให้สามารถทำการผลิตแบบ ‘Mass Customization’ ที่ตอบสนองต่อรสนิยมและความต้องการเฉพาะบุคคลได้มากขึ้นด้วย

อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์
มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากปรากฎการณ์ที่เป็นMega Trend อย่าง ‘Digital Change’ นั้น ไม่ได้เป็นเพียงแค่ความท้าทาย หากยังเป็นโอกาสทางธุรกิจด้วยเช่นกัน

ข้อมูลที่น่าสนใจที่ระบุถึงผลวิเคราะห์อุตสาหกรรมไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสำหกรรม (สศอ.) ระบุว่า อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมที่มีไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์อันดับ 1 ของอาเซียน และเป็นผู้ส่งออกยานยนต์รายใหญ่ระดับ 1 ใน 10 ของโลก ได้แก่ ประเทศจีน อินเดีย สหรัฐอเมริกา บราซิล ไทย เยอรมนี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เม็กซิโก และอินโดนีเซีย โดยไทยมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์ที่มีความเฉพาะใน 3 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ รถปิกอัพ 1 ตัน รถยนต์ประหยัดพลังงาน (Eco-Car) และ รถยนต์ขนาดเล็กคุณภาพสูง ซึ่งในส่วนของรถจักรยานยนต์ ไทยมีการผลิตเป็นอันดับ 3 รองจากอินโดนีเซีย และเวียดนาม

Digital Change กับประสิทธิภาพ
ของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่เพิ่มขึ้น

  • ยกระดับฝีมือแรงงาน เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต รองรับเทคโนโลยียานยนต์ระดับสูงขึ้นในอนาคต
  • ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์เพื่อสร้างมูลค่า ให้เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงในระบบดิจิทัล รองรับ Internet of Things
  • ส่งเสริมการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อเชื่อมโยงอุตสาหกรรม สร้างความมั่นคงทางวัตถุดิบต้นน้ำา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของผู้ประกอบการ


BMW ใช้หุ่นยนต์ ‘โอลาฟ’ เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต

จะเห็นได้ว่า การใช้หุ่นยนต์ในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ปัจจุบันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย อีกหนึ่งตัวอย่างที่สะท้อนถึงบทบาทของ Digital Change อย่างชัดเจน และเป็นหนึ่งในหลายๆ ตัวอย่างที่น่าสนใจ เช่น บริษัท BMW หนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก ซึ่งได้พัฒนาหุ่นยนต์ ‘โอลาฟ (Olaf )’ ขึ้น โดยมีความพิเศษต่างจากหุ่นยนต์ที่มีอยู่ทั่วไป เนื่องจากที่ผ่านมาการนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตระบบอุตสาหกรรมนั้น มีข้อกำหนดด้านความปลอดภัยที่เข้มงวด โดยเฉพาะการกำหนดระยะห่างระหว่างการผลิตของหุ่นยนต์และมนุษย์ กลายเป็นข้อจำกัดทำให้ขั้นตอนการทำงานและพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ BMW ยังเล็งเห็นจุดสำคัญที่จะนำสมรรถภาพของหุ่นยนต์มาสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ในการทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การยกของหนัก การทำงานที่บั่นทอนสุขภาพในระยะยาว เช่น การก้มหรือเอี้ยวตัวอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการผลักดันให้เกิดการคิดค้น ผลิตหุ่นยนต์ เพื่อแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าว ตลอดจนสนับสนุนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งในที่สุดก็ประสบความสำเร็จในการผลิตหุ่นยนต์‘โอลาฟ’ ที่สามารถติดตั้งและทำงานร่วมกับมนุษย์โดยไม่ต้องมีระยะห่างได้ แม้กฏหมายสหพันธ์ฯ จะมีข้อจำกัดระหว่างการทดลองโครงการ ทว่า BMW ก็ได้ผลิตและทดลองใช้หุ่นยนต์ดังกล่าว

ทั้งนี้ BMW สามารถนำหุ่นยนต์ ‘โอลาฟ’ มาใช้ในโรงงานในการทำฉนวนกันความชื้นด้านในประตูรถยนต์ ซึ่งต้องใช้แรงกดสม่ำเสมอที่เกินประสิทธิภาพของมนุษย์ และทำงานร่วมกับมนุษย์ไปพร้อมๆ กัน ปัจจุบัน BMW ใช้หุ่นยนต์ดังกล่าวที่โรงงานดิงโกลฟิง (Dingolfing) จำนวน 4 ตัว และที่สตุทการ์ท (Stuttgart) จำานวน 2 ตัว โดยมีแผนที่จะเพิ่มจำนวนอีก 2 ตัวที่โรงงานดิงโกลฟิง เร็วๆ นี้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์ในกระแสเทคโนโลยี Digital Change ทำให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นจากการนำเทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต การตลาด การทำธุรกรรมต่างๆ ให้เป็นไปด้วยความรวดเร็ว โดยการเกิดขึ้นของ Digital Change ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้นประมาณร้อยละ 30 ในแต่ละธุรกิจ จากกิจกรรมต่างๆ ในกระบวนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการลดค่าใช้จ่าย การซื้อขายวัตถุดิบได้ในราคายุติธรรม ไปจนกระทั่งถึงสามารถต่อยอดธุรกิจได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการเกิดขึ้นของ Digital Change ที่ถูกนำมาผนวกกับปัจจัยบวกจากบริบทของโลกที่เปลี่ยนผ่านไปสู่เทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนั่นเอง 

EXECUTIVE SUMMARY

Among the rising of digital change trends of industrial machinery which is the heart of new ages manufacturing, The feature improvement must be conform to catch up with the context of smart manufacturing process. Not only the manufacturing procedure, manufacturing condition or even the environment of manufacturing process but the digital change can drive along together with advancing technology and also improve the potential of manufacturing machine too.

However, the transformation that arise from the phenomenon which is mega trend likes ‘Digital Change’ is not only a challenge but it could be a chance for business also. Particularly, the automotive and auto part will gain more value – added from applying the digital technology and innovation to improve the manufacturing process, marketing or any transactions. The arrival of digital change could make an impacted to the revenue by 30% in each business sector from the activities in the processes, such as, cost reduction, fair price trading and could run the business further more. The overall result are the effects of digital change that added to the various factors in the world which has been falling into context changing by the rushing transform of technology

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924