Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

ยาและพฤติกรรมที่อันตรายต่อการทำงาน


แม้ว่ายาที่ใช้ในการรักษาตามอาการต่างๆ จะเป็นสิ่งจำเป็น แต่เคยรู้กันบ้างไหมว่ายารักษาโรคบางชนิดก่อให้เกิดความเสี่ยงถึงชีวิตได้สำหรับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม MM Thailand ขอพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับยาและพฤติกรรมการใช้ยาที่อาจส่งผลให้เกิดปัญหาหรืออุบัติเหตุในการปฏิบัติงานของแรงงานโรงงานอุตสาหกรรมได้

กลุ่มยาที่ก่อให้เกิดทั้งความเสี่ยงโดยตรงและทางอ้อมมีดังนี้
1. กลุ่มยาที่ทำให้เกิดอาการง่วงซึม
กลุ่มยาเหล่านี้โดยมากมีฤทธิ์ในการลดทอนการทำงานของระบบประสาท ทำให้ไม่สามารถควบคุมร่างกายและสติได้ เช่น ก่อให้เกิดอาการง่วงนอน หรือก่อให้เกิดอาการประสาทหลอน ซึ่งผู้ที่ต้องทำงานกับเครื่องจักร ยานพาหนะ หรือปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงอาจเสียชีวิตหรือทุพพลภาพได้ โดยมักเป็นกลุ่มยา Benzodiazepine ยาแก้แพ้ต่างๆ และ Barbiturate รวมถึงกลุุ่มยาตระกูล Hypnotic
ยาแก้แพ้เป็นสิ่งที่สามารถเจอได้บ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะแก้แพ้อากาศ แพ้อาหาร ภูมิแพ้ต่างๆ มีตัวยา เช่น คลอร์เฟนิรามีน (Chlorpheniramine) บรอมเฟนิรามีน (Brompheniramine) ฮัยดร๊อกซิซีน (Hydroxyzine) และซัยโปรเฮ็ปตาดีน (Cyproheptadine) ซึ่งแรงงานที่ทำงานในโณงงานอุตสาหกรรมจำเป็นต้องระวังยาเหล่านี้
นอกจากนี้กลุ่มยา Benzodiazepine ซึ่งนิยมใช้ในการบำบัดอาการเครียด-กังวลมีตัวยาที่นิยมใช้ ได้แก่ Xanax, Valium, Ativan และ Librium ซึ่งมีผลให้ผู้ใช้เกิดอาการเบลอ หรือมีสติสัมปชัญญะที่ไม่ครบถ้วนได้

2. กลุ่มยาเบาหวาน
ยาเบาหวานนั้นโดยทั่วไปไม่ได้สร้างความเสี่ยงใดๆ กับผู้ปฏิบัติงาน แต่การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเป็นปัจจัยหลักที่สร้างความเสี่ยง การทานยาเบาหวานหรือทานอาหารไม่ตรงเวลาสามารถส่งผลให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในปริมาณที่ต่ำ ทำให้ผู้ป่วยสามารถหมดสติหรือหน้ามืดได้ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นความเสี่ยงที่อันตรายถึงชีวิต

3. กลุ่มยาลดความดัน
การทานยาลดความดันในกรณีที่ทำให้ความดันต่ำเกินกว่ามาตรฐานทำให้เกิดอาการหน้ามืดหรือหมดสติได้ แต่โดยมากแล้วแพทย์จะปรับปริมาณของยาสำหรับความดันไว้ในปริมาณที่พอเหมาะ ดังนั้นผู้ป่วย แรงงาน ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงไม่ควรปรับปริมาณยาหรือชดเชยการทานยาตามใจชอบ

4. กลุ่มยาเฉพาะ
ในบางกรณีความเป็นกรด/ด่างของยาสามารถส่งผลกระทบอย่างร้ายแรงได้โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสารเคมี หากเข้ารับการรักษาแรงงานควรแจ้งแพทย์เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องเผื่อเอาไว้ก่อน ซึ่งในกรณีที่ห้องพยาบาลของสถานประกอบการมีแพทย์ประจำปัญหาเรื่องยาที่อาจมีปฏิกริยาเหล่านี้เป็นสิ่งที่แพทย์อยู่ในความควบคุมอยู่แล้ว

นอกเหนือจากการใช้ยาเพื่อรักษาอาการต่างๆ การดูแลรักษาสุขภาพกายและใจของผู้ปฏิบัติงานเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก การมีชีวิตและสุขภาพที่สมบูรณ์ของผู้ปฏิบัติงานสามารถเพิ่มผลผลิตและลดเวลา Downtime และการรอคอยการทำงานต่างๆ ได้เป็นอย่างดี โดยการป้องกันที่เหมาะสมเป็นอีกทางเลือกในการดูแลรักษาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของแรงงาน เช่น การมีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม พื้นที่และระดับการปฏิบัติงานถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ มีอากาศที่ปลอดโปร่ง มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่มีคุณภาพ รวมถึงการออกแบบวางแผนพฤติกรรมการทำงาน อาทิ การให้ยืดเหยียดร่างกายก่อนและหลังทำงานเป็นประจำสามารถช่วงเรื่องปัญหากล้ามเนื้อได้

แหล่งข้อมูล:

https://www.webmd.com/sleep-disorders/guide/understanding-the-side-effects-of-sleeping-pills#1
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet4/july8/medicine.htm
นายสรณัฐ ศรีวรกร

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924