Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

Data Driven ที่ขับเคลื่อน ‘Logistics’ ได้จริงมาถึงแล้ว!

แม้จะมี COVID-19 ที่กำลังแพร่ระบาดเกิดขึ้น แต่ธุรกิจก็ยังคงต้องดำเนินต่อไปแต่จะทำอย่างไรให้มาตรการ Social Distancing เกิดขึ้นได้ควบคู่กับการทำงานของกลุ่มคนที่อาจทำให้พื้นที่นั้นเต็มไปด้วยผู้คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน Logistics ที่ต้องเดินทางไปในสถานที่และพบเจอผู้คนที่หลากหลาย หนึ่งในทางแก้ที่โดดเด่น คือ การควบคุมระยะไกลแลระบบขับขี่อัตโนมัติสำหรับงาน Logistics

หากใครเคยดูภาพยนต์ Sci-Fi ที่มีศูนย์ควบคุมยานพาหนะระยะไกลต้องบอกก่อนเลยว่าเทคโนโลยีดังกล่าวได้เกิดขึ้นจริงแล้วในปัจจุบัน จากผลงานของ Phantom Auto ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และแพลตฟอร์มสำหรับการควบคุมยานพาหนะระยะไกล ที่สามารถใช้ข้อมูล (Data) สนับสนุนการควบคุมระยะไกลได้อย่างเต็มศักยภาพ ด้วย Teleoperation ที่มีฟังก์ชันหลัก ดังนี้

  1. Tele-Monitoring
  2. Tele-Assistance
  3. Tele-Driving

รูปแบบของยานพาหนะที่ควบคุมได้จาก Phantom Auto นั้นไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะยานพาหนะแบบใดแบบหนึ่ง จากข้อมูลเบื้องต้นที่พบนั้นมีการใช้งานอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการควบคุมหัวรถบรรทุก การควบคุมรถฟอล์คลิฟท์ หรือการควบคุมหุ่นยนต์ส่งพัสดุ

ความสำเร็จในการใช้งานแพลตฟอร์มของ Phantom Auto นั้นมาจากการใช้งานข้อมูลและระบบเครือข่ายที่สามารถวางใจได้ในคุณภาพ โดยพาหนะจะถูกติดตั้งไว้ด้วยกล้องและเซนเซอร์เพื่อส่งข้อมูลและภาพให้กับผู้ควบคุมระยะไกลเพื่อใช้ข้อมูลตัดสินใจในการควบคุม ในกรณีของรถบรรทุกที่ต้องมีการติดตั้งคอนเทนเนอร์นั้นสามารถติดตั้งแขนกลไว้ด้านหลังห้องขับขี่เพื่อควบคุมการติดตั้งตู้คอนเทนเนอร์จากระยะไกลได้อีกด้วย

สำหรับการใช้งานฟอล์คลิฟท์ การควบคุมระยะไกลก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย อุปกรณ์ที่ใช้นั้นมีจำนวนน้อยกว่าการใช้งานในพื้นที่สาธษรณะเนื่องจากเป็นพื้นที่ที่สามารถควบคุมกิจกรรมต่าง ๆ ได้ ในแง่ของผู้ใช้งานเองก็ได้มีการออกแบบอุปกรณ์ที่ให้ความรู้สึกเหมือนกับการควบคุมรถฟอล์คลิฟท์ด้วยตัวเองผ่านคอนโทรลเลอร์รูปแบบพวงมาลัย

นอกจากนี้ Phantom Auto ยังจับมือกับ Postmates ให้บริการส่งของอผ่านพาหนะที่มีรูปร่างหน้าตาคล้ายหุ่นยนต์ในพื้นที่เมือง (ระยะใกล้) สามารถใช้งานได้บนทางเท้าปรกติ โดยผู้ควบคุมสามารถมองเห็นเส้นทาง สิ่งกีดขวาง ใบหน้าของผู้รับ-ส่งได้อย่างชัดเจน

Teleoperation หรือการควบคุมระยะไกลนั้นเป็นการส่งข้อมูลเพื่อโต้ตอบกันระหว่างอุปกรณ์ปลายทางและการควบคุมต้นทางภายในระยะเวลาอันสั้นที่สุดเพื่อห้สามารถตอบสนองได้แบบ Real-Time ไม่แตกต่างจากการทำงานแบบ Analog ในพื้นที่จริง ความท้าทายของ Teleoperation จึงเกี่ยวข้องกับความหน่วงของข้อมูลเป็นสำคัญ รวมถึง Ecosystem ที่เหมาะกับ Teleoperation นั้น ๆ จะเห็นได้ว่าการใช้งานรถบรรทุกเพื่อขนส่งมีหน้าจอจำนวนมากแตกต่างกับการใช้งานในพื้นที่จำกัดอย่างฟอล์คลิฟท์หรือหุ่นยนต์ส่งของระยะสั้น เนื่องจากความปลอดภัยและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องนั้นมีมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอที่ต้องมองเห็นได้อย่างครอบคลุม มุมมองแผนที่จากด้านบนเพื่อสนับสนุนทิศทางในการเดินรถ ตลอดจนการประเมินสถานะต่าง ๆ ของยานพาหนะผ่านระบบออนไลน์

ที่มา:
http://Phantom.auto/

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924