Sunday, January 19Modern Manufacturing
×

COBOT ผู้ช่วยที่ดีในสถานการณ์ไวรัสโคโรนา

เมื่อไวรัสระบาด การผลิตจึงสะดุดช้าลงเพราะทุกโรงงานต้องเพิ่มมาตรการเพื่อรักษาความปลอดภัยให้กับพนักงานและผลิตภัณฑ์ การเริ่มปรับใช้หุ่นยนต์ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์อย่าง Cobot จึงกลายเป็นตัวเลือกที่มีศักยภาพ

ในวิกฤติ COVID-19 อุตสาหกรรมบางรายก็สามารถปรับสายการผลิตเพื่อเพิ่มยอดขายได้เหมือนกัน เช่น โรงงานกลั่นสุราที่ผันไปผลิตน้ำยาล้างมือ หรือผู้ผลิต Auto part ที่ปรับไปผลิตอุปกรณ์ระบายอากาศสำหรับอาคาร แต่ในการผลิตที่ยังต้องใช้แรงงานมนุษย์ทำงานร่วมกันย่อมต้องมีอุปสรรคเนื่องจากมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดระหว่างคนงานในโรงงานด้วยกันเอง

Cobot มีราคาที่เข้าถึงได้ ทั้งยังมีการตั้งค่าและออกคำสั่งการทำงานได้อย่างง่ายดายกว่าหุ่นยนต์ 6 แกนหลายรุ่น เพราะใช้ระบบการสอนจึงไม่จำเป็นต้องเรียนรู้การใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนยุ่งยาก

บริษัทผลิตหุ่นยนต์ที่ชื่อ Robotiq แนะนำหลักพื้นฐานสำหรับโรงงานที่คิดจะเริ่มปรับใช้ Cobots ให้เกิดประสิทธิผล ได้แก่ – ให้ Cobot ทำงานที่เรียบง่าย – ทำงานที่คาดการณ์ได้ง่าย – และเป็นงานที่ทำซ้ำ ๆ เช่น

  • การหยิบ-วางวัตถุ (Pick-and-Place)
  • งานที่ทำร่วมกับเครื่องจักร (Machine Tending)
  • งานด้านบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

การใช้งาน Cobot เป็นตัวอย่างที่ดีสำหรับหลักการ 80-20 Technology กล่าวคือ การลงเวลาลงแรง 20% ในการวางระบบ แล้วให้ระบบอัตโนมัติทำงานต่ออีก 80% นอกจากนี้ Cobot ยังสามารถประยุกต์เข้ากับการใช้งานต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในอนาคตได้ด้วย แต่อย่างกรณีฉุกเฉินเช่นภาวะ COVID-19 ในปัจจุบัน แค่การใช้งานได้จริงก็มีมูลค่ามากแล้ว

หลังจากระบุได้แล้วว่างานส่วนไหนที่ต้องการระบบมาช่วย แนะนำให้เลือกหา Cobot ที่มีฟังก์ชั่นสำเร็จรูปซึ่งสามารถนำมาใช้ในงานได้ทันทีแบบ Plug-and-play อย่าเพิ่งไปพยายามขอปรับแต่งมากมายนัก ไม่เช่นนั้น กว่าจะได้ Cobot มาใช้ก็อาจล่าช้าเกินความจำเป็น

การเตรียมตัว คือ ส่วนสำคัญในปรับใช้ Cobot ในภาวะโรคระบาดนี้ การวางแผนที่รัดกุมจะช่วยลดต้นทุนและปัญหาอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นมาระหว่างการปรับใช้งานจริง เช่น เวลา ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงหุ่นยนต์ ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบระบบ

การพิจารณาถึงปัญหาของหุ่นยนต์และประเมินโซลูชันก่อนทำการติดตั้งนั้น ต้องผ่านหลายขั้นตอน ได้แก่ การทดสอบฟังก์ชัน ออกแบบกระบวนการ การประกอบเครื่องมือ การประยุกต์ระบบ วัสดุและอะไหล่ การฝึกอบรมไปจนถึงความเชื่อมั่นในการใช้งาน การทดสอบปัจจัยเหล่านี้สามารถใช้การจำลองและการทดลองใช้งานเพื่อช่วยประเมินผลลัพธ์ได้

ปัจจัยสุดท้ายในการพิจารณาติดตั้ง Cobot ในช่วงไวรัสระบาด คือ การจัดการกับความล่าช้าต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อจำกัดการเดินทาง การ work from home ของ supplier ที่อาจส่งผลให้การจัดส่งติดตั้งต้องล่าช้า โรงงานที่สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้เร็ว ก็สามารถเดินหน้าการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพได้ก่อน แม้ต้องดำเนินมาตรการลดการระบาด COVID-19 ในโรงงาน

ที่มา:
Machinedesign.com

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924