จากการศึกษาและวิจัยในการดำเนินการรีไซเคิลจาก University of Münster พบว่าประเทศจีนนั้นก้าวนำยุโรปและสหรัฐอเมริกาในการรีไซเคิลเพื่อตอบสนองต่อความต้องการใช้ Lithium, Cobalt และ Nickel ในการผลิตแบตเตอรี่
เมื่อความต้องการในการผลิตแบตเตอรี่เพื่อป้อนให้ยานยนต์ไฟฟ้าหรือ EV เพิ่มขึ้น วัตถุดิบพื้นฐานสำหรับการผลิตแบตเตอรี่จึงมีความต้องการที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน หากพิจารณาในมุมมองความเสี่ยงที่มีต่อซัพพลายเชน ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเงื่อนไขการทำงานที่มีความสุ่มเสี่ยงต่ออันตรายซึ่งเกี่ยวข้องกับการขุดเหมืองและการขนส่งวัตถุดิบ กระบวนการรีไซเคิลกลายเป็นประเด็นสำคัญไม่ว่าจะในมุมของการวิจัย การเมืองและภาคอุตสาหกรรม
นักวิจัยจาก University of Münster นำทีมโดยศาสตราจารย์ Stephan Von Delft จึงได้ทำการสำรวจความต้องการในวัตถุดิบสำคัญอย่าง Lithium, Cobalt และ Nickel ที่พบได้ทั้งในยุโรป สหรัฐอเมริกา และจีน หากมองในภาพของเศรษฐกิจหมุนเวียนแบบครบวงจรแล้วความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นนั้นจะอยู่ในภูมิภาคเหล่านี้เป็นหลักโดยผลการศึกษาพบว่าจีนนั้นมีผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมาเป็นลำดับที่ 1 ตามมาด้วยยุโรปและสหรัฐอเมริกา
สำหรับประเทศจีนนั้นการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้ Lithium เป็นหลักสำหรับ EV ซึ่งได้มาโดยการทำเหมือง มีการคาดการณ์ว่าจะถูกแทนที่ด้วย Lithium ที่รีไซเคิลแล้วตั้งแต่ปี 2059 เป็นต้นไป แต่ในยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะภายหลังปี 2070 ในขณะที่มีความห่วงกังวลเกี่ยวกับ Cobalt การรีไซเคิลคาดว่าจีนจะสามารถดำเนินการให้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการได้ภายหลังปี 2045 ในกรณีอย่างเร็วที่สุด ยุโรปจะเกิดขึ้นในปี 2052 และสหรัฐอเมริกาจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าปี 2056 สำหรับ Nickel จีนมีแนวโนเมว่าสามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ในปี 2046 เป็นอย่างเร็วที่สุดตามมาด้วยยุโรปในปี 2058 และสหรัฐอเมริกาในปี 2064
ในการศึกษาก่อนหน้านั้นเป็นการมองลงไปที่ซัพพลายของวัตถุดิบรีไซเคิลสำหรับแบตเตอรี่และความต้องการที่เกิดขึ้น แต่ทว่าก็ยังไม่มีความชัดเจนนักว่าเมื่อใดที่แนวคิดด้านการหมุนเวียนนั้นจะสำเร็จขึ้นมาได้เมื่อซัพพลายและดีมานด์นั้นเสมอกันหรือเรียกได้ว่าเป็นจุดคุ้มทุน ทีมวิจัยจึงได้พิจารณาในคำถามที่ว่าจะมีทางใดหรือความเป็นไปได้ไหนที่จะทำให้เกิดสมดุลเหล่านี้ได้เร็วขึ้นหากพิจารณาจากสถานการณ์การพัฒนาในปัจจุบัน ซึ่งทีมวิจัยมองเห็นคำตอบว่าการปรับเปลี่ยนมาเป็น EV ให้เร็วขึ้นในอุตสาหกรรมยานยนต์ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในสหภาพยุโรปตอนนี้นั้นเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการ เหตุผลเพราะว่าการขยายตัวอย่างรวดเร็วของ EV ในตลาดยานยนต์มากขึ้นเท่าไหร่ การมีแบตเตอรี่ปริมาณมากพอสำหรับรีไซเคิลก็จะมากขึ้นเท่านั้น และความต้องการวัตถุดิบนั้นสามารถเกิดขึ้นได้จริงเร็วขึ้นอีกมาหากสามารถลดขนาดของแบตเตอรี่ลงและหลีกเลี่ยงสิ่งที่เรียกว่า ชีวิตที่สอง (Second Life) สำหรับแบตเตอรี่ เช่น สถานีจัดเก็บพลังงานสำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ โดยนักวิจัยได้ใช้สิ่งที่เรียกว่า Dynamic Material Flow Analysis เพื่อคำนวณทั้งความต้องการในอนาคต และวัตถุดิบที่สามารถรีไซเคิลได้ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งข้อมูลมาจากการวิจัยที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและการคาดการณ์ตลาดจาการพัฒนาในการผลิตแบตเตอรี่และยอดขาย
ที่มา:
uni-muenster.de
อัปเดทองค์ความรู้ เทคโนโลยี และโซลูชันด้านอุตสาหกรรมและระบบอัตโนมัติแห่งปี 2024 ได้ก่อนใครที่
AUTOMATION EXPO 2024
พบกับหัวข้อสัมมนาสำหรับระบบอัตโนมัติและโซลูชันในภาคการผลิตกว่า 50 หัวข้อ พร้อมสัมผัสเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้ได้จริงสำหรับธุรกิจ พบกันที่ศูนย์ประชุมนานาชาตินงนุชพัทยา (NICE) 13 – 15 มีนาคม 2567 นี้ ลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าฟรี!