Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

สร้างความมั่นใจให้กับความปลอดภัยทางอาหาร ด้วยโซลูชันการบริหารจัดการห้องเย็นแบบ Real-time

ไม่ว่าจะเป็นภัตตาคาร ร้านสะดวกซื้อ ปั๊มน้ำมัน และร้านขายสินค้าอื่น ๆ ต่างมีสิ่งที่เหมือนกัน นั่นคือ อุปกรณ์สำหรับแช่เย็นหรือห้องเย็น สิ่งอำนวยความสะดวกเหล่านี้จะช่วยให้อาหารและเครื่องดื่มนั้นถูกเก็บไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม ซึ่งตามมาตรฐานและข้อบังคับนั้นจะต้องอยู่ในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า 4.4 องศาเซลเซียส (40 องศาฟาเรนไฮต์) สำหรับตู้ทำความเย็น และต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส (-4 องศาฟาเรนไฮต์) สำหรับตู้แช่แข็ง

การที่ไม่อาจทำตามความต้องการเงื่อนไขเหล่านี้ได้ไม่ว่าจะเพราะความประมาทหรืออุปกรณ์ทำงานล้มเหลว ผลลัพธ์ที่ต้องจ่ายนั้นอาจมีราคาสูงกว่าที่คิดมากนัก ผลิตภัณฑ์อาหารนั้นสามารถเน่าเสียได้ง่ายและเมื่อเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก็ต้องถูกกำจัดออกจากระบบในท้ายที่สุด ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจึงกลายเป็นความสูญเปล่าอย่างสมบูรณ์แบบสำหรับสินค้าในคลัง มูลค่าความสูญเสียจากของเน่าเสียเหล่านี้นั้นแตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภทธุรกิจ โดยประมาณการความสูญเสียจากอาหารตู้เย็นและตู้แช่แข็งเป็นเวลา 3 วันสำหรับร้านสะดวกซื้อหรือห้างสรรพสินค้านับเป็นมูลค่ากว่า 22,662 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือ 758,825.74 บาท และคิดเป็นมูลค่ากว่า 40,006 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือ 133,9580.91 สำหรับภัตตาคารที่เน้นการบริการแบบรวดเร็ว

นอกจากนี้ร้านขายของหรือภาพลักษณ์ของแบรนด์ที่เป็นเครือข่ายใหญ่อาจเกิดปัญหาขึ้นได้เมื่อลูกค้าเห็นว่าอาหารที่ได้รับนั้นเป็นอาหารที่คุณภาพแย่ ซึ่งผู้บริโภคเหล่านี้สามารถเปิดเผยประสบการณ์ที่เจอออกสู่พื้นที่สาธารณะได้อย่างง่ายดาย ทำให้แบรนด์อาจต้องใช้เวลากอบกู้ความมั่นใจกลับมาถึง 6 เดือน นอกจากปัญหาด้านความเชื่อมั่นแล้วการดำเนินการที่ไม่เป็นไปตามข้อบังคับด้านความปลอดภัยทางอาหารมักนำไปสู่บทลงโทษที่มีการปรับค่าเสียหายราคาสูงหรือการปิดตัวลงของธุรกิจก็เป็นไปได้

เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเกิดความปลอดภัยต่อประชาชนทั่วไป กฎหมายในสหรัฐอเมริกา ยุโรป และพื้นที่อื่น ๆ นั้นระบุให้ใช้แนวทาง Hazard Analysis and Critical Control Points หรือ HACCP เพื่อเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายให้เกิดการสามารถประยุกต์ใช้กับทุกระดับของห่วงโซ่ที่เกี่ยวข้องกับอาหาร เว้นแต่การผลิตวัตถุดิบขั้นปฐมภูมิ

สำหรับระบบการแช่เย็นหรือห้องเย็น HACCP โดยทั่วไปจะหมายถึงต้องมีการบันทึกการจัดเก็บข้อมูลอุณหภูมิอย่างสม่ำเสมอ ดังนั้นผู้จัดการร้านหรือลูกจ้างต้องเดินไปมาเพื่อเก็บข้อมูลของตู้แช่แข็ง ตู้เย็น และห้องเย็นวันละ 2 หรือ 4 ครั้ง หรือมากกว่านั้น ช่วงเวลาเหล่านี้มักเป็นช่วงเวลาที่ไม่ได้อยู่กับลูกค้าหรือทำงานอื่น ๆ การตรวจสอบอุณหภูมิสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาและนี่คือสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องควรจำขึ้นใจ

แล้วอะไรจะเกิดขึ้นกับค่าอุณหภูมิที่เก็บมาได้? โดยทั่วไปแล้วข้อมูลจะถูกเขียนลงบนแผ่นกระดาษและนำไปเก็บใส่แฟ้มไว้เฉย ๆ หากเป็นเช่นนั้นการบันทึกข้อมูลจะไม่ถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิทัลที่สามารถส่งต่อไปได้โดยง่าย และสิ่งที่สำคัญยิ่งกว่า คือ เมื่อข้อมูลนั้นต้องการใช้งานเพื่อยืนยันความถูกต้องในการดำเนินงานตามกฎระเบียบก็จะเป็นเรื่องยากลำบาก สำหรับการอ่านค่าอุณหภูมิที่เกิดขึ้นควรจะต้องตรวจทานให้เรียบร้อยก่อนถึงขั้นตอนตรวจสอบเพื่อให้มั่นใจว่าสิ่งต่าง ๆ เป็นไปตามที่ควร หรือมีการเตรียมตัวสำหรับการอธิบายในสิ่งที่ไม่เป็นไปตามสถานการณ์ที่ควรจะเป็น

สำหรับความจำเป็นของเอกสารนั้นมีอะไรที่มากกว่าข้อมูลอุณหภูมิ แม้ว่าห้องเย็นจะทำงานได้อย่างที่ควรเป็น แต่การซ่อมบำรุงและการเก็บข้อมูลที่ไม่ได้คุณภาพนั้นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอาจเป็นค่าปรับด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจมีมูลค่าหลายล้าน ซึ่งในท้ายที่สุดอาจเผยให้เห็นปัญหาการรั่วไหลของระบบทำความเย็นที่ต้องดูแลรักษากันขนานใหญ่ซ้ำอีกต่อหนึ่งก็เป็นได้

โซลูชันสำหรับรับมือความท้าทายด้านระบบทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพควรจะสนับสนุนให้เกิดการใช้งานตามแนวคิดของ HACCP ดังนี้

  • มีการแจ้งเตือน 24/7 เมื่ออุณหภูมิไม่อยู่ในช่วงที่กำหนดหรือในกรณีที่ระบบพลังงานล้มเหลว สิ่งนี้จะช่วยลดเวลาในการตรวจพบและการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งยังลดต้นทุนด้วยการเปิดโอกาสให้สามารถเคลื่อนย้ายอาหารก่อนเสียได้
  • ติดตามข้อมูลอุณหภูมิที่ผิดปกติและมอนิเตอร์จากภายนอกเพื่อดูแนวโน้มของอุณหภูมิด้วย Data Logging แบบอัตโนมัติ
  • สร้างรายงานแบบพร้อมใช้สำหรับการตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร ซึ่งต้องมีรายละเอียด รายชื่อกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การตรวจสอบสารทำความเย็น เป็นต้น

นอกเหนือจากแนวทางและคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว โซลูชันที่ใช้ต้องเกิดผลลัพธ์ที่สร้างประโยชน์ได้อย่างแท้จริง โดยต้องสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อให้ผู้ใช้ทำความเข้าใจกับประเด็นปัญหาได้ ซึ่งจุดแข็งหรือข้อได้เปรียบที่ควรเกิดขึ้น ได้แก่

  • ลดเวลาในการซ่อมแซม: สิ่งนี้สามารถดำเนินการได้อย่างง่ายดายในทันที เช่น การตรวจสอบประวัติการซ่อมบำรุงสำหรับเหตุการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ความสามารถเข้าถึง Log สำหรับอุปกรณ์ซ่อมบำรุงที่เกิดความเสียหายในรูปแบบเดียวกันมาก่อนจะทำให้การซ่อมแซมนั้นเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดังนั้นข้อมูลความรู้เหล่านี้จะทำให้ช่างเทคนิคสามารถเตรียมตัวได้ดีขึ้น ด้วยการรู้ว่าสิ่งใดบ้างเคยดำเนินการมาแล้วและชิ้นส่วนใดที่เคยถูกใช้มาก่อน
  • ทำให้การทำงานเรียบง่ายและยกระดับการซ่อมบำรุง โดยการแบ่งปันประวัติการซ่อมแซมอุปกรณ์รวมถึงค่าบำรุงรักษา: การใช้งานข้อมูลนั้นจะกลายเป็นโซลูชันที่ช่วยให้มั่นใจได้ในการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันด้วยระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติ นอกจากนี้การติดตามพิจารณาเทรนด์ข้อมูลจากระยะไกลยังทำให้เห็นข้อมูลอุณหภูมิที่บันทึกไว้ อันจะนำไปสู่การตรวจพบปัญหาตั้งแต่เนิ่น ๆ ยกตัวอย่างเช่น การดูเทรนด์ข้อมูลจะเป็นส่วนสำคัญในการทำนายว่าอุปกรณ์แช่เย็นนั้นจะต้องการการบำรุงรักษาเมื่อใด การคาดการณ์และการซ่อมบำรุงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงถูกเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินการอย่างชัดเจน และสามารถประหยัดเงินได้จำนวนมากอีกด้วย

ความก้าวหน้าในเทคโนโลยี Cloud และ IoT ได้สร้างโซลูชันที่เป็นความคุ้มค่าให้กับต้นทุนสำหรับร้านขายสินค้าขนาดเล็ก ตัวอย่างเช่น การมีเซนเซอร์ IoT ไร้สายขนาดเล็กเพื่อวัดอุณหภูมิซึ่งใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ เทคโนโลยีเหล่านี้เหมาะสำหรับการติดตั้งในสภาพแวดล้อมของการแช่เย็นที่อุณหภูมิต่ำถึง -30 องศาเซลเซียส จึงสามารถใช้งานได้ทั้งในห้องเย็นและคูลเลอร์เก็บความเย็นในตัว สำหรับเทคโนโลยี Cloud ยังเป็นการเปิดโอกาสให้การเก็บสินค้านั้นปลอดภัยยิ่งขึ้น ด้วยการเก็บข้อมูลเซนเซอร์และเกิดการเข้าถึงข้อมูลได้ 24/7 สำหรับผู้ใช้ทุกคนผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่

นวัตกรรมเหล่านี้ทำให้การดำเนินการตามกฎข้อบังคับด้านความปลอดภัยทางอาหารเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดายและรับประกันความปลอดภัยให้กับผู้บริโภค ในระดับของร้านขายสินค้าเทคโนโลยีนี้สามารถเคลื่อนย้ายชุดข้อมูลและบันทึกออกจากกระดาษ ยกระดับประสิทธิภาพการทำงาน สำหรับงานด้านกระบวนการผลิตโซลูชันเหล่านี้ทำให้การเข้าถึงข้อมูลล่าสุดที่เกิดขึ้นได้จริงไม่ว่าจะเป็นเพื่อการใช้งานภายในหรือใช้เพื่อนำเสนอเมื่อเกิดคำร้องขึ้นมา ตัวอย่างสำหรับ Cloud และ IoT ที่ใช้งานในการบริหารจัดการระบบแช่เย็นนั้น สามารถตรวจสอบโซลูชันสำหรับร้านขายปลีกของเราที่มีพื้นฐานมาจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ Eliwell ซึ่งเป็นอุปกรณ์ควบคุมที่รองรับการเชื่อมต่อ และ EcoStruxure Facility Expert โซลูชันอัจฉริยะสำหรับการบริหารจัดการอาคาร

เนื้อหาที่น่าสนใจ:
EcoStruxure Clean-In-Place Advisor โซลูชันทำความสะอาดอัจฉริยะสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากนม
READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924