Saturday, November 23Modern Manufacturing
×

Automation หนึ่งในสาเหตุของ ‘ความเหลื่อมล้ำ’ ทางรายได้ตั้งแต่ปี 1980

นักเศรษฐศาสตร์จาก MIT ได้ทำการต่อยอดข้อมูลที่เกิดขึ้นจากผลกระทบในการใช้งานหุ่นยนต์ในแวดวงธุรกิจ และพบว่าระบบอัตโนมัตินั้นสร้างความเหลื่อมล้ำทางรายได้ให้กับแรงงานในสหรัฐอเมริกามานานกว่า 4 ทศวรรษแล้ว

ในการใช้งานระบบอัตโนมัตินั้นหากพิจารณาโดยทั่วไปแล้ว คือ การแทนที่แรงงานด้วยเทคโนโลยี ไม่ว่าจะเป็นระบบคิดเงินที่ใช้ในห้างสรรพสินค้า ระบบคอลเซ็นเตอร์ สายการประกอบ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งผลลัพธ์ของการทดแทนดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงช่องว่างระหว่างแรงงานที่มีการศึกษาสูงและมีการศึกษาน้อยที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่ผ่านมา

ตั้งแต่ปี 1980 อัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกานั้นทำให้เกิดการปรับรายได้ของผู้ที่จบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยและระดับสูงขึ้นไปอยู่เสมอ แต่ในกรณีการปรับตัวของแรงงานที่ไม่ได้รับการศึกษาต่อในระดับมัธยมนั้นกลับลดลงไป 15%

ในการศึกษาที่เกิดขึ้นได้ลงลึกลงไปใน 49 อุตสาหกรรมว่ามีกาารใช้แรงงานในส่วนใดบ้างตั้งแต่ปี 1987 จนถึง 2016 ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับที่เครื่องจักรและซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เริ่มถูกปรับใช้ โดยยังมีการใช้ข้อมูลจากการศึกษาการปรับใช้งานหุ่นยนต์ในสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1993 – 2014 ร่วมด้วย ซึ่งในการศึกษาก่อนหน้าระบุว่าบางอุตสาหกรรมที่มีการทดแทนแรงงานด้วยหุ่นยนต์ช่วยให้เอาชนะความท้าทายและตลาดได้อย่างเป็นรูปธรรม และในขณะเดียวกันก็สร้างความเหลื่อมล้ำอีกด้วย

ในช่วงเวลาเดียวกันนักวิชาการจาก U.S. Census Bureau ได้ตรวจสอบข้อมูลจากแบบสอบถามของ American Community Survey Data ติดตามผลลัพ์ของแรงงานจากข้อมูลกลุ่มย่อยกว่า 500 กลุ่ม แบ่งตามเพศ การศึกษา อายุ เชื้อชาติ และชนชาติ ตลอดจนถึงสภาวะผู้อพยพย้ายถิ่น ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อปับตามค่าจ้างรายชั่วโมงและอื่น ๆ ตั้งแต่ปี 1980 – 2016 การตรวจหาความเกี่ยวเนื่องกันในลักษณะพื้นฐานของธุรกิจควบคู่กับการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานที่เกิดขึ้นทำให้เห็นได้ว่าผลกระทบจากระบบอัตโนมัตินั้นเกิดแก่แรงงาน

ข้อมูลชี้ให้เห็นว่าตั้งแต่ปี 1980 ระบบอัตโนมัติลดรายได้ของแรงงานผู้ชายที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับมัธยมประมาณ 8.8% และในกรณีเดียวกันกับแรงงานผู้หญิงที่ไม่ได้จบการศึกษาระดับมัธยมลดลง 2.3%

นักวิจัยได้เรียกเครื่องมือที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ในแนวทางนี้ว่า ‘so so – technology’ หรือ ‘so so automation’ เพราะต้องมีการแลกเปลี่ยนเกิดขึ้ในการใช้งาน เช่น นวัตกรรมที่เหมาะกับระดับล่างในการทำงานขององค์กรแต่แย่สำหรับแรงงานในอุตสาหกรรมบริการ ในขณะที่ผลลัพธ์ที่เกิดข้นนั้นไม่ได้สร้างความแตกต่างอย่างมากในเรื่อง Productivity เช่นเดียวกับเครื่องคิดเงินอัตโนมัติในห้างสรรพสินค้า ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงของนวัตกรรมต้องเป็นการยกระดับภาพรวมของคุณภาพชีวิต

ที่มา:
news.mit.edu

READ MORE

Notice: Undefined index: popup_cookie_abzql in /home/mmthaixaulinbx/webapps/mmthailand/wp-content/plugins/cardoza-facebook-like-box/cardoza_facebook_like_box.php on line 924