Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

Bioenergy อาจเลวร้ายกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลหากปราศจากราคาที่กำหนดเพื่อใช้ในการควบคุมที่ดินสำหรับเปลี่ยน CO2

นักวิจัยชี้ต้นทุนที่แท้จริงของการพลังงานชีวภาพนั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากกว่าการเผาผลาญพลังงานฟอสซิล หากไม่มีนโยบายควบคุมและการเก็บภาษีที่เหมาะสมสำหรับที่ดินที่เกี่ยวข้อง

ความต้องการเชื้อเพลิงชีวภาพยุคใหม่นี้เพิ่มขึ้นเพื่อสนองต่อแนวคิดด้านความยั่งยืน อย่างไรก็ตามยังเป็นสิ่งที่ห่างไกลจากการไม่สร้างผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในฐานะทางเลือกแทนแกสโซลีนหรือดีเซล การศึกษาใหม่จาก Nature Climate Change แสดงให้เห็นว่าภายใต้ข้อกำหนดปัจจุบันสำหรับการใช้งานที่ดิน การปลดปล่อย CO2 ซึ่งเป็นปัจจัยสำหรับการสร้างเชื้อเพลิงชีวภาพอาจมีมากกว่าการสันดาปเชื้อเพลิงฟอสซิลดีเซล เนื่องจากต้องมีสัดส่วนของพื้นที่ในการดำเนินการขนาดใหญ่ซึ่งสอดคล้องกับการเติบโตของชีวมวล ก่อนที่พลังงานชีวภาพจะก้าวเข้าสู่การเป็น Carbon Neutral หรือความเป็นกลางทางคาร์บอน สนธิสัญญานานาชาติต้องทำให้มั่นใจว่ามีการปกป้องผืนป่าที่ได้ผลรวมถึงดินแดนธรรมชาติอื่น ๆ ด้วย ซึ่งการแนะนำระบบ Carbon Pricing หรือราคาสำหรับคาร์บอน เป็นสิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญจาก Potsdam Institute for Climate Impact Research (PIK) กำลังถกเถียงกันอยู่

การศึกษาที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าสาถนะของข้อกฎหมายที่ดินทั่วโลกในปัจจุบันยังไม่ได้ครอบคลุมไปถึงการปลดปล่อยที่เกิดจากการใช้ที่ดินในการเปลี่ยนพลังงานชีวภาพในปัจจุบัน หากการเก็บเกี่ยวพลังงานชีวภาพจากหญ้าไม่ได้มีข้อกำหนดที่จำกัดชัดเจนไม่ว่าจะที่ดินที่ใช้ ที่ดินรกร้าง หรือใช้ผลิตอาหาร สิ่งเหล่านี้อาจใช้พื้นที่มากขึ้นและขยายตัวเพื่อเปลี่ยนเอาพื้นที่ธรรมชาติมาเพื่อใช้ดำเนินการก็เป็นแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้ สิ่งนี้ทำให้การปลดปล่อยตาร์บอนไดออกไซเกิดขึ้นได้จากการพยายามถางป่าในพื้นที่ซึ่งมีข้อกฎหมายอ่อนหรือไม่มีกฎหมายคอยดูแล

ผลกระทบทางอ้อมจากพลังงานชีวภาพนี้กลายเป็นความท้าทายของผู้กำหนดนโยบาย ในขณะที่ตลาดอาหารและพลังงานชีวภาพทั่วโลกนั้นเชื่อมถึงกัน แต่กลับอยู่ไกลเกินกว่าการควบคุมในนโยบายแต่ละประเทศ น่าเสียดายที่ช่องวางในการใช้ที่ดินเหล่านี้ทำให้ราคาพลังงานชีวภาพนั้่นมีราคาต่ำ ในขณะที่การผลักดันให้ภาคพลังงานเลอกใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลด้วยความเร็วที่ไม่อาจชดเชยได้ทันสำหรับการปลดปล่อยที่เกิดขึ้นจากการใช้ที่ดินจำนวนมาก

นักวิจัยได้จับคู่พลังงานและระบบที่ดินเพื่อสำรวจลงไปในประเด็นที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดสากลในการลดอุณหภูมิลง 2 องศาเซลเซียส พบว่าในการจัดการถางที่ดินต่างๆ เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในปัจจุบัน และผลกระทบที่เกิดขึ้น คือ CO2 ซึ่งมีปริมาณมากกว่าการเผาเชื้อเพลิงดีเซลจากฟอสซิลเสียอีก ทั้งยังแสดงให้เห็็นอีกว่านโยบายปกป้องที่เดินหรือการกำหนดราคาคาร์บอนจะช่วยหลีกเลี่ยงการปลดปล่อย CO2 จากการใช้ที่ดินเพื่อเปลี่ยนเป็นพลังงานชีวมวลยุคใหม่

ภาคการเกษตรจะพยายามใช้จุดแข็งดังกล่าวที่เกิดขึ้น และมีแนวโน้มที่จะขยายพื้นที่เพื่อเพิ่มผลผลิตซึ่งจะทำให้ต้องเผชิญหน้ากับการปลดปล่อย CO2 จากการเปลี่ยนแปลงที่ดิน การลดความต้องการพลังงานชีวภาพจะไม่ช่วยแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น นอกจากนี้ยังพบอีกว่าการปกป้อง 90% ของพื้นที่ป่าทั่วโลกนั้นไม่เพียงพอเพราะ 10% ที่เหลือยังสามารถสร้างช่องว่างที่ใหญ่เกินตัวได้อยู่ดี

ความโหดร้ายที่แท้จริงนั้นกลับไม่ได้อยู่ที่ระดับราคาเอง แต่เป็นการทำต้องควบคุมเกือบ 100% ของป่าและที่ตามธรรมชาติ การคิดราคาคาร์บอนจากการใช้งานที่ดินเพื่อแลกเปลี่ยนพลังงานนั้นเพียง 20% ของราคา CO2 ในระบบพลังงานจะให้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าการปกป้องป่าทั่วโลก 90% อีกด้วย การมีนโยบายปกป้องป่าอย่างจริงจังในระดับสากลยังถือเป็นเรื่องจำเป็นไม่ต่างกับการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานฟอสซิลโดยต้องไม่ทิ้งเรื่องการปลดปล่อยคาร์บอนจากที่ดินที่ใช้ในการเปลีย่นแปลงเหล่านี้ด้วย

ที่มา:
pik-postdam.de

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924