Saturday, January 18Modern Manufacturing
×

‘Automation Expo 2019’ ร่วมกับสถาบันไทย-เยอรมันและ Mitsubishi Electric Factory Automation (Thailand) แถลงพันธกิจสู่ไทยแลนด์ 4.0

การแถลงข่าวการจัดงาน AUTOMATION EXPO 2019 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เมื่อวันที่ 8 มกราคม ..2561 โดยบริษัทกรีนเวิร์ล พับลิเคชั่น จำกัด ผู้จัดงานได้มีการพูดคุยกันในหัวข้อต่าง ๆ กับผู้สนับสนุนและร่วมจัดงานดังกล่าวซึ่งจะมีขึ้นที่ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาตินงนุช พัทยา .ชลบุรีระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2562 โดยพันธมิตรสำคัญอย่าง TGI และ Mitsubishi Electric Factory Automation ได้ให้เกียรติขึ้นมากล่าวถึงความสำคัญของงานในครั้งนี้

คุณเพิ่มศักดิ์ สุขศิริ ผู้จัดการแผนกเทคโนโลยีอัตโนมัติสถาบันไทยเยอรมันได้กล่าวถึงความสำคัญของระบบอัตโนมัติในประเด็น “ภาพรวมการพัฒนาด้านระบบอัตโนมัติของอุตสาหกรรมไทย” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปี 2562 ของสถาบันไทย-เยอรมันซึ่งได้รับมอบหมายจากกระทรวงอุตสาหกรรมและพันธกิจที่เข้าร่วมงาน Automation Expo 2019 โดยเปรียบเทียบการพัฒนาของระบบอุตสาหกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบันที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติ การแบ่งขนาดของกิจการกำหนดตามสัดส่วนขนาดของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและขนาดธุรกิจ ซึ่งหากพิจารณาเรื่องระบบอัตโนมัติเปรียบเทียบกับเมื่อ 20 ปีก่อน ดังเช่นอุตสาหกรรมยานยนต์ในภาคการประกอบที่เป็นบริษัทข้ามชาติ อาทิ เจนเนอรัลมอเตอร์ ฟอร์ด มาสด้า ฯลฯ มาลงทุนในประเทศไทย นับเป็นตัวขับเคลื่อนของระบบอุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เมื่อ 20 ปีที่แล้ว ทำให้เห็นว่าประเทศไทยนั้นไม่ได้เพิ่งเริ่มทำความรู้จักกับระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ หากแต่การถ่ายทอดทักษะและเทคโนโลยีจากภาคส่วนดังกล่าวนั้นเกิดขึ้นมานานแล้ว

การแบ่งกลุ่มบริษัทที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติ เบื้องต้นสามารถแบ่งตามขนาดธุรกิจเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยกลุ่มกลุ่มที่หนึ่ง คือ กลุ่มบริษัทรายใหญ่หรือบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่รู้จักโดยมาก ธุรกิจขนาดใหญ่นี้มักมีการลงทุนจำนวนมากในการผลักดันธุรกิจให้ก้าวหน้าซึ่งต้องการทรัพยากรและปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ในการเดินไปข้างหน้า ความต้องการเหล่านี้ส่วนหนึ่งถือเป็นต้นกำเนิดและนำมาซึ่งกลุ่มที่มีความสำคัญกับการเติบโตของประเทศไทยและต้องการความช่วยเหลือในการผลักดัน คือ กลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลาง เป็นกลุ่ม Supply Chain ที่ติดตามมากับการลงทุนบริษัทแม่ ซึ่งในช่วงแรกอาจจะเป็นบริษัทของต่างชาติเกือบทั้งหมด เช่น ญี่ปุ่น และ ยุโรป เป็นการผลิต OEM ทำให้อุตสาหกรรมไทยสามารถเรียนรู้และผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์เพื่อป้อนให้กับการผลิต ระบบยานยนต์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าสูง ตัวอย่างของกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดกลาง ได้แก่ ปิโตรเคมี หรือ โรงกลั่นน้ำมัน บริษัทเหล่านี้มีการดำเนินการด้านวิจัยและพัฒนาตามแผนนโยบายบริษัทแม่ แม้จะเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางทว่าบุคคลากรในการดำเนินงานนั้นประกอบด้วยแรงงานต่างชาติและแรงงานชาวไทยที่ร่วมกันทำงานทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทั้งวัฒนธรรมและทักษะ โดยช่วงแรกแรงงานมีสถานะเป็นลูกจ้าง อาจเป็นได้ทั้งช่างเทคนิคหรือวิศวกรในโรงงาน และเมื่อบุคคลากรเหล่านี้มีความพร้อมจะสามารถก้าวออกมาเป็น System Integrator ซึ่งเป็นกลุ่มอาชีพใหม่ กลุ่มบริษัทใหม่ เป็นกลุ่มบริษัทที่ให้บริการทางเทคนิคที่ผสาน IT และ OT ที่มีความต้องการสูงในอุตสาหกรรมยุคปัจจุบันและถูกขับเคลื่อนจากนโยบายภาครัฐ
  2. กลุ่มอุตสาหกรรมขนาดเล็ก อุตสาหกรรมขนาดเล็กอาจไม่ได้กล่าวถึงในเชิงขนาดของโรงงาน แต่เป็นขนาดของเทคโนโลยีและธุรกิจ เช่น กลุ่มของการทำเกษตรแปรรูป ซึ่งภาครัฐให้ความสำคัญในฐานะกลุ่มรากหญ้าของประเทศไทยที่ต้องขับเคลื่อนในเชิงพันธกิจของกระทรวง เน้นการผลักดันในเรื่องของระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางท่านอาจเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า AR – Automation & Robotics แม้ในกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือกลุ่มการเกษตรอาจไม่ได้ใช้งานหุ่นยนต์ในโรงสีข้าวหรือโรงแปรรูปแป้ง แต่การใช้งานล้วนมีเครื่องจักรเกี่ยวข้องในกระบวนการต่าง ๆ เช่น โรงสีข้าวในปัจจุบันที่มีเครื่องยิงสี ยิงเมล็ดข้าวถือเป็นโรงสีข้าวที่อยากจะอัพเกรดตัวเองให้เป็นสินค้าเกรดพรีเมียม มีการใช้เทคโนโลยีในการยิงเม็ดข้าวที่มีตำหนิออกเพื่อรักษาคุณภาพสินค้าให้อยู่ในระดับสูง

กระทรวงอุตสาหกรรมมีหน้าที่ต้องผลักดันและสนับสนุนด้วยโครงการต่าง ๆ ที่มีงบประมาณรองรับเป็นรูปธรรมจับต้องได้ ซึ่งสถาบันไทย-เยอรมันมีบทบาทองค์กรซึ่งทำหน้าที่เหมือนหน่วยงานเอกชนเพื่อแก้ไขความคล่องตัวจากระบบของภาครัฐ หนึ่งในกิจกรรมเกี่ยวข้องกับนโยบายจากภาครัฐ คือ การเข้าร่วมกับ Automation Expo ภายใต้กิจกรรมการพัฒนาระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เพื่อตอบสนองต่อผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่ม

หนึ่งในกิจกรรมสำคัญ คือ การสร้างเครื่องต้นแบบ ซึ่งเมื่อก่อนอาจเรียกว่า งานด้านวิจัยและพัฒนา ซึ่งทางกระทรวงหรือส่วนราชการต้องปรับตัวตามสถานการณ์ความเป็นจริง หากเป็นการทำงานวิจัยขึ้นหิ้งที่ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงจะกลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่า การปรับตัวสำหรับการทำงานวิจัยซึ่งเป็นกิจกรรมสร้างเครื่องต้นแบบเป็นการได้ประโยชน์อย่างทั่วถึงทุกฝ่าย กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความพร้อมสำหรับปัจจัยดังกล่าวเกิดขึ้นแล้วในปัจจุบัน โรงงานขนาดใหญ่และขนาดกลางพร้อมดำเนินการระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ มีความตั้งใจจะลงทุนและมีความต้องการในการซื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสถาบันไทย-เยอรมันในการร่วมมือกับ Automation Expo เพื่อให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมาย สำหรับการดัดแปลงเครื่องหรือระบบอัตโนมัตินั้น ๆ ในโรงงานก็จะมีการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในด้านต่าง ๆ ทั้งจากสถาบันไทย-เยอรมันและจากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศมาร่วมกัน

โครงการต้นแบบเป็นการร่วมกันกับผู้ประกอบการที่มีความพร้อม มีนโยบายชัดเจนในการลงทุนในการสร้างหรือผลิตระบบอัตโนมัติสำหรับโรงงานของตัวเอง เพราะสำหรับบริษัทรายใหญ่และขนาดกลางได้ตัดสินใจได้ในความคุ้มค่า และเกิดความยั่งยืน แม้จะเป็นบริษัทข้ามชาติแต่ 70-80 % ดำเนินการโดยคนไทย ซึ่งอาจก้าวต่อไปไปสู่กิจกรรมที่สองซึ่งเป็นความคาดหวังของกระทรวง ในการสร้างอาชีพใหม่ที่เป็นกลุ่มอาชีพ System Integrator เป็นธุรกิจขนาดเล็กที่จะทำให้กับบริษัทที่แรงงานเคยอยู่ หรือ ทำให้กับกลุ่มประเทศในอาเซียน ซึ่งอาจเป็นเป้าที่ไกลออกไปอีกระดับ การทำ System Integrator ไม่ใช่แค่การทำระบบที่ดูดีเพียงอย่างเดียว แต่ครอบคลุมเรื่องของการซ่อมบำรุง การบริการผ่าน Remote ทั้งหลาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีในบริบทของ AR ซึ่งกลุ่มที่สองหรืออุตสาหกรรมขนาดกลางสามารถเข้าร่วมในกิจกรรมที่สองของโครงการ คือ กิจกรรม Start Up ที่เป็น Pure Start UP สำหรับการทำ System Integrator Company ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่สาม คือ การสร้างบุคคลากร การได้รับการสนับสนุนในเรื่องของการบ่มเพาะ การเป็นผู้ประกอบการเรื่องของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง หรือข้อมูลแวดล้อมที่ไม่ใช่เรื่องเฉพาะของวิศวกรรม ต้องมีการวางโครงการ หรือตั้งโปรเจ็ค ด้วยการจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการจนกระทั่งเสร็จสิ้นโครงการจึงจะสำเร็จหลักสูตร และสำหรับบางโครงการที่ไม่สามารถดำเนินการได้จริงในกรณีพิเศษสามารถตรวจสอบประเมินความเป็นไปได้แบบ Project on Table อีกทางหนึ่ง 

ด้านคุณปฤณวัชร ปานสิงห์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดบริษัท Mitsubishi Electric Factory Automation (Thailand) Co., Ltd. หนึ่งในผู้สนับสนุนการจัดงาน Automation Expo 2019 กล่าวถึงความสำคัญในประเด็น “Connected Industry แนวทางความร่วมมือของธุรกิจญี่ปุ่นและไทย” ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีที่ไวขึ้นทำให้บริษัทแม่ต้องเข้ามาสนับสนุนด้วยตัวเอง เนื่องจากใช้งบประมาณที่ค่อนข้างสูงในการถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการหรือการพัฒนาบุคคลากร

“ในฐานะผู้ถ่ายทอดเทคโนโลยีแนวคิดของ Automation Expo 2019 สอดคล้องกับเป้าหมายของบริษัท ซึ่งเน้นที่การถ่ายทอดเทคโนโลยีกับผู้ประกอบการจากส่วนกลางลงไปรอบนอกเพื่อการเข้าถึงได้ง่าย”
คุณปฤณวัชร ปานสิงห์

สำหรับ Showcase ภายในงานหุ่นยนต์เป็นเพียงเครื่องมือเฉพาะประเภทหนึ่ง ในงานนี้สิ่งที่ Mitsubishi ต้องการนำเสนอ คือ แก่นหลักของอุตสาหกรรม 4.0 หรือก็คือ Connectivity การเชื่อมที่รวมทุกอย่างเพื่อดึงข้อมูลมาเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริหารจัดการ โดยเทคโนโลยีที่นำเสนอในปีนี้ให้ความสำคัญกับการเป็น Platform ไม่ได้เป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งหุ่นยนต์เป็นเครื่องมือ เป็นส่วนหนึ่งของภาพใหญ่ที่ต้องอยู่ในการเชื่อมต่อเพื่อแสดงการทำงานในสายการผลิตให้เห็น ต้องมีอุปกรณ์หรือเครื่องมืออะไรบ้าง สิ่งที่ Mitsubishi ต้องการแสดงให้เห็นก็คือการทำงานร่วมกันของอุปกรณ์ทุกประเภท ทั้งที่เป็นของ Mitsubishi เองและส่วนที่มาจากผู้ผลิตรายอื่น โดยปีนี้จะมีกิจกรรมต่อเนื่องให้ผู้ประกอบการเห็นว่า ความจริงแล้ว 4.0 มันมีทุกอุปกรณ์หลากหลายชนิดเชื่อมต่อร่วมกันอยู่

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924